อย่าละเลย!! 8 สัญญาณเตือนภัยโรค “เลือดออกในสมอง” 

WM

7 วิธีป้องกัน “โรคเลือดออกในสมอง” มีอะไรบ้าง??

สำหรับ”โรคเลือดออกในสมอง” เป็นโรคที่พบได้บ่อยในปัจจุบัน พบมากในผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และพบได้ในวัยทำงาน จนถึงวันชราเสียไปส่วนใหญ่ แต่นับวันก็จะมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะโรคเลือดออกในสมองจัดว่าเป็นกลุ่มหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมอง และโรงสมองขาดเลือด สาเหตุมาจากความเสื่อมของหลอดเลือดสมองในกลุ่มวัยชรา บวกกับโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง และพฤติกรรมในการใช้ชีวิตต่างๆ

สาเหตุหลักมาจากภาวะความเสื่อมของหลอดเลือดสมองจากอายุที่มากขึ้นร่วมกับโรคประจำตัว ที่สำคัญคือ โรคความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่เป็นเวลานาน ภาวะแข็งตัวของเลือดบกพร่องรวมถึงการใช้ยาป้องกันเลือดแข็งตัวบางชนิด แต่ในปัจจัยทั้งหลาย อายุที่มากขึ้นร่วมด้วยโรคความดันโลหิตสูงเป็นเวลานาน ยังคงเป็นตัวการสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคนี้อาการของโรคเลือดออกในสมอจะมีลักษณะสำคัญคือ เฉียบพลันและรุนแรง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/geralt-9301/

อาการเฉียบพลันที่สังเกตได้ เช่น ปวดศีรษะรุนแรง เฉียบพลัน มักมีอาการร่วมคือ คลื่นไส้ อาเจียน ชัก หรือกระทั่งหมดสติ อ่อนแรง อัมพาต หรือปากเบี้ยวฉับพลัน ชาเฉียบพลัน พูดลำบากฉับพลัน ตามัวมองไม่เห็นเฉียบพลัน เสียการทรงตัว และบ้านหมุนวิงเวียนเฉียบพลัน หากสงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการข้างต้น ให้พบแพทย์ด่วน เพราะก้อนเลือดในสมองอาจทำให้แรงดันในโพรงกะโหลกศีรษะสูง เลือดไปเลี้ยงสมองไม่พอ ผู้ป่วยจะซึมลงจนหมดสติ หรือก้อนเลือดกดเบียดบริเวณสำคัญ เช่น ก้านสมอง ทำให้อาการทรุดลงรวดเร็ว

หากเกิดอาการลักษณะเช่นนี้ ขอให้สันนิษฐานว่ามีความเป็นไปได้ที่จะเป็นโรคเลือดออกในสมอง‼

1. ปวดศีรษะอย่างรุนแรง และฉับพลัน

2. แขนขาอ่อนแรง โดยอาจเป็นเพียงข้างใดข้างหนึ่ง

3. มีอาการชาเฉียบพลันบริเวณใบหน้า แขน มือ หรือขา

4. พูดลำบาก พูดไม่ได้ หรืออาจปากเบี้ยว หน้าเบี้ยว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stocksnap-894430/

5. ตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัดแบบเฉียบพลัน

6. เดินตรงไม่ได้ ทรงตัวไม่ได้

7. คลื่นไส้อาเจียน

8. อาจเกิดอาการชัก หรือหมดสติได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/mcronny-5560238/

การป้องกันโรคเลือดออกในสมอง

1. หากเป็นผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นผู้มีความดันโลหิตสูง ต้องเข้ารับการรักษาจากแพทย์

2. งดแอลกอฮอล์ และบุหรี่

3. งดทานอาหารรสจัด เช่น รสหวานจัด เค็มจัด เผ็ดจัด

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/fotoshoptofs-2171839/

4. ทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

5. ไม่ประมาทเมื่อต้องขับขี่ยานพาหนะ คาดเข็มขัดนิรภัย และสวมหมวกกันน็อคเมื่อขี่มอเตอร์ไซค์

6. รักษาสภาวะทางอารมณ์ให้เป็นปกติอยู่เสมอ อย่าโกรธ อย่าโมโหบ่อย และอย่าเครียดมากเกินไป

7. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อลดความเสี่ยงในการออกอาการเฉียบพลันในเวลาที่ไม่พร้อม หรืออยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย

ถึงแม้โรคเลือดออกในสมองจะเป็นโรคร้ายแรง ที่อาจส่งผลถึงอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาจเสียชีวิตได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะป้องกันโรคนี้มาไม่ได้นะคะ กล่าวคือเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ต้องระวังควบคุมรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้เคร่งครัด ลดปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น หยุดสูบบุหรี่ โรคนี้นับเป็น DooDiDo คิดว่าเป็นภัยเงียบที่ก่อให้เกิดอันตราย การมีความรู้ความเข้าใจจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.facebook.com/NarahShop