แนะนำ 3 เทคนิคในการเลือกนิทานสอนใจ ให้เหมาะกับลูกน้อย!!

WM

การเลือกนิทานสอนใจสำหรับเด็ก ก็เหมือนการเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการให้กับลูก

เด็กๆ กับนิทานมักจะเป็นของคู่กันค่ะ ซึ่งกิจกรรมนี้นับว่าเป็นกิจกรรมที่ดีที่คุณพ่อคุณแม่จะได้ใช้เสลาร่วมกับลูกน้อยได้เป็นอย่างดี แถมยังเป็นการปลูกฝังวินัยและจิตใต้สำนึกที่ดีให้กับลูกน้อยอีกด้วยค่ะ และวันนี้เรามีเทคนิคดีๆ ในการเลือกซื้อหนังสือนิทานมาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ

การเลือกนิทานสอนใจสำหรับเด็กในแต่ละช่วงวัย ก็เหมือนการเลือกของเล่นเสริมพัฒนาการให้กับลูก เพราะเด็กอยู่ในวัยของการเรียนรู้ สิ่งทีได้รับเข้าไปจะเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้เด็กเกิดพัฒนาการอย่างมีประสิทธิภาพ วันนี้เราจะพาพ่อแม่มือใหม่มาทำความรู้จักวิธีเลือกนิทานสอนใจอย่างไรให้เหมาะสมกับวัยของลูกน้อย วันนี้เรามี 3 วิธีเลือกนิทานสอนใจอย่างไร ให้เหมาะกับวัยของลูกน้อย และนิทานน่าอ่านสำหรับเด็ก

หลักการเลือกนิทานสอนใจให้เด็ก

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/2081671-2081671/

1. เลือกนิทานที่ใช่สำหรับเด็ก
พ่อแม่เป็นคนที่จะรู้จักความชอบและตัวตนของเด็กแต่ละคนดีที่สุด หากลูกชอบเรื่องเกี่ยวกับธรรมชาติและสัตว์ ก็เลือกหนังสือนทานที่มีตัวละครเป็นสัตว์

2. เลือกนิทานที่ภาพสวย เหมาะสม
อย่างเด็ก ๆ ในวัย 4-8 ขวบ เป็นวัยที่เด็ก ๆ มักจะสนใจกับภาพสีสันสดใส เข้าใจง่าย ซึ่งรูปภาพในเล่มนิทานมีผลต่อการทำความเข้าใจเรื่องราวของเด็ก และการจดจำ และหนังสือที่มีภาพเยอะ ตัวอักษรน้อยก็สามารถช่วยให้เด็กพัฒนาเรื่องของการสื่อสารได้ เนื่องจากเด็กจะจำภาพในเรื่องเป็นลำดับขั้นตอน

3. เลือกนิทานที่เนื้อหาเขียนดี
แน่นอนว่าพ่อแม่ควรอ่านนิทานเรื่องนั้น ๆ ก่อน ว่าเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร เหมาะสมกับช่วงวัยของลูกหรือไม่ ในขณะเดียวการภาษาในการเขียนก็ควรมีความสนุก เข้าใจง่าย ชวนให้คิด จินตนาการ และสามารถทำให้เด็กได้เรียนรู้ศัพท์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/2081671-2081671/

เลือกนิทานสอนใจตามช่วงวัยของเด็ก
– เด็กเล็กจนถึงวัยหัดเดิน สำหรับเด็กเล็ก สิ่งที่สามารถดึงดูดความสนใจได้คือ สีสันของสิ่งต่าง ๆ รอบตัว รวมถึงสอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน ดังนั้นหนังสือเด็กวัยนี้ควรเลือกเป็นหนังสือที่มีตัวอักษรน้อย เน้นที่การมองเห็นสีสันสดใส เพื่อกระตุ้นให้เด็กในวัยนี้เกิดจินตนาการและสร้างเรื่องราวของตัวเอง ควรเลือกเป็นนิทานสอนใจทำจากผ้า หนังสือผ้า หรือเป็นหนังสือนิทานสำหรับเด็กแบบภาพ
เด็กวัยก่อนเข้าเรียนถึงวัยอนุบาล

– เด็กวัยก่อนเข้าเรียนจนถึงระดับอนุบาล จะมีความสนใจฟังคำหรือประโยคสั้น ๆ ที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น หรือจะเป็นเสียงดนตรีสนุก ๆ นอกจากนี้เด็ก ๆ ในวัยนี้ยังมีความชื่นชอบในการเรียนรู้สิ่งของและสถานการณ์ต่าง ๆ รอบตัว ดังนั้นนิทานสอนใจอย่างเรื่องเกี่ยวกับครอบครัว ลูกหมี และครอบครัว หรือเรื่องเกี่ยวกับการเลี้ยงเด็ก จึงทำให้เด็กเข้าใจและสนใจได้มากกว่า ดังนั้นหนังสือนิทานเด็กที่เหมาะกับวัยนี้อย่างเช่น หนังสือป๊อบอัพ หรือหนังสือที่สามารถขยับส่วนต่างๆ ได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/victoria_borodinova-6314823/

