เคล็ดลับ!! การเก็บรักษาน้ำนมแม่ในช่องแช่แข็งยังไงให้ยังคงคุณภาพ

WM

วิธีการการเก็บรักษาน้ำนมแม่ เก็บได้นานแค่ไหน เก็บอย่างไร??

เพื่อให้ลูกรักกินนมแม่ได้นานที่สุด นอกจากวิธีการปั๊มนมที่คุณแม่มือใหม่หลายท่านทราบแล้ว ขั้นตอนหลังจากปั๊มนมมาได้แล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างก็คือ คุณแม่ควรเก็บน้ำนมอย่างไร เพื่อคงคุณค่าของน้ำนมไว้ได้อย่างดีที่สุด และนอกจากนั้นคุณแม่จะทำการละลายน้ำนมที่เก็บไว้มาใช้อย่างถูกต้องได้อย่างไร

เก็บนมแม่ได้นานแค่ไหน วิธีการเก็บรักษาน้ำนมในช่องแช่แข็งของคุณแม่ ในระดับอุณหภูมิที่แตกต่างกัน ก็มีระยะเวลาการเก็บที่ต่างกันไป ที่จริงแล้วการแช่แข็งไว้นานๆ อาจจะมีการสูญเสียสารอาหารหรือสารเสริมภูมิต้านทานบางส่วนในน้ำนมแม่ ถ้าเป็นไปได้ น้ำนมที่สดใหม่จะดีที่สุด ในกรณีที่คุณแม่จำเป็นต้องเก็บน้ำนมแช่แข็งไว้ เราขอแนะนำวิธีละลายน้ำนมซึ่งมีหลากหลายวิธี

WM
ขอบคุณภาพจาก:www.bloggang.com

การเก็บรักษาน้ำนมแม่ในตู้เย็นหรือตู้แช่แข็งควรทำดังนี้
ใช้ภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว แนะนำให้ใช้เป็นขวดพลาสติกหรือถุงเก็บน้ำนมโดยเฉพาะ สำหรับภาชนะที่เป็นแก้วนั้นไม่แนะนำ เพราะเซลล์เม็ดเลือดขาวในน้ำนมแม่ที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันการติดเชื้อ

อาจติดอยู่กับแก้วที่ใช้เป็นภาชนะได้
ติดฉลากที่ขวดหรือที่ถุงเก็บน้ำนมทุกชิ้น บนฉลากควรบันทึกวันที่ที่บรรจุ และควรเริ่มใช้ตามลำดับโดยดูจากวันที่ที่อยู่บนฉลาก หรือเรียกง่าย ๆ ว่าการใช้แบบ “เข้าก่อนออกก่อน” (First in, First out)
หลังจากปั๊มน้ำนมเสร็จแล้ว ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ปั๊มน้ำนมด้วยน้ำร้อนผสมน้ำสบู่และล้างให้สะอาด ก่อนนำไปผ่านการฆ่าเชื้อทุกครั้ง
ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนการปั๊มน้ำนม และพยายามให้อุปกรณ์ทุกอย่างสะอาดอยู่เสมอ เพื่อป้องกันไม่ให้มีแบคทีเรียต่าง ๆ ที่อาจปนเปื้อนเข้าไปเจริญเติบโตในน้ำนมได้

WM
ขอบคุณภาพจาก:www.motherandcare.com

การอุ่นนมแม่จากช่องแช่แข็ง

  • เมื่อต้องการนำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้ ให้ละลาย นมแม่ ที่แช่แข็งด้วยการนำมาแช่ในตู้เย็นปกติก่อนล่วงหน้า 1 คืน (12 ช.ม.) ถ้าลูกชอบแบบเย็นๆ ก็แกว่งเป็นวงกลมเบาๆ ให้ไขมันที่แยกชั้นละลายเข้ากัน แล้วป้อนได้เลย แต่ถ้าลูกไม่ชอบก็นำมาแช่ในน้ำอุ่นก่อนป้อน ห้ามใช้น้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ เพราะจะทำลายเซลล์มีชีวิตที่อยู่ในนมแม่
  • ไม่ควรปล่อยให้นมแช่แข็งละลายเองที่อุณหภูมิห้อง ถ้าลืมและต้องการให้ละลายเร็ว ให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติ แล้วเปลี่ยนเป็นแช่น้ำอุ่น นมที่เก็บในถุงเก็บนมแม่จะละลายเร็วกว่าเก็บในขวดหรือภาชนะอื่นๆ น้ำนมที่ละลายแล้ว สามารถเก็บในตู้เย็นได้ 24 ช.ม. น้ำนมที่เหลือจากการป้อนนมในขวดหรือถ้วย สามารถเก็บได้ถึงมื้อต่อไปเท่านั้น
WM
ขอบคุณภาพจาก:www.bloggang.com
  • ไม่ควรนำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่ สามารถผสมน้ำนมแม่ที่บีบหรือปั๊มออกมาใหม่ใส่รวมกับน้ำนมแม่ที่แช่เย็นไว้ก่อนแล้วได้ภายใน 24 ช.ม.หลังจากการเก็บครั้งแรก
  • ถ้าต้องการใช้นมภายใน 8 วันหลังจากปั๊ม ไม่ต้องแช่แข็ง ให้แช่ตู้เย็นช่องปกติ ถ้าต้องการแช่แข็ง ให้แช่แข็งภายใน 24-48 ช.ม. หลังจากปั๊มออกมา (ยิ่งแช่แข็งเร็วเท่าไหร่ยิ่งดีเท่านั้น) น้ำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว อาจมีกลิ่นหืน แต่ไม่เสีย (นอกจากมีกลิ่นรุนแรงมากและมีรสเปรี้ยว จึงจะเสีย)
WM
ขอบคุณภาพจาก:www.beabathailand.com

การละลายนมที่แช่ไว้ในช่องแช่แข็ง
นมที่ถูกแช่แข็งควรนำมาละลายโดยการใส่ไว้ในช่องแช่เย็น โดยจะสามารถเก็บได้ไม่เกิน 24 ชั่วโมง และห้ามนำกลับไปแช่แข็งอีก ทั้งนี้คุณแม่ไม่ควรละลายน้ำนมในไมโครเวฟ ถ้าต้องการให้น้ำนมละลายเร็วๆ ให้ใช้การแช่ภาชนะที่บรรจุน้ำนมในน้ำเย็น จากนั้นนำไปแช่ในน้ำอุ่น และสุดท้ายปล่อยให้น้ำก๊อกไหลผ่าน และอย่าลืมเช็ดรอบภาชนะที่ใส่ให้แห้งก่อนจะเปิดใช้ด้วย

กรณีที่คุณแม่วางแผนไว้ว่าจะใช้น้ำนมภายใน 2-3 วัน การแช่เย็นนั้นเหมาะกว่าการแช่แข็ง เพราะการแช่แข็งนั้นจะทำลายสารที่ช่วยป้องกันการติดเชื้อที่มีอยู่ในน้ำนมได้ อย่างไรก็ตาม DooDiDo คิดว่าถึงแม้ว่าสารบางอย่างในน้ำนมอาจถูกทำลายจากการแช่แข็ง แต่การให้ลูกน้อยกินน้ำนมแม่ที่ผ่านการแช่แข็งแล้วก็ยังมีประโยชน์และมีสารอาหารที่จำเป็นมากกว่านมผสม

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.rakluke.com/pregnancy-all/breastfeeding/item/2020-03-21-13-50-39.html