เคล็ดลับการนอนหลับที่ดี ตื่นมาร่างกายไม่อ่อนเพลียควรทำอย่างไร?

WM

“นอน” อย่างไรตื่นมาให้สดชื่นตลอดทั้งวัน

เชื่อได้เลยว่าในปัจจุบันนี้ผู้คนนั้นล้วนต่างก็มีคนที่กำลังประสบปัญหาเกี่ยวกับการนอนใช่มั้ยล่ะคะ นอนไม่หลับบ้างล่ะ นอนหลับๆ ตื่นๆ บ้างล่ะ แล้วมันก็ส่งผลร่างกายเราอ่อนเพลีย อ่อนล้าในแต่ละวันและถ้าหากไม่รีบแก้ไขโดยด่วนแล้วล่ะก็สามารถส่งผลต่อสุขภาพของเราได้ในอนาคตอย่างแน่นอนเลยค่ะ  สำหรับวันนี้เราก็นำเรื่องน่ารู้ที่จะทำให้คุณเข้าใจการนอนมากยิ่งขึ้นและเคล็ดลับการนอนหลับที่ดีด้วยค่ะ จะมีอะไรบ้างไปดูกันเลย

โดยสถิติในประเทศไทย พบว่า คนไทยส่วนใหญ่นอนเฉลี่ยต่อวันเพียง 6.3 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าไม่เพียงพอ เพราะค่ามาตรฐานที่ควรจะนอน คือ 7.7ชั่วโมง ดังนั้นจึงถือว่า คนไทยเราเฉลี่ยแล้วนอนน้อยกว่ามาตรฐานอยู่ 1.4 ชั่วโมง และเมื่อเราตื่นนอนแล้วลุกขึ้นมาทำกิจกรรมต่างๆ โดยการขยับร่างกายหรือจะเล่นโยคะและออกกำลังกายเบาๆ ไปพร้อมกับเปิดเพลงคลอตามไปด้วย ก็เป็นเหมือนการกระตุ้นร่างกายและส่งสัญญาณไปยังสมองว่าถึงเวลาเช้าของวันใหม่ที่ดีของคุณแล้ว เพรงเท่านี้คุณก็จะสามารถพบความสดชื่นแจ่มใสในยามเช้ายาวตลอดไปทั้งวันเลย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@wevibe

การนอนที่ดีคืออะไร ??

ปกติแล้วการนอนหลับของคนเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ช่วง คือ

ช่วง 1 ช่วงตื่นคืนช่วงที่ร่างกายเริ่มต้นนอนหลับ

ปกติแล้วช่วงตื่นนี้จะเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ประมาณ 5 – 10 นาที สมองจะเริ่มทำงานช้าลง ถ้าเราถูกปลุกให้ตื่นตอนนี้ เราจะไม่ค่อยงัวเงียหรือบางทีก็จะรู้สึกว่าเรายังไม่ได้นอน การเต้นของหัวใจยังสูงอยู่ บางคนอาจจะเคยเจอปรากฎการณ์ ตกใจตื่น (Hypnic Jerk) หรือการรู้สึกเหมือนกำลังจะตกจากที่สูง แล้วก็สะดุ้งตัวตื่นขึ้นมา

ช่วงที่ 2 หลับฝัน

เป็นช่วงที่ตายังขยับ หรือกระตุกในบางครั้ง หัวใจจะเริ่มเต้นช้าลง อุณหภูมิในร่างกายจะเริ่มลดลงเล็กน้อย โดยช่วงนี้จะใช้เวลาประมาณ 20 นาที ระยะนี้เป็นระยะที่คนเราเริ่มฝัน และยังพอที่จะจำความฝันได้หลังจากตื่นมา ช่วงหลับฝันนี้จะกินเวลา 1 ใน 4 ของการนอนทั้งหมด

ช่วงที่ 3 เริ่มต้นการนอนหลับ

ช่วงนี้ร่างกายจะตอบสนองกับสิ่งรบกวนภายนอกน้อยลง และเป็นช่วงที่ร่างกายใช้ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย ซึ่งใช้เวลาครึ่งนึงของการนอนหลับ

ช่วงที่ 4 หลับลึก

หลับลึกถือเป็นเป็นช่วงการนอนที่สำคัญที่สุด และร่างกายจะอยู่ในสภาวะพักผ่อนมากที่สุดในช่วงนี้เอง การหลั่ง Growth Hormone เพื่อซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย จะเกิดขึ้นมากที่สุดในช่วงนี้ เช่น กล้ามเนื้อ และระบบประสาท และถ้าเราถูกปลุกช่วงนี้เราจะรู้สึกงัวเงียมากที่สุด

