หากมีอาการนอนไม่หลับ ควรจะรีบหาทางแก้ไข!!

WM

‘โรคนอนไม่หลับเรื้อรัง’ ซึ่งอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

โรคนอนไม่หลับถือเป็นโรคยอดนิยมโรคหนึ่งที่คนมักเป็นกัน และเป็นภัยใกล้ตัวของทุกคนใบโลกใบนี้เลยละครับ เพราะด้วยทุกวันนี้มีปัญหาทางสังคมมากมายทั้งในเรื่องของเศรษฐกิจที่แย่เนื่องจากโรคระบาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อคนในวงกว้าง ในขณะเดียวกันความเครียดในเรื่องของการเรียนและการทำงานก็ต้องมีการแข่งขันกันในทุกวัน มองไปทางไหนก็มีแต่ความเครียดเต็มไปหมด

ซึ่งความเครียดเป็นจุดชนวนหรือจุดเริ่มต้นของ โรคนอนไม่หลับนั่นเองครับ โดยอย่างที่ทราบกันดีว่าเมื่อร่างกายไม่ได้พักผ่อนให้เพียงพอ ผลที่ตามมาคือร่างกายจะเริ่มอ่อนล้า ทำกิจวัตรประจำวันในชีวิตได้ไม่สะดวก เช่น ไม่มีสมาธิในการเรียน หรือประสิทธิภาพในการทำงานถดถอยลง รวมไปถึงมีอาการหงุดหงิดหรือกระสับกระส่าย ดังนั้นเมื่อรู้สึกว่าการนอนหลับของตัวเองไม่เป็นปกติ เราก็ควรจะรีบหาทางแก้ไข ก่อนที่อาการเหล่านี้จะพัฒนาเป็นโรคเรื้อรังจนยากจะจัดการครับ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@sammoghadamkhamseh

อาการของโรคนอนไม่หลับ มีอะไรบ้าง ?

-นอนหลับยาก

-สะดุ้งตื่นขึ้นมากลางดึกหลายครั้ง

-ตื่นขึ้นมาในช่วงกลางคืน

-ตื่นเช้ามากและไม่สามารถกลับไปนอนได้

–รู้สึกเหนื่อยหลังจากตื่น

-งีบระหว่างวันยาก แม้จะรู้สึกว่าเหนื่อย

-รู้สึกเหนื่อยและหงุดหงิดระหว่างวัน

-รู้สึกไม่มีสมาธิเพราะเหนื่อย

หากคุณเริ่มมีอาการของโรคนอนไม่หลับในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือไม่เกิน 3 เดือน อาการนี้จะเรียกว่า การนอนไม่หลับเป็นครั้งคราวแต่ถ้ามีอาการนานกว่า 3 เดือนเป็นต้นไปจะเรียกว่า โรคนอนไม่หลับเรื้อรังซึ่งอาจจะต้องพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างถูกต้อง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/engin_akyurt-3656355/

ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับ ?

โรคนอนไม่หลับมีอยู่หลากหลายเหตุผลมากครับ แต่โดยปกติแล้วปัจจัยส่วนใหญ่จะเกิดมาจากสาเหตุ 

-ความเครียด, โรควิตกกังวล หรือโรคซึมเศร้า

-รอบข้างมีเสียงรบกวน

-อุณหภูมิในห้องหนาวหรือร้อนมากจนเกินไป

-เตียงนอนไม่ค่อยมีคุณภาพหรือนอนไม่ค่อยสบาย

-ดื่มแอลกอฮอล์, กาแฟ หรือนิโคติน

-อาการเจ็ตแล็ก

-ทำงานไม่เป็นเวลา (ทำงานเป็นกะ)

วิธีการรักษาโรคนอนไม่หลับด้วยตัวเอง

โรคนอนไม่หลับสามารถแก้ไขง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเอง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@michiru

สิ่งที่ควรทำ

-เข้านอนและตื่นนอนให้ตรงเวลาในทุกวัน

-พยายามรีแล็กซ์ก่อนเข้านอนประมาณ 1 ชั่วโมง อย่างเช่น อ่านหนังสือ หรืออาบน้ำ

-พยายามทำให้ห้องนอนเงียบและมืดสนิท ด้วยการใช้ ผ้าม่าน, มูลี่, ผ้าปิดตา หรือที่อุดหู

-ออกกำลังกายเป็นประจำ เช่น การเข้าฟิตเนส หรือกีฬาที่ชอบ อย่าง เทนนิส, กอล์ฟ, ปิงปอง หรือแบดมินตัน

-ใช้เตียงนอนหรือหมอนที่นุ่มรู้สึกสบายในทุกครั้งที่นอน

สิ่งที่ไม่ควรทำ

-ไม่ควรดื่มแอลกอฮอล์, สูบบุหรี่, ชา และกาแฟ ในช่วง 6 ชั่วโมงก่อนนอนหลับ

-ไม่ควรรับประทานอาหารก่อนเข้านอน

-ไม่ควรออกกำลังกายก่อนนอน

ไม่ควรดูทีวีหรืออุปกรณ์ที่ปล่อยแสงสีฟ้าก่อนเข้านอน เพราะแสงอาจทำให้รู้สึกตื่นหรือนอนไม่หลับมากกว่าเดิม

-ไม่ควรงีบระหว่างวัน

-ไม่ควรขับรถเมื่อรู้สึกง่วงนอน

-ไม่ควรนอนดึก หากในคืนที่ผ่านมานอนไม่หลับ พยายามนอนให้ตรงเวลาทุกวัน

-ปรึกษาเภสัชกรเพื่อหายาที่ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@johnyg

ใครบ้างที่ควรพบแพทย์เพื่อรักษาโรคนอนไม่หลับ

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วก็ไม่สามารถทำให้อาการดีขึ้น

มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนนานกว่า 1 เดือน

การนอนไม่หลับส่งผลต่อชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การเรียนหรือการทำงาน

แพทย์รักษาโรคนอนไม่หลับอย่างไร ?

แพทย์จะประเมินอาการและวินิจฉัยก่อนว่าสาเหตุจากการนอนไม่หลับเกิดจากอะไร เพื่อจะได้รักษาคนไข้อย่างถูกต้อง ในบางเคสกับต้องเข้าพบนักบำบัดเพื่อรักษาด้วยวิธีการ CBT หรือที่เรียกว่า การบำบัดด้วยความคิดและพฤติกรรมเพื่อให้การนอนหลับดียิ่งขึ้น ส่วนในบางรายอาจส่งตัวไปเช็กว่ามีอาการอื่น ๆ หรือไม่ เช่น ภาวะหยุดหายใจ เป็นต้น

ทั้งนี้ในปัจจุบันแพทย์จะไม่ค่อยจ่ายยานอนหลับสักเท่าไหร่นัก เนื่องจากตัวยามีผลข้างเคียงจากยาค่อนข้างมาก โดยถ้าหากแพทย์จ่ายยานอนหลับส่วนใหญ่แล้วจะกำหนดให้รับประทานยาเพียงแค่ไม่กี่วันหรือเพียงแค่สัปดาห์เดียวเท่านั้น DooDiDo จึงขอแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้เครียด หันมาออกกำลังกาย และใส่ใจดูแลสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้นกันนะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://bestreview.asia