เครดิตบูโรเผยหนี้ครัวเรือนพุ่ง 90 % เกษียณแล้วหนี้ยังติดตัว

WM

ภาพโดย Steve Buissinne จาก Pixabay

สถานการณ์โควิด-19 เครดิตบูโรเผยหนี้ครัวเรือนพุ่ง 90 % นักท่องเที่ยวหดหาย

เครดิตบูโรเผยหนี้ครัวเรือนพุ่ง 90 % นายเผด็จ เจริญศิวกรณ์ รองผู้จัดการใหญ่ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด กล่าวในงานเสวนากรุงเทพจตุรทิศประจำปี 2563 ภายใต้หัวข้อ “อสังหาฯฝ่าคลื่นเศรษฐกิจ วิกฤตินี้ยาวแค่ไหน…?” ซึ่งจัดโดยบริษัท พร็อพทูมอร์โรว์ จำกัด

แนวโน้มหนี้ครัวเรือนไทยต่อจีดีพี ในปี 2563 เชื่อว่าใกล้จะแตะ 90% เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1 ปี 2563 ที่หนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 80.1% ซึ่งเป็นผลจากภาพรวมเศรษฐกิจไทยหรือจีดีพีที่หดตัวรุนแรง จากผลกระทบของรายได้จากภาคธุรกิจส่งออกที่ลดลง และโควิด-19 ที่ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนเลย ทำให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเดินทางมาไทยไม่ได้ ส่งผลให้ธุรกิจท่องเที่ยวซึ่งเป็นหนึ่งในรายได้หลักของไทยหายไป

ซึ่งแม้ว่าแนวโน้มการก่อหนี้ของคนไทยเพิ่มขึ้นไม่มาก แต่ในขณะเดียวกันรายได้ของภาคครัวเรือนไม่เพิ่มขึ้น และหากธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะเป็นกำกับดูแลสถาบันการเงิน ไม่มีการออกมาตรการเพื่อป้องกันการปล่อยสินเชื่อที่เข้มข้นขึ้น ก็จะเป็นการทำให้คนเป็นหนี้อยู่แล้วยิ่งมีภาระหนี้ที่เพิ่มขึ้นและในที่สุดก็จะกลายเป็นหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลในอนคตได้

จากสถิติพบว่าหนี้ครัวเรือนไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาปรับขึ้นกว่า 25% จาก 53.5% เป็น 78.6% โดยสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย และ 50% ของคนไทยอายุ 30 ปี เป็นหนี้ตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่ง 1 ใน 5 ของกลุ่มอายุ 29 ปี เป็นหนี้เสีย หรือเอ็นพีแอล

WM
ภาพโดย Nattanan Kanchanaprat จาก Pixabay

ขณะที่คนไทยในขณะนี้มีหนี้มากขึ้น และจาก 21 ล้านคนที่มีหนี้ พบว่ากว่า 3 ล้านคน หรือ 15.9% เป็นหนี้เสีย ยิ่งไปกว่านั้นคนไทยเป็นหนี้นานขึ้นด้วย โดยเกษียณแล้วหนี้ยังไม่หมด ซึ่งอายุ 60-69 ปี เหลือหนี้เฉลี่ย 4.5 แสนบาท ส่วนคนอายุ 70-79 ปี เหลือหนี้เฉลี่ย 2.87 แสนบาท

“จากข้อมูลที่กล่าวข้างต้น สะท้อนให้เห็นว่าถ้าบุคคลเหล่านั้นไปขอกู้ และหากธนาคารยังปล่อยหลับหูหลับตาปล่อยกู้ ภาพที่จะเกิดขึ้นคือ เราจะกลับไปเผชิญภาวะทางการเงินเหมือนปี 2540 อีกครั้ง ฉะนั้นจึงเป็นที่มาของการที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยังคงความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ โดยใช้เกณฑ์แอลทีวี มาบังคับใช้”

ขณะที่ปัจจุบันหนี้ครัวเรือนไทยอยู่ที่ระดีบ 13 ล้านล้านบาท ซึ่ง 34% เป็นหนี้จากการกู้ซื้อบ้าน เฉลี่ยที่ 5.08 ล้านบาท รองลงมาเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล เฉลี่ย 3.3 ล้านบาท และ 18% เป็นสินเชื่อธุรกิจ ซึ่งเฉลี่ยที่ 2.47 ล้านบาท

นายเผด็จ ยังประเมินด้วยว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทย รอบนี้คาดว่าจะถดถอยยาวนาน และจะค่อยๆ ฟื้นตัวรูปแบบตัว “แอล” (L) คือใช้เวลายาวนาน จากความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้น โดยในส่วนของภาพรวมธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ จะใช้เวลา 4-5 ปี กว่าจะฟื้นตัว ในขณะที่ภาคธุรกิจการบิน จะใช้เวลา 6-7 ปี กว่าจะฟื้น แต่อย่างไรก็ดีตัวแปรสำคัญของเศรษฐกิจในขณะนี้คือ การผลิตวัคซีน และ เปิดประเทศให้มีการเดินทางระหว่างกันได้

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา ข่าวสด