หากเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจได้

WM

การรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยงโรคหัวใจที่ดี ควรทานอาหารประเภทไหนบ้าง

สำหรับ “โรคหัวใจ” เป็นอีกหนึ่งโรคที่ไม่ว่าใครก็อย่าหาเป็นเลยค่ะ ซึ่งโรคหัวใจนั้นก็แบ่งออกมาได้อีกหลายๆกลุ่มโรคเช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจแล้วอีกมากมาย ซึ่งหลายคนอาจจะกำลังคิดว่า ตัวเองนั้นอายุยังไม่เยอะ ไม่สามารถเป็นโรคหัวใจได้หรอก ขอบอกเลยว่าคุณคิดผิดถนัดเลยล่ะค่ะ เพราะว่าในปัจจุบันนั้นยังมีคนอีกหลายกลุ่ม หลายช่วงอายุวัย ที่เป็นโรคหัวใจอีกมาก ฉะนั้นแล้วไม่ว่าใครจะอายุเท่าไหร่ คุณก็มีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจได้เช่นเดียวกันค่ะ

ในอดีตโรคร้ายที่คร่าชีวิตมนุษยชาติหลายล้านคนมาจากโรคติดเชื้อ เนื่องจากยังไม่มียาปฏิชีวินะที่ดีและการแพทย์ที่มีเทคโนโลยีดีๆ แต่ในปัจจุบัน สิ่งที่คร่ามนุษย์ทั่วโลกนาทีละ 34 คน หรือคิดเป็น 18 ล้านคนต่อปี นั้นมาจาก “พฤติกรรมการกิน” ของคนในปัจจุบันที่จะนำไปสู่ โรคหัวใจและหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของผู้คนทั่วโลกนั่นเอง แต่คุณรู้มั้ยคะว่าเพียงแค่เราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ก็จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้มากแล้วเช่นกันค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/myriams-fotos-1627417/

มาถึงคำถามสำคัญที่ทุกคนอยากรู้ แล้วเราจะทานอะไรได้บ้าง ไก่ทอดกินได้ไหม ทำกับข้าวด้วยน้ำมันหมูหรือน้ำมันพืชดี ต้องกินแต่สลัดทุกวันเลยรึเปล่า มาหาคำตอบจากบทความตอนนี้กัน

นพ.ทินกฤต ศศิประภา แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคหัวใจ และอนุสาขาหัตถการปฏิบัติรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด ศูนย์โรคหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลนวเวช กล่าวว่า ก่อนจะอธิบายเรื่องอาหารที่ดีต่อหัวใจ

ขออธิบายให้ชัดเจนก่อนว่า การรับประทานอาหารเพื่อหัวใจที่ดี กับการรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนักนั้นเป็นคนละเรื่องกัน การลดน้ำหนักนั้นต้องลดปริมาณที่ทานเพื่อลดแคลอรี่ต่อวันที่ได้รับ แต่การรับประทานอาหารให้ดีต่อหัวใจนั้นเน้นไปที่คุณภาพอาหารที่ทานเสียมากกว่า

ก็คือ การรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน เป็นต้น ซึ่งประกอบไปด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/ritae-19628/

1. เน้นรับประทานที่มีกากใยสูง เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืช และถั่ว (ไม่อบเกลือ)

2. หลีกเลี่ยงอาหารเค็ม เนื่องจากความเค็มในอาหารเกิดจากโซเดียม (Sodium) การรับประทานโซเดียมในปริมาณมากจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงตามมาได้

3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานส์ (Trans fatty acid) ซึ่งเป็นไขมันที่ส่งผลเสียต่อหลอดเลือดมากที่สุด ยกตัวอย่าง ได้แก่ อาหารที่มีส่วนผสมของมาการีน (เช่น เบเกอรี่ต่างๆ) อาหารทอด เป็นต้น

4. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว (Saturated fatty acid) เช่น เนื้อสัตว์ (เช่นหมู เนื้อวัว) น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ชีส ไอศกรีม แต่ให้รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวแทน(Unsaturated fatty acid) เช่น น้ำมันพืช เนื้อปลา เป็นต้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/lernestorod-5382836/

5. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีความหวานสูงๆ เช่น น้ำอัดลม น้ำ energy drinks ต่างๆ เป็นต้น

6. หลีกเลี่ยงเครื่องในสัตว์และเนื้อสัตว์ที่ผ่านกระบวนการผลิตมาก่อน เช่น เบคอน ไส้กรอก ฮอตดอก เป็นต้น

ทุกคนคงจะเห็นแล้วใช่มั้ยล่ะคะ ว่าโรคหัวใจนั้นน่ากลัวกว่าที่คิดขนาดไหน หรือบางคนอาจจะเพิ่งรู้ครั้งแรกเลยด้วยซ้ำว่ามีคนเสียชีวิตจากโรคหัวใจนั้นมีถึง 18 ล้านคน/ปี ซึ่งถ้าสังเกตการรับประทานอาหารหรือจะเป็นไลฟ์สไตล์ต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ของผู้ป่วยโรคนี้หลายๆ คนแล้วล่ะก็คงจะพอรู้ได้เลยว่าเพราะเหตุใด ทำไมพวกเค้าถึงเป็นโรคนี้กัน แต่ DooDiDo บอกได้เลยว่าไม่ใช่เพียงแค่การทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์นั้นจะทำเสี่ยงทำใหเกิดโรคนี้เท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงการนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ การสูบบุหรี่หรือการดมควันบุหรี่ก็ได้เช่นกันค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.bangkokbiznews.com