สิ่งสำคัญในการดูแลและใส่ใจพัฒนาการของลูกน้อยวัย 1 เดือน!!

WM

มาดูพฤติกรรมใดบ้างที่ลูกน้อยของคุณสามารถทำได้ในวัย 1 เดือน

ถือว่าเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่พ่อแม่มือใหม่อย่างเราๆ อาจจะมีความกังวลอยู่บ้าง ว่าในแต่ละเดือนลูกน้อยของเราจะมีพัฒนาการอย่างไร ลูกเราพัฒนาการช้ากว่าลูกบ้านอื่นไหม อยากให้ลูกมีพัฒนาการเด็กที่ดีพัฒนาการของทารกเริ่มต้นตั้งแต่เกิด เริ่มแรกทารกจะโต และเรียนรู้อย่างมาก ในเดือนที่ 1 การกอด การนอน และการกิน ทั้งหมดนั้นสำคัญต่อลูกของคุณ เวลาที่คุณใช้กับพวกเขานั้นจะช่วยให้ในการเจริญเติบโตของสมอง และพัฒนาพวกเขาสู่ประการณ์ในโลก ลูกของคุณอาจจะร้องอย่างมากในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จะเกิดขึ้นบ่อยเพราะพวกเขาหิว หรืออาจะเกิดจากที่ผ้าอ้อมเปื้อน แต่ส่วนมากทารกก็ร้องขึ้นมาโดยไม่มีเหตุผล กอดพวกเขาเพื่อให้พวกเขาสบายใจ และจดจำว่าการร้องไห้นั้นจะผ่านไป

ในสัปดาห์ที่ 6 ถึง 8 ลูกน้อยของคุณจะต้องตรวจเช็คสุขภาพโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุภาพ เช่น พยาบาลสุขภาพเด็กและครอบครัว พยาบาลผดุงครรภ์ แพทย์เวชปฏิบัติทั่วไป หรือ กุมารเวช

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/cherylholt-209609/

ทารกอายุ 1 เดือน
การเจริญเติบโตของเด็กจะมีค่าที่ต่างกันออกไป แต่โดยเฉลี่ยแล้ว อายุ 1 เดือนน้ำหนักจะขึ้นระหว่าง 0.7 ถึง 0.9 กิโลกรัมต่อเดือน และโต 2.5 ถึง 4 เซนติเมตร และเส้นรอบศีรษะจะเพิ่มขึ้นประมาณ 1.25 เซนติเมตร ต่อเดือน

ทารกจะน้ำหนักลดหลังจากที่พวกเขาเกิด ทารกที่มีสุขภาพที่ดีน้ำหนักจะกลับมากับตอนที่พวกเขาเกิดประมาณ 2-3 สัปดาห์ และจะเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ลูกน้อยของคุณได้รับการชั่งน้ำหนักเมื่อแรกเกิด และหมอ หรือพยาบาล แม่ และเด็กจะบันทึกการเจริญเติบโตลงบนชาร์ตการเจริญเติบโต

ลูกน้อยคุณสามารถทำอะไรได้บ้าง
เมื่อได้ 1 เดือน สิ่งที่ทารกทำส่วนใหญ่เกิดจากปฏิกิริยาตอบสนอง พวกเขายังไม่ได้คิดอะไรกับการกระทำของพวกเขา พวกเขาอาจจะดูด กลืน หานม และคว้าของถ้าคุณเอาของวางในฝ่ามือ (ถึงแม้ว่าส่วนใหญ่จะกำมือแน่น) พวกเขาจะเหยียบเท้าข้างหนึ่งไปข้างหน้าเท้าข้างนึง ถ้าคุณวางเท้าพวกเขาบนพื้นที่เรียบ

พวกเขาจะเริ่มโฟกัสด้วยตาสองข้างของพวกเขาในอายุ 1 เดือน และสามารถที่จะมองตามวัตถุที่เคลื่อนจากข้างหนึ่งไปอีกข้างหนึ่ง พวกเขาจะมองหน้าคนเพื่อมองวัตถุ และจะมองลึกไปในตาพวกคุณถ้าคุณถือมันห่างประมาณ 4.5 เซนติเมตร

