แนะนำวิธีรับมือหากคนรอบตัวคุณป่วยเป็นโรคซึมเศร้า!!

WM

โรคซึมเศร้าคือโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ที่ผู้ป่วยมีอาการป่วยทั้งร่างกาย จิตใจ และความคิด

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ แล้วด้วยสถานการณ์อะไรหลายๆอย่างนั้นต่างก็ส่งผลให้เราเครียดกันอยู่แล้วใช่มั้ยล่ะคะ โรคติดต่อร้ายแรงจนถึงขั้นไม่สามารถออกไปเจอ พบปะกับผู้คนได้ ทุกคนจึงได้แต่อยู่บ้านกัน แต่ถึงแม้ว่าจะอยู่บ้านกลับไม่ได้รู้สึกดีเลย ไหนจะสภาพแวดล้อมที่กดดันให้เราต้องทำอะไรซักอย่างแล้ว ทำให้อัตราการเป็นโรคซึมเศร้าเนี่ยเพิ่มสูงปี๊ดเลยล่ะค่ะ

ถ้าหากคุณไม่ได้เป็นโรคซึมเศร้าแล้วล่ะก็ อาจจะสงสัยกันใช่มั้ยล่ะคะว่า แล้วถ้าหากว่าเรามีคนสนิท คนใกล้ตัวที่สุ่มเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้าอยู่แล้วล่ะก็ เราควรจะปฏิบัติตัวต่อเค้าอย่างไรให้ไม่มีผลกระทบต่อโรคร้ายของเค้าใช่มั้ยคะ วันนี้เราจึงจะมาอธิบายเกี่ยวกับ “วิธีการรับมือหากคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า” ค่ะ ให้ทุกคนได้รับมือกับผู้ป่วยที่รักของตัวเองกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@yrss

หากคนรอบตัวเป็นโรคซึมเศร้า เราจะรับมืออย่างไร?

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าโรคซึมเศร้าเป็น “ความเจ็บป่วย” เช่นเดียวกับโรคทางกายอื่นๆ และต้องการการรักษา บางครั้งผู้ป่วยอาจรู้สึกเศร้าอย่างรุนแรงกับเหตุการณ์เล็กๆ น้อยๆ เราต้องไม่ไปตัดสินว่าเขาอ่อนแอ หรือใจไม่สู้ แต่ให้มองอย่างเข้าใจว่าเป็นอาการทั่วไปของโรคนี้

