เลี้ยงสุกร ทำพันธุ์ สร้างรายได้ให้เกษตกรได้งาม

SA Game

ภาพจาก pixabay

วิเชียร นุชสวาท สาวสุพรรณ เลี้ยงสุกร ทำพันธุ์สร้างรายได้ ให้อย่างงาม

เลี้ยงสุกร สร้างรายได้ วิเชียร นุชสวาท สาวสุพรรณ  ทำปศุสัตว์อย่างที่หลายๆ คนเข้าใจ อาจมองว่าจะต้องทำเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ มีการจัดการที่เป็นระบบและมีระบบฟาร์มที่มีมาตรฐานนั้น

ในยุคสมัยนี้อาจไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะการทำปศุสัตว์สามารถนำมาประยุกต์ให้เข้ากับพื้นที่ของตนเองได้ และที่สำคัญมีการเลี้ยงแบบประณีตมากขึ้น ส่งผลให้สัตว์ที่ทำการเลี้ยงได้คุณภาพและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรรายนั้นเป็นอย่างดี เพราะทำด้วยใจรักและพัฒนาการเลี้ยงอยู่เสมอ

เกษตรกรหญิงวัยเกษียณที่ชื่นชอบการเลี้ยงสุกร ได้ทำการพัฒนาการเลี้ยงสุกรให้มีทั้งขุนและเพาะพันธุ์ลูกสุกรจำหน่าย โดยใช้พื้นที่บริเวณบ้านของเธอเองให้เกิดประโยชน์ สร้างเป็นคอกสำหรับเลี้ยงแม่พันธุ์สุกร สามารถจำหน่ายเป็นอาชีพให้กับเธอมามากกว่า 10 ปี เกิดรายได้อยู่กับบ้านพร้อมความสุขของสาววัยเกษียณท่านนี้

SA Game
ภาพจาก pixabay

อาชีพของครอบครัวทำการเกษตรอยู่แล้ว คือทำนา แต่ด้วยการทำนาในพื้นที่นี้ไม่สามารถทำได้ตลอดทั้งปี จึงได้มีโอกาสไปรับจ้างเลี้ยงสุกรในฟาร์มที่อยู่ในละแวกนั้น ต่อมาฟาร์มมีโครงการว่าจะเลิกกิจการ ด้วยความที่เธอได้คลุกคลีอยู่กับสุกรและมีความชอบ จึงได้มีความคิดที่อยากจะนำความรู้ที่ได้จากการไปเป็นลูกจ้างในครั้งนั้น มาเลี้ยงสุกรเองในบริเวณบ้านของเธอเอง

“ช่วงที่มาเริ่มเพาะพันธุ์ลูกสุกรขายเอง เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2547 โดยช่วงนั้นพอรู้ว่าฟาร์มที่เราไปรับจ้างเขาจะหยุดทำ เราก็ได้ติดต่อขอซื้อพ่อแม่พันธุ์บางส่วนมาไว้เองบ้าง เพื่อนำมาเลี้ยงที่บ้านของเราเอง ช่วงแรกเลี้ยงอยู่ประมาณ 2 ตัว เมื่อขยายพันธุ์มากขึ้น ลูกสุกรก็มีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้น

เราก็เก็บตัวเมียไว้ จากนั้นก็นำมาผสมพันธุ์ด้วยการผสมเทียมเป็นหลัก ปัจจุบันตอนนี้มีแม่พันธุ์สุกรอยู่ที่ 6-10 ตัว มีปลดระวางและใช้ลูกตัวเมียที่สวยๆ ขึ้นมาทดแทนอยู่เสมอๆ” คุณวิเชียร เล่าถึงความเป็นมาของการได้เลี้ยงสุกรเป็นอาชีพ

อายุสุกรที่เหมาะสมจะนำมาทำเป็นแม่พันธุ์นั้น คุณวิเชียร บอกว่า จะเลือกสุกรตัวเมียที่มีอายุมากกว่า 8 เดือน เมื่อเห็นว่าแม่สุกรเริ่มติดสัดจะติดต่อให้เจ้าหน้าที่มาทำการผสมเทียมให้ทันที เมื่อผสมเทียมติดดีแล้วแม่สุกรใช้เวลาตั้งท้องอยู่ที่ 114 วัน เมื่อครบกำหนดคลอดแม่สุกรเฉลี่ยแล้วให้ลูกสุกรมากกว่า 10 ตัว

ในช่วงแรกจะปล่อยให้ลูกสุกรอยู่กับแม่สุกรด้วยการกินนมเป็นหลัก เลี้ยงอยู่ประมาณ 1 เดือน ลูกสุกรก็จะหย่านม หากต้องการจำหน่ายในช่วงอายุนี้ก็สามารถจำหน่ายได้ทันที แต่ถ้าต้องการเลี้ยงต่อไปเป็นสุกรขุน จะเลี้ยงต่อไปอีก 4-5 เดือน ให้มีน้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม สุกรจะมีขนาดที่ใหญ่ขึ้น สามารถส่งจำหน่ายโรงเชือดที่ได้น้ำหนักและราคาที่สูงขึ้นตามไปด้วย

“อาหารที่ใช้เลี้ยงสุกรจะเป็นอาหารสำเร็จรูป มีตั้งแต่อาหารสุกรเล็ก ไปจนถึงอาหารสุกรโต ในช่วงแรกที่เล็ก ๆ จะให้อาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนสูงถึง 20 เปอร์เซ็นต์ พอสุกรเริ่มโตก็จะให้อาหารที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีนต่ำ ลง เลี้ยงแบบนี้อยู่เสมอ

