แนะนำ 5 มุมมองไลฟ์สไตล์ที่นำไปสู่การปรับวิถีชีวิตใหม่อย่างมีหวัง

WM

ชีวิตของเราตอนนี้อยู่ในจุดที่เรียกว่า “มีคุณภาพชีวิตที่ดี” พอแล้วหรือยัง

ในปัจจุบันนี้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งปีของคนเกิดปี “เสือ” ที่ช่างดูน่าเกรงขามเลยใช่ไหมค่ะ สำหรับใครต่อใคร วิถีชีวิตของคนทั่วโลกคงต้องถูกปรับเปลี่ยนไปอย่างต่อเนื่อง เพราะโรคระบาดที่ไม่ได้หายไปไหน (แถมยังกลายพันธุ์ได้ไม่มีที่สิ้นสุด) ทั้งการดำเนินชีวิตและการทำงานการใช้ชีวิตประจำวันที่ยังต้องมีมาตรการอันแสนรัดกุม, การท่องเที่ยวที่มุ่งเน้นการเยียวยาตัวเอง, เมืองที่ออกแบบระบบระเบียบต่างๆ ขึ้นใหม่

ทีนี้หลายคนอาจจะเคยถามตัวเองอยู่บ่อยๆ ว่าชีวิตของเราตอนนี้อยู่ในจุดที่เรียกว่า “มีคุณภาพชีวิตที่ดี” พอแล้วหรือยัง ไลฟ์สไตล์เราที่เป็นอยู่ตอนนี้จะช่วยให้ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและแข็งแรงได้เมื่ออายุมากขึ้นหรือเปล่า? หากใครที่คิดดูแล้วยังไม่แน่ใจในคำตอบล่ะก็ ลองมาดูแนวทางง่ายๆ ซึ่งคุณสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อยกระดับคุณภาพไลฟ์สไตล์ได้ ดังนี้เลยค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/pexels-2286921/

ทำงานแบบ บ้านบ้าง-ออฟฟิศบ้างเพื่อตั้งรับกับความไม่แน่นอน

เข้าปีที่สามแล้วที่ทั่วโลกตกอยู่ในการระบาดครั้งใหญ่ของโควิด-19 แม้จะมีช่วงที่สถานการณ์การระบาดดูดีขึ้น จนเริ่มสร้างความหวังให้บริษัทและองค์กรต่างๆ แต่การกลับไปทำงานที่ออฟฟิศอย่างเต็มรูปแบบ ก็ดูเหมือนจะยังไกลห่างจากความเป็นจริง เนื่องด้วยตัวแปรสำคัญอย่างโควิดสายพันธุ์โอมิครอนได้สร้างความไม่แน่นอนให้กับสังคมโลกอีกครั้ง บวกกับการที่วัฒนธรรมการทำงานในปัจจุบันเองก็เปลี่ยนไปเป็นการ Work From Home มากขึ้น ราวกับเป็นของที่ระลึกที่โควิดได้ฝากไว้

ใช้ เมืองให้ยืดหยุ่น และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิถีชีวิตที่ต้องเปลี่ยนไป ยังทำให้หลายคนได้ทบทวนเกี่ยวกับคุณค่าของ ‘เมือง’ เช่น การใช้พื้นที่สาธารณะ หรือความรู้สึกที่เรามีต่อการออกไปทำกิจกรรมข้างนอก ซึ่งแม้จะยังคาดการณ์ไม่ได้ว่า ปี 2022 จะเป็นปีที่ผู้คนได้ออกมาทำกิจกรรมมากขึ้นหรือไม่ แต่ ‘เมือง’ ย่อมมีลมหายใจเดียวกับผู้คนที่อาศัยอยู่ ตั้งแต่การให้ความสำคัญกับสุขภาพกาย-สุขภาพจิตมากขึ้น ไปจนถึงความต้องการพื้นที่แบบเปิดโล่ง ซึ่งให้ความรู้สึกเชื่อมโยงกับธรรมชาติ

การเพิ่ม ‘พื้นที่สีเขียว’ ในเมืองเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงกันมานักต่อนักในอดีต และทวีความสำคัญยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในปัจจุบัน เพราะนอกจากการตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อมที่มากขึ้นแล้ว คนในยุคปัจจุบันยังมีความต้องการที่จะ ‘เป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติ’ เพราะค้นพบแล้วว่าสิ่งแวดล้อมรอบข้างสามารถช่วยเยียวยาสุขภาพจิตให้กับผู้คนได้ โดยเฉพาะในภาวะที่เราพยายามหยุดยั้งการแพร่ขยายของสุขภาพจิตที่เลวร้ายไปพร้อมๆ กับไวรัสเช่นนี้