ดังนั้น เวลาที่เราหลับ ร่างกายของคนเราจะสลับการนอนไปมาจาก 4 ช่วง ดังนั้นบางคนที่สลับมาเป็นช่วงตื่น หรือหลับฝันมากกว่าหลับลึกก็จะรู้สึกไม่สดชื่นเท่าไหร่ แม้ว่าจะนอนได้นานก็ตาม

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@wevibe

เคล็ดลับการนอนหลับที่ดี

การนอนที่จะต้องเป็นไปตามเวลาของธรรมชาติคือต้องนอนเวลากลางคืน เพราะก้านสมองจะมีจุดที่รับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาจากแสงจากธรรมชาติ มนุษย์เป็นสัตว์กลางวัน พอแสงธรรมชาติเริ่มหรี่ลง สมองเราจะปรับอารมณ์ให้ช้าลง เพื่อเตรียมพักผ่อน ดังนั้น การนอนครบ 7.7 ชั่วโมง แต่นอนตี 4 ตื่นเที่ยงก็ไม่ดีสำหรับร่างกายนะคะ

ปิดสวิชท์

งดเล่นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด อาทิ สมาร์ทโฟน, แท็บเลต, โน้ตบุ๊ค ที่มักจะเล่นก่อนนอนอย่างน้อย 30 นาที สภาพแวดล้อมที่สว่างหรือแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ จะลดระดับเมลาโทนิน ทำให้ยากที่จะข่มตาหลับได้โดยง่าย

ไม่กินอิ่มก่อนนอน

ช่วงเวลาการนอนคือ ตอนที่ร่างกายได้พักผ่อน ดังนั้นการเตรียมตัวก่อนเข้านอน หมายถึงการทำให้ทุกอย่างผ่อนคลายที่สมอง แต่วิถีชีวิตในปัจจุบันทำให้คนเราชอบกินอะไรหนักๆ กินรสจัดๆ ก่อนนอน จึงกลายเป็นว่าร่างกายต้องเอาพลังงานไปใช้ย่อยอาหาร และในกระเพาะก็จะมีแต่แก๊ส ทำให้ร่างกายไม่สงบในการนอน

อย่าใช้แอลกอฮอล์เป็นตัวช่วยให้หลับ

แม้ตอนแรกอาจทำให้หลับได้ แต่จะรบกวนรูปแบบการนอนและลดคุณภาพการนอน เลี่ยงอาหารมื้อใหญ่ก่อนนอน และถ้ากินดินเนอร์ต้องให้เสร็จหลายชั่วโมงก่อนเข้านอน แต่เข้านอนทั้งที่ท้องร้องหิว นมอุ่นๆ สักแก้วหรือของว่างเบาๆ อาจช่วยให้หลับได้สบายขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@brucemars

นอนดึกตื่นสายใช่ว่าจะดี

การนอนดึกตื่นสายอย่างน้อยก็ดีกว่าไม่นอน แต่ถ้าเรามีโอกาสได้นอนในเวลาปกติจะเป็นการดีที่สุด เพราะช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับหลับลึก คือ ช่วงเที่ยงคืนถึงตี 3 ดังนั้นตามปกติ คนควรนอนก่อน 4 ทุ่มครึ่ง หรือ 4 ทุ่มยิ่งดี ถ้านอนเที่ยงคืน จะเลย Golden Period ไป การนอนหลังเที่ยงคืนกว่าที่ร่างกายจะหลับลึกได้ก็คือตี 4 แต่เราต้องตื่น 6 โมง ก็จะทำให้หลับลึกไม่พอ

การใช้ยานอนหลับไม่ใช่ทางออกที่ดี

การใช้ยานอนหลับสำหรับผู้ที่นอนไม่หลับนั้น เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ เพราะเป็นการทำให้ร่างกายหลับโดยการไปกดสมอง ร่างกายจะไม่เข้าสู่โหมดหลับลึก เพราะว่าเครียด สมองตื่นตัวตลอดเวลา แต่ว่ายาไปกดสมองให้หลับ แต่ไม่ได้จัดการความเครียด คนที่หลับด้วยยาจะรู้สึกหลับๆ ตื่นๆ ร่างกายไม่ได้ซ่อมแซ่มตนเองเต็มที่

สำหรับใครที่กำลังเข้าใจผิด และมีพฤติกรรมผิดๆ เกี่ยวกับการนอนอยู่แล้วล่ะก็ DooDiDo หวังว่าทุกคนคงจะเข้าใจกันมากขึ้นแล้วใช่มั้ยล่ะคะกับบทความ “นอนอย่างไรให้สดชื่น” หากบทความนี้มีประโยชน์กับคุณแล้วล่ะก็อย่าลืมแบ่งปันให้คนที่คุณรักด้วยนะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.health-society.com