สังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกที่อาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตได้

WM

ระวัง!! เด็กนอนไม่พอ อาจส่งผลเสียต่อการเจริญเติบโตมากกว่าที่คุณคิด

หากลูกของคุณมีพฤติกรรมการนอนหลับที่น้อยกว่าปกติ นั้นอาจจะเป็นสัญญาณเตือนว่าลูกของคุณจะมีการเจริญเติบโตที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายอยู่นะคะ เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอในเด็กช่วงวัยแรกเกิดจะทำให้เด็กนั้นมีพัฒนาการทางด้านอารมณืได้  และในช่วงที่เด็กเริ่มเข้าสู่วัยเรียนนั้นการนอนไม่พอจะทำประสิทธิภาพของสมาธิ การควบคุมอารมณ์แย่ขึ้น และในเด็กวัยรุ่นที่มักจะนอนน้อยกันเพราะการเล่นเกมส์ หรือการอ่านหนังสือ จะทำให้เด็กสมาธิสั้นได้นะคะ และยังจะทำให้เด็กนั้นมีอาการอ่อนเพลียระหว่างวันได้ง่าย ดังนั้น มาลองสังเกตพฤติกรรมการนอนของลูกที่อาจะส่งผลเสียต่อพวกเขาในระยะยาวกันค่ะ

การนอนส่งผลกระทบต่อการทำงานทุกอย่างของร่างกาย และยิ่งสำหรับเด็กด้วยแล้ว ความเสี่ยงที่เกิดจากการ นอนไม่พอ เป็นเรื่องใหญ่ยิ่งกว่าการตื่นขึ้นมาด้วยอารมณ์หงุดหงิด งานวิจัยชี้ว่าเด็กที่มีปัญหาการนอนหลับมักมีปัญหาสุขภาพมากกว่า  และมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาทางอารมณ์และการเข้าสังคมอีกด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/publicdomainpictures-14/

เด็กแต่ละวัย..นอนเท่าไรดี

ทารกวัยแรกเกิด (อายุต่ำกว่า 6 เดือน)

นาฬิกาชีวิตของทารกวัยแรกเกิดยังพัฒนาได้ไม่เต็มที่ ทารกที่อายุต่ำกว่า 6 เดือน จะนอนเป็นเวลา 18 ชั่วโมงต่อวัน โดยแบ่งเป็นตอนกลางคืนและตอนกลางวันเท่ากัน นอกจากนี้ในช่วงเวลาไม่กี่สัปดาห์แรก เด็กวัยแรกเกิดควรตื่นทุกๆ 3-4 ชั่วโมงจนกระทั่งพวกเขามีน้ำหนักตัวปกติ หลังจากนั้นทารกวัยแรกเกิดจะสามารถนอนติดต่อกันเป็นเวลานานขึ้นได้ และสำหรับทารกวัย 3 เดือน โดยเฉลี่ยจะนอนหลับ 14 ชั่วโมง ซึ่งใช้เวลานอน 8-9 ชั่วโมงต่อวัน และจะงีบหลับระหว่างวัน 2-3 ครั้ง

ทารกวัย 6-12 เดือน

ทารกวันนี้ต้องการนอนโดยเฉลี่ย 14 ชั่วโมงต่อวัน และงีบหลับระหว่างวัน 2-3 ครั้ง เป็นเวลาครั้งละ 2 ชั่วโมงถึง 30 นาที เด็กในวัยนี้ส่วนใหญ่จะเริ่มไม่ตื่นมากินนมกลางคืนแล้ว หรืออาจจะมีตื่นขึ้นมาบ้างกลางดึก แต่ก็ไม่จำเป็นต้องป้อนนมกันแล้ว