ส่วนการป้องกันโรคให้กับสุกรภายในฟาร์ม อย่างลูกสุกรคลอดออกมาใหม่ๆ ก็จะมีการฉีดธาตุเหล็กเข้าไปเสริม ตัวผู้เมื่อหลังคลอดได้ 2 อาทิตย์ ก็จะทำการตอนให้ทันที ส่วนตัวเมียไม่ต้องตอน วัคซีนที่ทำให้สุกรก็จะเป็นวัคซีนต่าง ๆ ตามแผนที่สุกรต้องทำก็จะช่วยให้สุกรในคอกปลอดโรค พร้อมทั้งหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ ก็จะยิ่งช่วยให้สุกรมีสุขลักษณะที่ดี” คุณวิเชียร บอก

ในเรื่องของการทำตลาดนั้น คุณวิเชียร บอกว่า เป็นความโชคดีของเธอที่ก่อนหน้านั้นได้เข้าไปเป็นลูกจ้างในฟาร์มใหญ่มาก่อน จึงทำให้การทำตลาดจึงไม่ได้เป็นเรื่องกังวลมากนัก เพราะพอมีแหล่งที่ส่งจำหน่ายและมีพ่อค้าเข้ามาติดต่อขอซื้ออยู่เสมอ จึงช่วยให้สุกรที่เลี้ยงทั้งหมดสามารถจำหน่ายได้ตลอดทั้งปี ซึ่งส่วนใหญ่แล้วสุกรที่ผลิตมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าเสียด้วยซ้ำ

โดยลูกสุกรหลังหย่าน้ำแม่ได้ 1 เดือน น้ำหนักอยู่ที่ 8-9 กิโลกรัม ต่อตัว ราคาจำหน่ายต่อตัวมากกว่า 1,000 บาท ส่วนสุกรขุนที่เลี้ยงจนมีอายุ 4-5 เดือน น้ำหนักมากกว่า 100 กิโลกรัม จำหน่ายอยู่ที่กิโลกรัมละ 60-70 บาท ซึ่งราคาจำหน่ายแต่ละช่วงสามารถขึ้นลงได้ตามกลไกของตลาด

“เราก็ผลิตสุกรทำตลาด 2 ทาง ถ้าต้องการได้เงินไวก็จะจับอายุ 1 เดือนหลังหย่านมแม่ส่งขายได้ทันที ข้อดีคือไม่ต้องเลี้ยงนาน แต่ถ้าต้องการให้ได้ราคาที่สูงขึ้นก็จะต้องเสียเวลาเลี้ยงนานหน่อย เพราะเราต้องมีในเรื่องของต้นทุนอาหาร แต่ถ้าจำหน่ายได้ในช่วงที่ราคาสุกรสูง ก็จะค่อนข้างในผลกำไรมาก ซึ่งการขาย 2 แบบนี้ ถือว่าตอบโจทย์เรา อย่างน้อยก็เน้นสร้างรายได้หลากหลายช่องทางไว้ก่อน” คุณวิเชียร กล่าว

สำหรับผู้ที่สนใจอยากจะเลี้ยงสุกรเพื่อเป็นอาชีพสร้างรายได้นั้น คุณวิเชียร แนะว่า การทำปศุสัตว์อย่างที่เธอทำไม่จำเป็นต้องทำเป็นแบบอุตสาหกรรมใหญ่เหมือนที่หลายๆ คนเข้าใจ มีพื้นที่จำกัดอยู่เท่าไหนก็สามารถทำได้ โดยแบ่งสัดส่วนให้ลงตัว

พร้อมทั้งมีการทำความสะอาดอยู่เสมอ เหมือนอย่างเช่นเธอมีใจรักที่อยากจะเลี้ยงสุกร ก็ลงมือทำและหมั่นหาความรู้อยู่เสมอ จึงทำให้การเลี้ยงสุกรในเวลานี้จะพูดว่าเป็นอาชีพหลักทำเงินให้กับเธอก็ว่าได้ ถึงแม้จะทำในจำนวนที่น้อยแต่มากด้วยคุณภาพ

“ที่ยังยึดและทำการเลี้ยงสุกรมาจนถึงทุกวันนี้ ต้องบอกว่าเป็นสิ่งที่เรารัก เพราะยิ่งเราอยู่กับสิ่งที่ชอบทำให้เราสามารถเลี้ยงและทำออกมาได้ดี ไม่จำเป็นต้องเลี้ยงให้เยอะแบบที่หลายคนเข้าใจ การเลี้ยงสุกรก็เหมือนการเลี้ยงสัตว์อื่น ๆ ทั่วไป เพียงจัดการและทำงานอย่างมีระบบ ก็ทำให้สุกรมีสุขภาพที่ดี คอกเลี้ยงก็จะถูกสุขลักษณะไม่เป็นที่รบกวนของเพื่อนบ้าน เกิดเป็นรายได้ที่ทำอยู่กับบ้านได้อย่างสบาย” คุณวิเชียร แนะ

สำหรับท่านใดที่สนใจอยากเลี้ยงสุกร สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณวิเชียร นุชสวาท บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 4 ตำบลบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี โทรศัพท์ (081) 191-3514

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา เทคโนโลยีชาวบ้าน