เมื่อความต้องการพื้นที่สีเขียวมีมากขึ้น ประเด็นที่ถูกพูดถึงตามกันมาติดๆ คือ ‘การออกแบบที่เป็นมิตรกับระบบนิเวศ’ ซึ่งพื้นที่ในเมืองต่างๆ มักถูกออกแบบโดยให้ความสำคัญกับมนุษย์มากกว่าสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ฉะนั้น โจทย์ที่ท้าทายของเมืองในปัจจุบันจึงเป็นความรอบคอบในการออกแบบและการใช้พื้นที่ โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมเป็นหัวใจสำคัญให้มากพอๆ กับประโยชน์การใช้สอยของมนุษย์

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/olichel-529835/

ท่องเที่ยวเพื่อ เยียวยาและเพื่อรู้จักที่จะใช้เวลา ตามลำพัง

เมื่อภาวะโรคระบาดทำให้วิถีชีวิตของคนทั่วโลกต้องเปลี่ยนผันไปอย่าง ‘น่าอึดอัด’ โดยเฉพาะในแง่ของการเดินทางท่องเที่ยว ไม่ว่าจะในหรือนอกประเทศ การปิดเมืองห้ามไปมาหาสู่ระหว่างกัน ไล่มาจนถึงมาตรการต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ขณะที่สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ล้วนส่งผลต่อร่างกายและจิตใจของเราให้รู้สึกเครียดขึงอ่อนล้า

ด้วยเหตุนี้จึงมีการคาดการณ์กันว่า แนวโน้มการเดินทางของพลเมืองโลกภายในปีนี้ (และปีถัดๆ ไป) น่าจะมุ่งเน้นไปที่การ ‘เยียวยา’ ตัวเองเป็นหลัก

แฟชั่นที่ตะโกนว่า ‘ฉันพร้อมจะกลับไปใช้ชีวิตแบบมีพลังบวกแล้ว!’

หนึ่งในสิ่งที่ผู้คนน่าจะคิดถึงมากที่สุดหลังผ่านคืนวันอันยาวนานของการอยู่แต่ในบ้าน คือการแต่งตัวออกไปข้างนอก แม้เราจะอยู่ในสถานการณ์ที่บอกไม่ได้ว่าจะได้หยิบชุดตัวเก่งออกไปเฉิดฉายหรือไม่ แต่ทิศทางของแฟชั่นในปี 2022 นี้ ก็มีเรื่องราวดีๆ และลูกเล่นน่ารักๆ ให้เราเห็นไม่น้อย

สุดท้าย ขณะที่ความก้าวหน้าทางการแพทย์ (เช่น วัคซีน หรือยารักษาโควิด-19) อาจทำให้เรากลับไปสู่ภาวะปกติก่อนเกิดโรคระบาดได้ในไม่ช้า แต่ทุกคนต่างรู้ดีว่า เรากำลังอยู่ใน ‘เส้นทางที่เราไม่รู้’ เพราะการระบาดที่ผ่านมา บอกให้รู้ว่าอนาคตคือสิ่งที่อะไรๆ ก็สามารถเกิดขึ้นได้ ดังนั้น วิถีการทำงานในปี 2022 นี้ ก็เช่นกัน

ทั้งหมดนี้ก็คือแนวทางง่ายๆ ที่ไม่ว่าใครก็สามารถหยิบเอาไปประยุกต์ในชีวิตได้ ซึ่งเรา DooDiDo ก็คาดหวังให้ทุกคนสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ไม่วิตกกังวลใจ รวมถึงเติมเต็มความต้องการของตนเองได้อย่างสมบูรณ์ผู้เชี่ยวชาญหลายคนกล่าวว่า คงเป็นการดีที่สุดที่จะรักษาความคาดหวังให้ต่ำเอาไว้ แม้ว่าเราจะยังต้องเดินหน้าเพื่อก้าวไปสู่ความ ‘ปกติสุข’ อีกครั้ง โดยสิ่งสำคัญก็คือ เราต้องรู้ว่าจะเดินไปข้างหน้าเมื่อไร หยุดตอนไหน และเริ่มต้นใหม่อย่างไรในสถานการณ์ที่เราไม่อาจคาดเดาได้ถัดจากนี้นะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก: https://pixabay.com