วัยเตาะแตะ

ในวัย 1-3 ปี ส่วนใหญ่เด็กจะนอนหลับประมาณ 12-14 ชั่วโมง แต่เด็กในวัยนี้อาจเกิดอาการที่เรียกว่า “ความกลัวในการถูกพรากจากพ่อแม่” ทำให้เด็กอาจจะอยากอยู่กับพ่อแม่ โดยแสดงออกด้วยการไม่ยอมเข้านอน แต่พ่อแม่จำเป็นต้องกำหนดเวลาการเข้านอนที่แน่นอน และพยายามให้ลูกนอนตามเวลา พ่อแม่บางคนมักเข้าใจผิดว่า การทำให้เด็กตื่นอยู่นานๆ จะทำให้เด็กง่วงนอนและหลับง่ายขึ้น แต่จริงๆ แล้วยิ่งเด็กเหนื่อยเท่าไหร่ ก็จะยิ่งนอนหลับยากเท่านั้น และมักจะแสดงออกด้วยการร้องไห้งอแง เด็กวัยนี้ยังต้องการนอนกลางวันประมาณ 1-3 ชั่วโมง แต่คุณไม่จำเป็นต้องบังคับให้ลูกนอนกลางวัน แค่ให้ลูกอยู่ในที่สงบเงียบสักช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้ลูกได้พักผ่อน โดยที่อาจไม่จำเป็นต้องหลับก็ได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@anniespratt

วัยก่อนเข้าเรียน

เด็กๆ วัยก่อนเข้าโรงเรียนจะนอนหลับ 11-12 ชั่วโมงในตอนกลางคืน และสำหรับเด็กๆ ที่นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอในตอนกลางคืน อาจไม่ต้องการงีบหลับในตอนกลางวัน แต่ก็ควรให้เด็กได้มีเวลาพักผ่อนเงียบๆ สักพักหนึ่งในตอนกลางวัน และเด็กที่ไม่นอนกลางวันก็มักจะเข้านอนเร็วขึ้นด้วย

เด็กวัยเรียนถึงก่อนวัยรุ่น

เด็กวัยเรียนต้องการการนอนหลับในตอนกลางคืน 10-11 ชั่วโมง และปัญหาการนอนหลับมักจะเริ่มต้นในวัยนี้ เนื่องจากมีเหตุผลหลายอย่าง เช่น การบ้าน การออกกำลังกาย กิจกรรมหลังเลิกเรียน คอมพิวเตอร์ ทีวี โทรศัพท์ และกิจกรรมของครอบครัว ซึ่งเหตุผลเหล่านี้สามารถทำให้เด็กๆ นอนหลับไม่เพียงพอได้

วัยรุ่น

วัยรุ่นจำเป็นต้องนอนหลับเป็นเวลา 9 ชั่วโมงต่อวัน แต่วัยรุ่นส่วนใหญ่นอนหลับไม่เพียงพอ เนื่องจากมีเหตุผลหลายประการ เช่น การทำการบ้าน คุยกับเพื่อน หรือกิจกรรมหลายอย่าง ที่อาจทำให้นอนหลับไม่เพียงพอเป็นประจำ จนเป็นนิสัย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/2344799-2344799/

เด็กนอนไม่พอ..เกิดอะไรขึ้นได้บ้าง

1. ผลต่อการทำงานของสมอง

งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Academic Pediatrics พบว่า เด็กๆ ในวัยก่อนเข้าโรงเรียนที่นอนไม่พอ อาจมีแนวโน้มที่จะมีปัญหาในการมีสมาธิ ควบคุมอารมณ์ และการประมวลผลข้อมูลในวัยที่โตขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วเด็กวัย 3-4 ปีควรนอนหลับ 11 ชั่วโมงต่อวัน แต่หากนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพออาจส่งผลต่อการทำงานของสมองได้ เนื่องจากงานวิจัยพบว่าการนอนไม่พอ อาจส่งผลกระทบต่อสมองส่วนที่ใช้ในการคิดเหตุผลและการควบคุมอารมณ์

2. เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น

การนอนไม่พอส่งผลให้การเคลื่อนไหวร่างกายของเด็กแย่ลง นพ.คารล์ ฮันท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยโรคนอนหลับผิดปกติ แห่งสถาบันสาธารณสุขแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ข้อมูลว่า การบาดเจ็บเนื่องจากการปั่นจักรยาน หรืออุบัติเหตุในสนามเด็กเล่น และมีแนวโน้มจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กๆ นอนไม่พอ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุเพิ่มขึ้น หากเด็กๆ ยังคงมีนิสัยการนอนหลับที่ไม่มีคุณภาพ และอาจส่งผลไปจนกระทั่งตอนเป็นวัยรุ่นด้วย

3. ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

โกรทฮอร์โมนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้ร่างกายเจริญเติบโตในวัยเด็ก โดยระดับโกรทฮอร์โมนที่สูงที่สุดจะหลั่งออกมาในกระแสเลือดในช่วงหลับลึก ดังนั้น การนอนไม่พอจึงอาจทำให้การหลั่งของโกรทฮอร์โมนลดลง ซึ่งสามารถส่งผลต่อความสูงและการเจริญเติบโตของเด็ก

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/vic_b-6314823/

4. ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน

การนอนไม่พออาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากระหว่างนอนหลับ ร่างกายจะหลั่งสารอินเตอร์ลิวคิน-1 (interleukin-1) ออกมา ซึ่งเป็นสารประกอบที่กระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และการนอนไม่พอติดต่อกันหลายคืน สามารถรบกวนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของเด็กๆ ได้

5. อาจส่งผลต่อการฉีดวัคซีน

งานวิจัยที่เผยแพร่ในวารสาร Journal of American Medical Association เมื่อปี 2002 รายงานว่า การนอนไม่พอสามารถจำกัดประสิทธิภาพของการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในเด็ก

6. เพิ่มความเสี่ยงของโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

การนอนไม่พอมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคอ้วนและโรคเบาหวาน โดยทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยชิคาโกรายงานว่า การนอนหลับไม่เพียงพอเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมนที่ควบคุมความหิว และกระตุ้นความอยากอาหาร รวมถึงทำให้เลือกกินอาหารที่มีแคลอรี่และคาร์โบไฮเดรตสูง ดังนั้น การนอนหลับไม่เพียงพอในเด็ก อาจเป็นเหตุให้เด็กๆ กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์มากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนและโรคเบาหวาน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/ddimitrova-1155171/

วิธีช่วยให้เด็กๆ นอนหลับอย่างเพียงพอ

คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยให้ลูกนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอได้ ด้วยการให้ลูกเข้านอนตรงเวลาจนเป็นนิสัย ซึ่งกิจวัตรประจำวันง่ายๆ คือการอาบน้ำ อ่านหนังสือ และเข้านอน โดยควรทำให้เป็นกิจวัตรในทุกๆ วันรวมถึงช่วงวันเสาร์-อาทิตย์ด้วย

สร้างบรรยากาศในการนอน ด้วยห้องนอนที่มืด อากาศเย็นสบาย และเงียบสงบ สามารถช่วยให้ลูกๆ หลับได้เร็วขึ้น

คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้เด็กๆ ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนหรือน้ำตาลสูงในช่วงบ่ายของวัน เพราะอาจส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับได้

ก็จบกันไปแล้วนะคะ เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมการนอนน้อยในเด็ก มาถึงในส่วนท้ายนี้แล้วก็ DooDiDo หวังว่าคุณพ่อและคุณแม่จะสามารถหาวิธีการแก้ปัญหาได้นะคะ คุณพ่อคุณแม่สามารถที่จะเข้ามากำกับควบคุมเวลาการนอนที่เหมาะสมให้กับลูกในวัยเรียนได้อยู่นะคะ อาจจะใช้วิธีการหลอกล่อบางอย่าง แต่สำหรับเด้กวัยรุ่นนั้นอาจจะควบคุมยากไปสักหน่อย แค่สังเกตพฤติกรรมในบางส่วน อย่างเช่นอาการติดเกมส์ การดื่มกาแฟเป็นต้น ส่งนี้คุณพ่อและคุณแม่จะสามารถช่วยให้ปรับพฤติกรรมการนอนไม่พอของลูกได้เช่นกันคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.sanook.com