เคล็ดลับการสอนให้ลูกช่วงเด็กปฐมวัยให้ยอมกินข้าวได้ง่ายๆ

WM

หากลูกทานข้าวยาก ผู้ปกครองจึงต้องหาวิธีโน้มน้าวใจเด็กปฐมวัยให้ยอมกินข้าว

หลายๆ ครอบครัวต้องพบเจอกับปัญหาที่ลูกไม่ยอมทาทนข้าวอย่างแน่นอน คุณพ่อคุณแม่อาจจะเหนื่อยนึดนึงในการสอนลูกและดูแลเขาในเรื่องนี้ เพราะการที่เด็กๆ ได้กินของโปรดรสชาติอร่อยช่วยให้เขามีความสุขกับมื้ออาหาร พร้อมกับความสบายใจของคุณพ่อคุณแม่ที่จะมั่นใจว่าร่างกายของเขาจะได้รับคุณค่าโภชนาการที่เหมาะสม ช่วยเสริมสร้างสุขภาพดีให้เติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงได้ สำหรับเด็กปฐมวัยยังคงอยู่ในวัยแห่งการเล่นและเรียนรู้เป็นหลัก การไม่หยุดนิ่ง พร้อมจะเดินหน้าเห็นโลกกว้างและสนุกสนานไปกับสิ่งรอบตัวจึงเป็นเรื่องปกติที่ทำให้เด็กไม่ค่อยจะสนใจในเรื่องเล็กน้อยที่เป็นกิจของตัวเองซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรอย่างการกินข้าว

เพราะชีวิตของเด็กปฐมวัยมีแต่ความเพลิดเพลินและการเล่นในหัวตลอดเวลา ทำให้ไม่รู้สึกหิว การที่เขาจะยอมกินข้าวให้หมดตามปริมาณที่คุณพ่อคุณแม่ตักมาให้จึงเป็นเรื่องยาก บางคนกินข้าวเพียงแค่ 2 – 3 คำก็จะไปเล่นแล้ว ซึ่งหากปล่อยไว้เด็กก็อาจไม่ได้รับพลังงานจากอาหารในปริมาณที่เหมาะสมตามวัยอย่างที่ควรจะเป็นผู้ปกครองอย่างคุณจึงต้องหาวิธีโน้มน้าวใจเด็กปฐมวัยให้ยอมกินข้าว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@minigirl

พูดถึงการทำอาชีพในฝันซึ่งจะเป็นได้หากเด็กปฐมวัยยอมกินข้าว

เมื่อเด็กปฐมวัยไม่ยอมกินข้าว ผู้ปกครองก็อาจใช้วิธีการโน้มน้าวใจเด็กในสิ่งที่เขาชอบ นั่นก็คือ “อาชีพในอนาคต” เพราะเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ย่อมต้องมีความใฝ่ฝันในอนาคตอยู่แล้วว่าตัวเองอยากเป็นครู หมอ พยาบาล ทหาร ตำรวจ หรืออาชีพอื่น ๆ การยกอาชีพในฝันของเด็กมาเป็นตัวโน้มน้าวให้เด็กกินข้าวให้เขาเกิดแรงผลักดันจะมุ่งตามจุดหมายจึงต้องมี โดยในระหว่างการกินข้าวคุณควรบอกเด็กด้วยน้ำเสียงกระตือรือร้นว่า “หากหนูยอมกินข้าวเยอะ ๆ ก็จะเติบโตแข็งแรงสามารถทำอาชีพ…(อาชีพที่เด็กใฝ่ฝัน)…ได้เลย” ซึ่งพอเด็กรู้ก็จะตั้งใจกินข้าวมากขึ้นเพราะเขารู้ว่าหากรับประทานแล้ว โอกาสที่ตัวเองจะได้ทำอาชีพที่ฝันก็จะมากขึ้น

บอกที่มาของอาหารซึ่งทำให้เด็กปฐมวัยเกิดความสนใจแปลกใหม่

ด้วยความที่เด็กปฐมวัยชอบที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ทั้งสิ่งรอบตัวที่ใกล้และไกลตัวออกไป ยิ่งไกลตัวไม่เคยเห็นก็ยิ่งอยากรู้จักและเห็นภาพเห็นเรื่องราวของสิ่งนั้น ๆ มากยิ่งขึ้นจนเกิดเป็นความสนใจในที่สุด การกินข้าวนั้นคุณก็อาจ้หลักการนี้มาบอกที่มาของอาหารต่าง ๆ ว่าตัวเองไปซื้อมาจากไหน ข้าวมาจากไหน ผักนี้ส่งมาจากจังหวัดหรือประเทศอะไร และตบท้ายด้วยว่า “ซื้อของเขามาไกลนะลูก ต้องพยายามกินข้าวให้เยอะ ๆ นะ เขาทำงานน่าสงสาร” ซึ่งเด็กปฐมวัยก็จะอยากรู้ว่าจุดหมายที่มาของอาหารหรือวัตถุดิบนั้น ๆ เป็นอย่างไร เช่น ผักบล็อกโคลี่มาจากประเทศออสเตรเลีย เด็กก็จะต้องถามผู้ปกครองว่าประเทศออสเตรเลียเป็นอย่างไร เป็นต้น ถือโอกาสเปิดโลกเด็กไปด้วย และยังทำให้เขารู้สึกตื่นเต้นที่จะได้กินอาหารที่ใช้วัตถุดิบจากที่มาแปลกใหม่นั้น ๆ ซึ่งเขามองว่าหายาก ต้องกินให้เยอะ ๆ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/go_see-3136735/

ให้รางวัลเด็กปฐมวัยเป็นครั้งคราวเมื่อยอมกินข้าว

เมื่อเด็กปฐมวัยไม่ยอมกินข้าว การโน้มน้าวใจด้วยแรงเสริมโดยการพูดให้รางวัลอย่างการให้สิ่งของเล็กน้อยสลับกับการชื่นชมก็เป็นสิ่งที่เหมาะสมซึ่งจะทำให้เด็กปฐมวัยมีแรงผลักดันและจุดหมายในการรับประทานอาหาร ก่อนที่พอนานไปจะเริ่มให้รางวัลแบบนาน ๆ ที และเปลี่ยนมาเป็นการบอกถึงคุณประโยชน์ในอาหารแก่เด็กปฐมวัยแทน เพื่อให้เขาเห็นถึงความสำคัญต่อสุขภาพร่างกาย พอเขาเริ่มโตก็จะเห็นถึงความสำคัญของการกินข้าวมากขึ้นจากการปลูกฝังของผู้ปกครองจนยอมกินข้าวได้เองและเลือกกินแต่อาหารที่มีประโยชน์ อย่างผักผลไม้เป็นหลัก

สุดท้ายนี้ DooDiDo ก็ขอให้คุณพ่อคุณแม่และผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยทุกคนลองนำวิธีโน้มน้าวใจของเราไปใช้ดู ให้ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปอย่าเร่งร้อน เพราะการปลูกฝังเด็กปฐมวัยให้รักการกินข้าวไม่ใช่เรื่องง่าย สิ่งสำคัญคือรอยยิ้มที่คุณต้องมีตลอดเวลา ไม่อารมณ์เสียหากเด็กแสดงพฤติกรรมขัดแย้ง ขอให้ท่องจำขึ้นใจไว้และโชคดีกันทุกคน

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://theinspiredhousewife.com