โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่และการลงทุนของภาครัฐ

WM

ภาพจาก pixabay

การลงทุนของภาครัฐ Smart EEC  รัฐ-เอกชน กับความสำเร็จ EEC 64

การลงทุนของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคเอกชน และคาดหวังการขับเคลื่อนการลงทุนไทยในช่วงที่ผ่านมา  เชื่อว่า แรงส่งจากภาครัฐและเอกชนจะทำให้เศรษฐกิจเป็นบวกขึ้นในระยะยาวในปี 64 ด้วยโครงการต่าง ๆ อาทิ

โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ 3 เพื่อรองรับการขนส่งแก๊สธรรมชาติ สินค้าเหลวและอุตสาหกรรมต่างๆคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 68 โครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน เชื่อมต่อสุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา   ดอนเมือง – พญาไท   เริ่มส่งมอบต้นปี 64 และ 65 โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก

คาดว่าจะแล้วเสร็จตามเป้าในปี 2567 ซึ่งภาครัฐและเอกชนได้ลงนามแล้ว ในเดือนมิถุนายน 2563   ในส่วนโครงการท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังระยะที่ 3 เป็น ซึ่งเป็นเทียบท่าเรือรองรับเรือขนาดใหญ่และตู้สินค้าจากเดิม11 ล้าน ทีอียู ต่อปีเป็น 18 ล้านทีอียู  ต่อปีซึ่งอยู่ระหว่าง การร่วมลงนามกับเอกชน

WM
ภาพจาก pixabay

นอกจากนี้รวมถึงโครงการในแผนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมนาคมขนส่งพื้นที่ eec ระยะที่ 2 ด้วย วงเงิน 386,565 ล้านบาท  131 โครงการ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินการและขออนุมัติ

โครงการแลนด์บีช เพื่อพัฒนาท่าเรือน้ำลึกจังหวัด ระนอง , ชุมพร โดยการเชื่อมโยง 2 ท่าเรือน้ำลึกนี้ด้วยรถไฟฟ้าทางคู่และทางหลวงพิเศษ  อีกทั้งโครงการสะพานไทยเชื่อมโยง eec สู่ เศรษฐกิจการท่องเที่ยวภาคใต้    ด้วยยุทธศาสตร์ไทย โครงการท่าเรือบก เพื่อเชื่อม จีน ลาว กัมพูชา และเวียดนามอีกด้วย

การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ และเตรียมเข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2-3 ก่อนที่จะมีการประกาศใช้ในวันที่ 1 ต.ค.2563 การจัดทำงบประมาณในส่วนแผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ในปีงบประมาณ 2564 ได้เสนอวงเงิน 22,712 ล้านบาท เงินนอกงบประมาณ 817 ล้านบาท และภารกิจสนับสนุน 775 ล้านบาท

เพื่อพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ทันสมัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพและเข้าถึงได้สะดวก และจะพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ มีความทันสมัยระดับนานาชาติ เสริมสร้างบทบาทของประเทศไทยในฐานะประตูของภูมิภาคเอเชียในบริบทโลก

สำหรับเป้าหมายของงบประมาณรายจ่ายดังกล่าวต้องการให้เกิดการลงทุนจากภาครัฐและภาคเอกชนในอีอีซี (ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง) ไม่น้อยกว่า 300,000 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 6 แนวทาง ประกอบด้วย

  • การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบสาธารณูปโภค รวมงบประมาณรายจ่าย 18,413 ล้านบาท รวมเงินนอกงบประมาณ 740 ล้านบาท โดยจะพัฒนาระบบคมนาคมขนส่ง (ถนน ราง น้ำ อากาศ) มีความพร้อม สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจอย่างไร้รอยต่อ 4 ระบบ คือ โครงสร้างพื้นฐานทางถนนไม่น้อยกว่า 191 กิโลเมตร พัฒนาศักยภาพท่าเรือน้ำลึกเพื่อยกระดับสู่มาตรฐาน 1 แห่ง การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมการขนส่งทางรางไม่น้อยกว่า 220 กิโลเมตร
    การพัฒนาขีดความสามารถท่าอากาศยานสู่มหานครการบิน 1 แห่ง นอกจากนี้ จะเริ่มลลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยจะมีการรื้อย้ายสาธารณูปโภคในพื้นที่ก่อสร้างของหลายหย่วยงาน เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) รวมทั้งผลักดันระบบสาธารณูปโภคได้รับการพัฒนามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น พัฒนาระบบประปาเพิ่มขึ้น 11 แห่ง และผู้ใช้น้ำในพื้นที่ได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 8,760 ครัวเรือน
  1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล รวมงบประมาณรายจ่าย 81.07 ล้านบาท โดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลตั้งสถาบันไอโอที เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลแห่งอนาคต
  2. การพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว รวมงบประมาณรายจ่าย 106 ล้านบาท รวมเงินนอกงบประมาณ 9 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายให้มีผู้มาเยือนอีอีซีชาวไทยและชาวต่างชาติเพิ่มขึ้น 10% และมีแหล่งท่องเที่ยวใหม่เพิ่มขึ้น 1 แห่ง มีหน่วยงานที่รับผิดชอบ คือ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) และเมืองพัทยา
  3. การพัฒนาบุคลากร การศึกษา การวิจัย เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมงบประมาณรายจ่าย 3,043 ล้านบาท โดยจะผลิตและพัฒนาบุคลากรมีคุณภาพ รองรับความต้องการของอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่น้อยกว่า 28,000 คน รวมทั้งผู้ประกอบการและบุคลากรในอาชีพได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่า 17,000 คน บุคลากรและเยาวชนในระบบการศึกษาได้รับการพัฒนาไม่น้อยกว่า 11,000 คน
    รวมทั้ง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จะผลักดันโครงการพัฒนาเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซีไอ) รวมทั้งมีโครงการพัฒนาทักษะด้าน Industrial Internet of Things (IIoT) แบบเข้มข้นสำหรับบุคลากรระดับอาชีวศึกษา
    โครงการพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยีดิจิทัลแก่ครูและเยาวชนในอีอีซี และโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้โรงเรียนในอีอีซี ในขณะที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล จะผลักดันโครงการยกระดับศูนย์การเรียนรู้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล เพื่ออุตสาหกรรมอนาคต (AI อาชีวะ) ในอีอีซี
  4. การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข รวมงบประมาณรายจ่าย 962 ล้านบาท รวมเงินนอกงบประมาณ 68 ล้านบาท โดยจะยกระดับระบบสาธารณสุขในอีอีซีสู่มาตรฐานสากล รองรับความต้องการของประชากรในพื้นที่ 5 แห่ง
    โดยกรมควบคุมโรคจะดำเนินโครงการพัฒนาการเฝ้าระวังโรคและภัยสุขภาพในอีอีซี รวมทั้งยกระดับสภาพแวดล้อมเมืองเดิมให้เป็นเมืองอัจฉริยะอย่างน้อย 1 แห่ง
    โดยกองทัพเรือจะดำเนินโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุข ในขณะที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลจะผลักดันโครงการเมืองน่าอยู่อีอีซี และพัฒนาระบบการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนเมืองที่มีประสิทธิภาพ 1 ระบบ (ขยะ น้ำเสีย อากาศ)
  5. การพัฒนา ประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย รวมงบประมาณรายจ่าย 106 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายสร้างมูลค่าคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท

รวมทั้งสร้างการรับรู้ของประชาชนในพื้นที่ที่มีต่ออีอีซี 70% ซึ่งมีหน่วยงานดำเนินการ คือ กรมวิทยาศาสตร์บริการ กรมการปกครอง และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)
เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ , terrabkk.com