– เด็กวัย 5-8 ขวบ เด็กในช่วงวัยนี้มักจะเริ่มอ่านหนังสือเองได้ ดังนั้นพ่อแม่อาจจะอยู่อ่านด้วย หรือเลือกหนังสือนิทานสอนใจดี ๆ สักเล่มให้เด็ก ๆ ได้เริ่มอ่านเอง การเลือกหนังสือนิทานให้เด็ก ๆ วันนี้ สามารถเลือกทั้งที่เป็นหนังสือนิทานภาษาไทยหรือหนังสือนิทานภาษาอังกฤษก็ได้เช่นกัน โดยเนื้อหาของนิทานมีตัวละครและเนื้อเรื่องที่ซับซ้อนมากขึ้น แต่ยังคงตัวอักษรและคำต่าง ๆ ที่คุ้นหูและได้ยินบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน เพื่อไม่ให้เด็กรู้สึกยากเกินไปจนอาจล้มเลิกความตั้งใจในการอ่าน หนังสือนิทานสอนใจที่เหมาะสำหรับเด็กวัยนี้คือ หนังสือนิทานภาพสวยที่มีชื่อเรื่องซับซ้อนเล็กน้อยให้น่าดึงดูด เช่น นิทานเรื่องดาวดวงนั้นของฉันคนเดียว นิทานเรื่องลูกฉันหายไป ฯลฯ

– เด็กวัย 9 ขวบขึ้นไป เด็ก ๆ ในวัยนี้จะเริ่มโตมากขึ้น มีบุคลิกภาพและความชื่นชอบเป็นของตัวเอง ดังนั้นก่อนการเลือกซื้อหนังสือนิทานสอนใจให้เด็กวัยนี้ ควรดูที่ความสนใจของเด็ก หนังสือที่เหมาะสมอย่างเช่น หนังสือนิยาย หรือหนังสือให้ความรู้ที่ดูโต และเนื้อหาเข้มข้นมากขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/finelightarts-890049/

เทคนิคเล่านิทานให้ลูกฟังอย่างไม่น่าเบื่อ
1.สำหรับการเล่านิทานให้เด็กเล็ก ควรเลือกนิทานที่มีเนื้อหาสั้นกระชับ เวลาเล่าไม่เกิน 3-5 นาที เนื่องจากความสนใจและสมาธิของลูกวัยอนุบาลยังอยู่ในช่วงเวลาสั้นๆ ถ้าเนื้อนิทานยาวเกินไปก็จะทำให้เด็กหันไปสนใจอย่างอื่นได้ง่ายกว่า
2.ใช้น้ำเสียงในการอ่านอย่างสนุกสนาน ออกอรรถรส น่าตื่นเต้น เร้าใจ ตามเนื้อเรื่อง มีเสียงที่ดังและชัดเจน
3.มีลีลาการเล่าเป็นจังหวะ ใส่ท่าทางแสดงออกทางสีหน้าที่สอดคล้องกับเนื้อหาในนิทาน เพื่อดึงดูดความสนใจ กระตุ้นให้ลูกตื่นเต้นและอยากฟังนิทานจนจบ
4.ควรเล่านิทานให้จบเรื่อง อย่าหยุดระหว่างกลางเรื่อง เพราะจะทำให้ลูกหมดความสนใจ
5.เมื่อเล่าจบ คุณพ่อคุณแม่ควรเปิดโอกาสให้ลูกได้ถามในสิ่งที่สงสัย หรือตั้งคำถามในเนื้อเรื่องเพื่อสำรวจความสนใจของลูกว่ามีสมาธิในการตั้งใจฟังมากน้อย ตลอดจนวิธีคิดหาคำตอบ และสอดแทรกคำสอนจากนิทานเพื่อปลูกฝังให้ลูกได้

เป็นอย่างไรกันบ้างคุณพ่อคุณแม่กับเทคนิคในการเลือกซื้อหนังสือนิทานให้เหมาะกับลูกน้อยที่ DooDiDo นำมาฝาก เมื่อรู้แบบนี้แล้วคุณพ่อคุณแม่อย่ามัวรอช้า รับไปเลือกซื้อนิทานเพื่อมาอ่านให้ลูกฟัง เป็นการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัวอย่างดีเลยล่ะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.amarinbabyandkids.com, https://shopee.co.th