เคล็ดลับแค่ปรับพฤติกรรมก็สามารถเลี่ยง “โรคเบาหวาน”ได้

WM

สุขภาพดีด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การทานอาหารที่เสี่ยงต่อ “โรคเบาหวาน”

สำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานนั้น คุณจำเป็นต้องเรียนรู้ถึงปริมาณการกินอาหารและผลไม้ รวมถึงหมั่นตรวจเช็คสุขภาพร่างกาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างสม่ำเสมอ เมื่อฝึกไปเรื่อยๆ จนคุ้นชินก็กลายเป็นนิสัยในการเลือกทานอาหารที่น้ำตาลไม่สูง ก็จะทำให้รู้สึกว่าการควบคุมอาหารไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ในแต่ละปี ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านคน และอีกกว่า 415 ล้านคนต้องเผชิญกับโรคเบาหวานและเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนในขณะที่ไทยมีผู้ป่วยเบาหวานเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 2 แสนคน เสียชีวิตปีละ 8,000 คน ซึ่งปัจจัยหลักเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการออกกำลังกาย โดยหญิงไทยเป็นเบาหวานมากขึ้น ขณะที่ผลสำรวจทั่วโลกพบว่า ผู้หญิงมากกว่า 199 ล้านคนทั่วโลกป่วยเป็นโรคเบาหวาน และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 313 ล้านคนในปี 2583 อีกทั้งยังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 9 ของผู้หญิงทั่วโลก คิดเป็น 2.1 ล้านคนต่อปี โดยหญิงไทยมีภาวะอ้วนมากเป็นอันดับ 2 ในเอเชียรองจากมาเลเซีย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/tesaphotography-947707/

องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าในปี 2583 ยอดผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเพิ่มขึ้นเป็น 642 ล้านคน ขณะที่ผลสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งล่าสุดเมื่อปี 2557 พบว่า มีผู้ป่วยเบาหวาน 4.8 ล้านคน เมื่อเทียบกับปี 2552 ที่ 3.3 ล้านคน เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 2 แสนคน โดยมียอดผู้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวานเฉลี่ยปีละกว่า 8,000 คน และพบว่าคนรุ่นใหม่มีโอกาสเป็นเบาหวานสูงขึ้นจากพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป ที่น่าเป็นห่วงคือมีคนไทยมากถึง 2 ล้านคนที่เป็นเบาหวานแต่ไม่ทราบและยังไม่เข้าถึงการรักษา และยังมีอีก 7.7 ล้านคนที่อยู่ในภาวะกลุ่มเสี่ยงของโรคเบาหวาน โดยปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิด คือ ความอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน ที่คนไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด‼

สมาพันธ์เบาหวานนานาชาติได้เปิดเผยสถิติผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า

▪ ปี 2558 ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน 415 ล้านคน
▪ ทุกๆ 6 วินาที มีผู้เสียชีวิตจากโรคเบาหวาน 1 ราย
▪ คาดการณ์ว่าในปี 2588 จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานจะเพิ่มสูงขึ้นถึง 642 ล้านคน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/superformosa-19114761/

▪โรคแทรกซ้อนจากเบาหวานที่น่ากังวล

สิ่งที่น่าวิตกและเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของผู้ป่วยเบาหวานคือ โรคแทรกซ้อนเรื้อรัง ที่พบได้บ่อยคือ

▪ โรคแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวานในจอประสาทตา
ทำให้จอประสาทตาเสื่อม มีเลือดออกในดวงตา ส่งผลให้ตาบอด ซึ่งหากมีการตรวจคัดกรองพบภาวะเบาหวาน จะช่วยป้องกันภาวะตาบอดได้

▪โรคแทรกซ้อนเรื้อรังของเบาหวานที่ไต
พบโปรตีนปะปนออกมากับปัสสาวะ หากปล่อยไว้ไม่รักษา ไตจะทำงานได้น้อยลงและเกิดภาวะไตวายในที่สุด ซึ่งสามารถตรวจคัดกรองได้จากการตรวจปัสสาวะ

▪โรคเส้นประสาทชา
คนไข้จะไม่มีความรู้สึก เมื่อเกิดการกระทบกระแทกทางร่างกายจึงไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้เกิดบาดแผลได้ง่าย และบาดแผลรักษาได้ยาก เนื่องจากการหมุนเวียนของโลหิตไม่ดี ในบางรายแม้ไม่มีบาดแผลก็พบอาการเลือดไม่ไหลเวียน จึงมีคนไข้ที่ต้องสูญเสียอวัยวะไปจำนวนมาก

นอกจากนี้ยังพบอาการอัมพาตและโรคหัวใจได้บ่อยในคนไข้เบาหวาน ซึ่งคนไข้เบาหวานที่เป็นโรคหัวใจจะไม่มีอาการเจ็บเตือน ทำให้เกิดอาการหัวใจวายฉับพลัน รวมถึงมีความเสี่ยงจะเกิดโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/jarmoluk-143740/

ส่วนผู้ที่ถือว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงที่เป็นโรคเบาหวานคือ

  • ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
  • มีภาวะอ้วนลงพุง (ผู้ชายรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร และผู้หญิงเกิน 80 เซนติเมตร)
  • ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมเคลื่อนไหวน้อย ซึ่งพนักงานออฟฟิศก็ถือว่ามีภาวะเสี่ยงเช่นกัน
  • รวมถึงผู้ป่วยที่ใช้ยาเสตียรอยด์ และผู้ที่เคยมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน หรือคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวาน
    **เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงหลักของเบาหวานคือพันธุกรรม**
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/fotoshoptofs-2171839/

หากไม่อยากเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ทุกคนสามารถปรับพฤติกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะเบาหวานได้โดย

1. ออกกำลังกายแบบแอโรบิก 
ให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวต่อเนื่องจนมีเหงื่อซึม หัวใจเต้นแรง อย่างน้อย 30 นาทีขึ้นไป สัปดาห์ละ 5 วัน ซึ่งการออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงการเป็นเบาหวาน หรือชะลอการเป็นเบาหวานออกไปได้

2. ระมัดระวังการบริโภคอาหาร 
โดยเฉพาะประเภทแป้งและน้ำตาลเพื่อไม่ให้เกิดภาวะอ้วนลงพุง และสำหรับผู้ป่วยจำเป็นต้องอยู่ในการดูแลของโภชนากรเพื่อการรักษาที่ได้ผล

สำหรับการป้องกันตนเองไม่ให้เป็นโรคเบาหวานนั้นไม่ใช่เรื่องยาก DooDiDo คิดว่าแค่เริ่มจากการป้องกันที่ต้นเหตุก็สามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานได้มากขึ้นแล้ว หากไม่อยากให้โรคเบาหวานถามหาก็ควรหมั่นออกกำลังกายประจำ และควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องให้ได้อย่างน้อยครั้งละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อให้แป้งและน้ำตาลที่สะสมอยู่ในกล้ามเนื้อ ถูกดึงออกไปใช้เป็นพลังงานซึ่งก็จะทำให้ระดับแป้งและน้ำตาลลดลงตามความเหมาะสมไปด้วย

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.facebook.com/NarahSho