  • งดเว้นคำพูดที่รุนแรงและกระทบกระเทือนจิตใจ เช่น เจ้านายควรหลีกเลี่ยงการต่อว่าผู้ป่วยด้วยถ้อยคำรุนแรง เพื่อนร่วมงานควรเลี่ยงการพูดที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สบายใจ ผู้ป่วยซึมเศร้าอาจมีประสิทธิภาพการทำงานที่แย่ลง เราควรพูดคุยถึงสาเหตุอย่างใจเย็นและเข้าใจ
  • ไม่ตั้งความคาดหวังหรือกดดันผู้ป่วย โดยเฉพาะในเรื่องหน้าที่การงาน เพราะจะทำให้เขารู้สึกกดดันและอาการจะยิ่งแย่ลง ควรผ่อนปรนบ้างเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายขึ้น
  • เป็นผู้ฟังและผู้ให้คำปรึกษาที่ดี คอยรับฟังและให้กำลังใจเมื่อเขามีเรื่องไม่สบายใจ และให้คำปรึกษาในเรื่องที่สำคัญด้วย เช่น หากผู้ป่วยบ่นว่าท้อแท้ อยากออกจากงาน เพราะผู้ป่วยซึมเศร้าอาจมีอารมณ์ ความคิด ที่เปลี่ยนแปลงไป ทำให้การตัดสินใจแย่ลงด้วย เพื่อนร่วมงานจึงควรชี้ให้เห็นข้อดีข้อเสีย และช่วยโน้มน้าวผู้ป่วย
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/anemone123-2637160/
  • หากผู้ป่วยมาปรึกษาหรือเกริ่นว่าไม่อยากมีชีวิตอยู่แล้ว หรือเขามีแนวโน้มจะทำร้ายตัวเอง เราควรพูดให้กำลังใจ และชี้ให้เขาเห็นความหมายของการมีชีวิตอยู่ เช่น พูดถึงสถานที่ที่เขาอยากไป สิ่งที่เขาอยากทำ ศิลปินดาราหรือคนที่เขาชื่นชอบ เพื่อให้เขาตระหนักถึงเหตุผลที่จะมีชีวิตอยู่ หากตายไปตอนนี้อาจไม่มีโอกาสได้ทำ หรือได้ติดตามสิ่งเหล่านี้อีกแล้ว และทางที่ดีที่สุดคือแนะนำให้ผู้ป่วยปรึกษากับจิตแพทย์
  • ชวนทำกิจกรรมที่ผ่อนคลาย เช่น ออกกำลัง เพื่อฟื้นฟูทั้งจิตใจและร่างกายไปพร้อมกัน
  • อดทน เพราะผู้ป่วยซึมเศร้าอาจมีอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิดง่าย ควรพยายามทำความเข้าใจและให้อภัยเท่าที่ทำได้
  • คำที่ไม่ควรพูด กับผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เช่น “คิดไปเอง” หรือ “ใครๆ ก็เคยผ่านเรื่องแบบนี้มาทั้งนั้น” หรือ “ลองมองในแง่ดีดูสิ” หรือ “มีคนที่แย่กว่าเราอีกตั้งเยอะ” หรือ “เธอทำให้ฉันเครียดไปด้วย” หรือ “หยุดคิดเรื่องที่ทำให้เครียดสิ” หรือคำพูดอื่นๆ ที่บั่นทอนกำลังใจ และเบลมผู้ป่วยซึมเศร้า
  • อย่านำตัวเข้าไปเกี่ยวข้องกับสถานการณ์ที่ซับซ้อน
  • อย่าตั้งเป้าหมายที่บรรลุได้ยาก หรือเข้าไปแบกความรับผิดชอบมากๆ
  • พยายามย่อยงานใหญ่ให้เป็นงานเล็ก เลือกทำที่สำคัญกว่าก่อน แล้วทำให้เต็มที่เท่าที่จะเป็นไปได้
  • อย่าคาดหวังกับตนเองมากเกินไป เพราะนั่นคือ คุณกำลังสร้างความล้มเหลว
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/andrzejrembowski-2775184/
  • ร่วมกิจกรรมที่คุณอาจเพลินใจ เช่น การออกกำลังกาย ดูหนัง ดูกีฬา เข้ากิจกรรมทางศาสนาหรือสังคม แต่อย่าหักโหมหรือหงุดหงิด ถ้ามันไม่ช่วยให้คุณรู้สึกสบายใจขึ้นอย่างทันใจ เพราะอาจใช้เวลาบ้าง
  • อย่าด่วนตัดสินใจกับเรื่องใหญ่ๆ ในชีวิต เช่น ลาออก เปลี่ยนงาน แต่งงาน หรือหย่า โดยไม่ปรึกษาคนอื่นที่รู้จักคุณดีและ มีมุมมองที่เป็นกลางต่อปัญหาพอ ไม่ว่าด้วยเหตุใด พยายามเลื่อนการตัดสินใจออกไปก่อนจนกว่าอาการป่วยของคุณจะดีขึ้น
  • อย่าหวังว่าจะหายจากอาการซึมเศร้าแบบ “ลัดนิ้วมือเดียว” เพราะเป็นไปได้ยาก จงพยายามช่วยตนเองให้มากที่สุด โดยไม่โทษตนเองว่าที่ไม่หายเพราะตนเองไม่พยายามหรือไม่ดีพอ
  • พึงระลึกว่า จะไม่ยอมรับความคิดในแง่ร้าย บอกตนเองว่ามันเป็นสวนหนึ่งของอาการของโรค และจะหายไปเมื่ออาการของโรคดีขึ้น

เป็นอย่างไรบ้างคะ กับ “วิธีรับมือหากคนรอบตัวเป็นซึมเศร้า” มองดูเผินๆ แล้วเหมือนจะเป็นสิ่งที่ยาก และจุกจิกพอสมควรเลยแต่ถ้าหากเราเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้อย่างถ่องแท้แล้วล่ะก็ DooDiDo คิดว่าเราก็จะสามารถเข้าใจถึงผู้ป่วยและอยู่ร่วมกับพวกเค้าได้โดยไร้กังวลเลยล่ะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : https://new.camri.go.th, www.officemate.co.th