ส่งออกไทยเจอปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน พร้อมค่าระวางเรือเพิ่ม

WM

ภาพโดย Monica Volpin จาก Pixabay

ค่าระวางเรือเพิ่ม ส่งออกไทยเจอปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน ทำต้นทุนพุ่ง

ส่งออกไทยเจอปัญหา ตู้สินค้าขาดแคลน ดันค่าระวางเรือขยับ ทำต้นทุนพุ่งปรี๊ด จีน-เวียดนามเปิดศึกชิงตู้คอนเทนเนอร์ ให้ค่าระวางเรือสูงจูงใจ ทำค้าโลกป่วน นอกจากปัจจัยเงินบาทมีทิศทางแข็งค่าต่อเนื่อง นโยบายการค้าของว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯคนใหม่”โจ ไบเดน”

พิษโควิด-19 ที่กลับมาระบาดรอบใหม่ในหลายประเทศ การกีดกันการค้า ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ต่อการส่งออกของไทยในปี 2564 แล้ว ปัญหาตู้สินค้า หรือตู้คอนเทนเนอร์ขาดแคลน และค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้นยังเป็นปัญหาซ้ำเติมลากยาวมาตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา

สร้างปัญหาและสร้างภาระให้ผู้ส่งออกไทยในเวลานี้ นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา รองประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ปัญหาตู้สินค้าขาดแคลน และค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจาก 1.สายเดินเรือมีนโยบายจัดสรรระวางตู้สินค้า(Space Allocation)

และจัดสรรตู้เปล่าหมุนเวียน(Container Allocation กลับไปยังประเทศจีนและเวียดนามมาก จากให้อัตราค่าระวางที่สูงกว่าไทย และ 2.การระบาดของโรคโควิด-19 รอบสองในยุโรปและสหรัฐฯ ทำให้ตู้สินค้าตกค้างที่ปลายทางจำนวนมาก ส่งผลให้ปริมาณตู้สินค้าที่ต้องหมุนเวียนกลับสู่ระบบหายไปจำนวนมาก จากปัญหาดังกล่าวส่งผลกระทบโดยตรงทำให้อัตราค่าระวางเรือเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ข้อมูลอัตราค่าระวางเรือที่ทาง สรท.ได้รวบรวมเปรียบเทียบ ณ วันที่  25 ธันวาคม 2563 ระหว่างไทยกับจีน ในเส้นทางสำคัญ แตกต่างการดังนี้(ตู้ 40 ฟุต) 1.เส้นทาง  US WEST  จีน 4,080 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตู้ ไทย 4,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตู้ ต่างกัน 80 ดอลลาร์สหรัฐฯ 2.เส้นทาง US EAST จีน 4,870 ดอลลาร์ฯ ไทย 4,700  ดอลลาร์ฯ ต่างกัน 870 ดอลลาร์ฯต่อตู้

3.เส้นทาง Europe  จีน 3,797 ดอลลาร์ฯ ไทย 7,300 ดอลลาร์ฯ ต่างกัน 3,503 ดอลลาร์ฯต่อตู้ 4.เส้นทาง Australia จีน 2,460 ดอลลาร์ฯ ไทย 3,300 ดอลลาร์ฯ ต่างกัน 840 ดอลลาร์ฯต่อตู้ และ 5.เส้นทาง Middle east จีน 3,709 ดอลลาร์ฯ ไทย 1,400 ดอลลาร์ฯ ต่างกัน 2,309 ดอลลาร์ฯต่อตู้

WM
ภาพโดย Hessel Visser จาก Pixabay

ขณะที่สถานการณ์ค่าระวางในช่วงเดือนมกราคม 2564 สายเรือมีการปรับเพิ่มค่าระวาง ในเส้นทางเอเชีย 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อ TEU (ตู้ขนาด 20 ฟุต) และ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อ FEU (ตู้ขนาด 40 ฟุต) โดย

  • เส้นทาง Shanghai อัตราค่าระวางอยู่ที่ 350 USD/TEU และ 800 USD/FEU
  • เส้นทาง Hong Kong ค่าระวาง อยู่ที่ 250 USD/TEU และ 700 USD/FEU
  • เส้นทาง Klang ค่าระวางอยู่ที่ 450 USD/TEU และ 1,000 USD/FEU
  • เส้นทาง Japan ค่าระวางอยู่ที่ 450 USD/TEU และ 900 USD/FEU

สำหรับเส้นทางแอฟริกาใต้ช่วงครึ่งแรกของเดือนมกราคม ค่าระวางปรับตู้ขนาด 40 ฟุต ปรับเพิ่มขึ้น 200 USD/FEU ทำให้ค่าระวางอยู่ที่ 2,100 USD/TEU 4,200 USD/FEU โดยสามารถยืนยันราคาได้เพียงช่วงครึ่งเดือนแรก เนื่องจากยังพบปัญหาการขาดแคลนตู้

โดยเฉพาะตู้ 40’HQ ส่วนเส้นทาง Melbourne ค่าระวางยังคงที่ โดยเรียกเก็บอยู่ระหว่าง 1,350-1,450 USD/TEU และ 2,700-2,850 USD/FEU ส่วนท่าเรือ Sydney ค่าระวางคงที่เช่นเดียวกัน โดยเรียกเก็บอยู่ระหว่าง 1,650-1,750 USD/TEU และ 3,300-3,450USD/FEU

โดยปรับเพิ่มการเรียกเก็บค่า FAF ในอัตรา 6 USD/TEU สถานการณ์ขณะนี้ Space ช่วงครึ่งเดือนแรกของ มกราคมค่อนข้างแน่น อาจสามารถรับจองระวางได้ช่วงครึ่งเดือนหลังของมกราคม ซึ่งขอให้ผู้ส่งออกตรวจสอบกับสายเรือที่ใช้บริการ ในขณะที่ เส้นทาง Europe ค่าระวางมีการปรับเพิ่มสูงขึ้นมากเมื่อเทียบกับเดือนธันวาคมที่ผ่านมา

โดยปรับเพิ่มขึ้น 1,450 USD/TEU และ 2,900 USD/FEU ทำให้ค่าระวางอยู่ที่ 3,650 USD/TEU และ 7,300 USD/FEU โดยมีการเรียกเก็บค่า Peak Season Surcharge เพิ่มเติมในอัตรา 500 USD/TEU และ 1,000 USD/FEU แต่เนื่องจากปัญหาสถานการณ์ระวาง และตู้ ขาดแคลน สายเรือจึงสามารถยืนยันราคาเพียงช่วงครึ่งเดือนแรกของมกราคม ขณะที่เส้นทางสหรัฐอเมริกา

ช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนมกราคม ค่าระวางยังคงที่ โดยค่าระวางฝั่ง West Coast อยู่ ที่ 3,200 USD/TEU และ 4,000 USD/FEU และฝั่ง East Coast ค่าระวางอยู่ที่ 3,800 USD/TEU และ 4,700 USD/FEU ซึ่งขณะนี้พบปัญหาเรือเกิดความล่าช้า ทำให้มีการเปลี่ยนตารางเรือ โดยอาจมีกรณีที่ไม่สามารถไปต่อเรือแม่ได้ทัน ทั้งนี้ขอให้ผู้ส่งออกติดตามความคืบหน้าจากสายเรือที่ใช้บริการ

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา  ฐานเศรษฐกิจ