ทารกอายุ 1 เดือนรักในเสียงของคุณ แต่พวกเขาอาจจะตกใจถ้าได้ยินเสียงที่ดัง พวกเขาจะถอยหลัง เหวี่ยงแขนขา กระพริบตา และหายใจเร็ว

ในช่วงท้ายของอายุ 1 เดือน ทารกส่วนมากสามารถยกศีรษะเมื่อคุณวางพวกเขาบนท้อง และพวกเขาสามารถหันจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง เมื่อกระดูกที่คอพวกเขาแข็งแรง พวกเขาจะสามารถหันศีรษะ และยกขึ้นได้เมื่ออยู่ในคาร์ซีทและที่อุ้ม

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/stocksnap-894430/

ลูกน้อยของคุณจะร้องไห้เสียงดังเมื่อพวกเขารู้สึกหิวและไม่สบายใจ เมื่อพวกเขามีความสุขและพอใจ พวกเขาจะทำเสียงครวญครางเล็กน้อย ตอบสนองเสียงของลูกน้อบของคุณด้วยเสียงครวญครางกลับ

ช่วงอายุ 1 เดือนทารกจะเรียกรู้ที่จะสงบด้วยตัวของพวกเขาเอง ด้วยกับหุ่นหรือดูดนิ้วหรือดูดนิ้วโป้งของพวกเขา ช่วยทารกของคุณดูดให้ไปในทางที่ดี

วิธีที่ช่วยให้ลูกน้อยของคุณพัฒนา
ให้เวลากับลูกน้อยของคุณมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มองลึกเข้าไปในตาของพวกเขา และการยิ้มให้พวกเขาจะช่วยให้พวกเขาสร้างสายใย และรู้สึกปลอดภัย

อ่าน และร้องเพลงให้กับลูกน้อยของคุณ แม้ว่าพวกเขายังไม่สามารถที่จะเข้าใจ แต่พวกเขาจะมีความสุขที่ได้ยินเสียงของคุI ดนตรีช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส และทำให้ร่าเริง การเล่นกับพวกเขาช่วยให้กระชับสายใยสัมพันธ์

ช่วยให้ลูกน้อยของคุณพัฒนาความแข็งแรงของคอโดยวางไว้บนท้องเป็นเวลา 1 ถึง 5 นาทีในแต่ละครั้ง คอยดูลูกน้อยของคุณในช่วงเวลาที่อยู่บนท้อง และให้ลูกนอนหงายเสมอ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/trestletech-2259001/

สัญญาณบ่งถึงปัญหาของพัฒนาการทารก 1 เดือน
พัฒนาการของทารกนั้นจะแตกต่างกันออกไป ในช่วงอายุ 1 เดือนคุณยังคงเรียนรู้เกี่ยวกับลูกน้อยของคุณ และความต้องการของพวกเขา แต่ก็ต้องคุยกับหมอหรือพยาบาล ถ้า :

  • พวกเขากินไม่ค่อยได้
  • การนอนหลับของพวกเขามากกว่า 16 ชั่วโมงต่อวัน
  • พวกเขาไม่ขยับแขนหรือขา
  • พวกเขาไปมองตามหน้าของคุณหรือไม่ตอบสนองเมื่อเห็นคุณ
  • พวกเขาไม่ทำเสียงครวญคราง
  • พวกเขาไม่ตกใจหรือเหมือนไม่ได้ยิน
  • คุณกังวลกับการร้องไห้ และการนอนของลูกน้อยของคุณ

นับตั้งแต่ลูกเกิดมา สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่ใส่ใจและให้ความสำคัญมาก DooDiDo คิดว่าคงหนีไม่พ้นเรื่องของ “พัฒนาการเด็ก” รวมถึงพัฒนาการของลูกในแต่ละเดือน เฝ้าดูว่าลูกจะทำอะไรได้บ้าง และมีอะไรบ้างที่คนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราจะกระตุ้นพัฒนาการลูกได้แค่นี้คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ก็มีความสุขมากแล้วละค่ะ ที่เห็นพฒนาการดีๆ ของลูกน้อยในแต่ละช่วงวัย

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://ihealzy.com