วิธีเช็คพัฒนาการตามแต่ละช่วงวัยของทารกว่าลูกมีพัฒนาการสมวัย

WM

หากลูกมีพัฒนาการที่ล้าช้า อาจเป็นสัญญาณเตือนความบกพร่องทางสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ

คุณพ่อคุณแม่ก็คอยดูแลเป็นอย่างดีเมื่อลูกน้อยได้ตลอดออกมาลืมตาดูโลกแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการดูแลสุขภาพ การดูแลในเรื่องต่างๆ ที่จะทำให้ลูกน้อยนั้นมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ และอีกสิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่หลายคนยังคงสงสัยนั่นก็คือ ลูกเราวัยนี้พัฒนาการที่ดีหรือไม่ เป็นไปตามวัยของพวกเขาหรือเปล่า และเราต้องทำอะไรได้บ้าง วันนี้เราจะพาคุณพ่อคุณแม่มาดูวิธีเช็คพัฒนาการทารกของแต่ละช่วงวัยกันค่ะ ว่ามีอะไรบ้าง

พัฒนาการตามวัยของเด็กทารกเป็นช่วงเวลาสำคัญที่จะเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่าลูกของเรามีพัฒนาการสมวัยหรือไม่ ทารกเปลี่ยนแปลงทางพัฒนาการทุกเดือน โดยพัฒนาการของทารกจะเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปตามช่วงเวลาของแต่ละคน คุณพ่อคุณแม่ควรเฝ้าติดตามพัฒนาการของลูกน้อยในทุก ๆ วัน เพราะหากลูกมีพัฒนาการที่ล้าช้า อาจเป็นสัญญาณเตือนความบกพร่องทางสติปัญญา ร่างกาย จิตใจ อาการเจ็บป่วยหรือโรคต่าง ๆ ได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/ritae-19628/

1.เขย่าของเล่นที่มีเสียง (ทารก 1-2 เดือน)
ทารกวัย 1-2 เดือนเป็นช่วงประสาทการมองเห็นและการฟังเริ่มพัฒนาการ ดวงตาเริ่มมองเห็นของที่อยู่ใกล้ชัดมากขึ้นแม้จะยังไม่เห็นเป็นสีสัน หูเริ่มฟังและหันตามเสียงที่ได้ยินให้คุณแม่ลองนำของเล่นที่สามารถเขย่าและมีเสียงได้มาเขย่าใกล้ๆใบหน้าทารก แล้วลองเลื่อนไปมาซ้ายขวาช้าๆ หากทารกมองตามหรือหันตามเสียงที่ได้ยินแสดงว่าพัฒนาการในช่วงวัยนี้ดีมากค่ะ

2.ฝึกทารกลองนอนคว่ำ (ทารก 3-4 เดือน)
ทารกช่วงวัยนี้ร่างกายเริ่มแข็งแรงและเคลื่อนไหวอวัยวะต่างๆได้แข็งแรงมากขึ้น ซึ่งกล้ามเนื้อมัดใหญ่อย่างกล้ามเนื้อคอและหลังสามารถทำงานได้ดีขึ้นเช่นกัน ให้คุณแม่ลองฝึกทารกนอนคว่ำและนำของเล่นที่ลูกชอบเล่นมาชูบริเวณหน้าให้ทารกมองตาม จากนั้นชูสูงขึ้นเรื่อยๆจนกว่าทารกสามารถชันคอได้ 90 องศา โดยใช้แขนยันพื้น หากทารกสามารถทำได้ในช่วงวัยนี้เป็นสัญญาณพัฒนาการที่ดีเลยค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/thedanw-1139990/

3.กระตุ้นการตอบโต้ด้วยเสียงและถือสิ่งของ (ทารก 5-6 เดือน)
สำหรับการออกเสียงอ้อแอ้จะเริ่มต้นตั้งแต่วัย 3-4 เดือนค่ะ แต่ช่วงวัย 5-6 เดือนนี้จะเริ่มออกเสียงที่แสดงถึงอารมณ์ของตัวเองได้ชัดเจนมากขึ้น เริ่มมีเสียงสูงต่ำและเริ่มหันตามเสียงที่เรียกหา หากคุณแม่ของเข้าไปคุยไปเล่นและทารกตอบโต้ด้วยน้ำเสียงแสดงอารมณ์ชัดเจน และเมื่อยื่นของให้เริ่มสามารถคว้าจับสิ่งของได้ด้วยมือเดียวและเปลี่ยนมือได้ แสดงว่าพัฒนาการช่วงวัยนี้เป็นไปตามเกณฑ์เลยค่ะ

4.ให้ทารกนั่งทรงตัว (ทารก 7-8 เดือน)
ทารกช่วงวัยนี้กล้ามเนื้อมัดใหญ่และมัดเล็กเริ่มทำงานได้แข็งแรงมากขึ้นโดยวัยนี้จะสามารถเริ่มพูดออกเสียงได้พยางค์เดียว โดยคุณแม่สามารถทดสอบลูกได้ด้วยการพูด 1 คำแล้วให้ลูกลองออกเสียงตามค่ะอีกทั้งการทดสอบกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้ลองจับทารกนั่งกับพื้นคล้ายท่าขัดสมาธิ โดยมีคุณแม่อยู่ด้านหลังกันลูกล้มหงายหลัง หากทารกสามารถนั่งได้นานทรงตัวเองได้โดยไม่ยันพื้น แสดงว่ากล้ามเนื้อกำลังทำงานได้แข็งแรงเลยทีเดียวค่ะ

5.ใช้สิ่งของล่อการคลาน (ทารก 9-10 เดือน)
ทารกช่วงวัยนี้สามารถมองเห็นสิ่งของได้ในระยะที่ไกลมากขึ้นอีกทั้งกล้ามเนื้อมัดเล็กและใหญ่ทำงานแข็งแรงขึ้น ช่วงทารกทานข้าวคุณแม่สามารถทดสอบการทำงานกล้ามเนื้อมัดเล็กของลูกได้ด้วยการให้ทารกใช้นิ้วมือหยิบเศษข้าวอุ่นๆนำเข้าปากรับประทานเอง และสำหรับกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้ใช้ของเล่นที่ทารกชอบเล่นนำมาวางใกลตัวทารก หากทารกสามารถคลานมายังของเล่นได้แสดงว่ากล้ามเนื้อแข็งแรงและพร้อมจะฝึกการยืนค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/publicdomainpictures-14/

6.ทดสอบความเข้าใจคำสั่งและการตั้งไข่ (ทารก 11-12 เดือน)
ทารกช่วงวัยนี้จะเริ่มพูดออกเสียงได้ชัดเจนและจดจำคำศัพท์ได้มากขึ้น หากทารกสามารถเข้าใจบางคำสั่งที่ใช้บ่อยๆได้ เช่น เข้าใจการห้ามทำ เข้าใจคำสั่งหยุด แสดงว่าทารกมีพัฒนาการจดจำคำศัพท์ที่ดีมากค่ะ ส่วนการทดสอบการฝึกกล้ามเนื้อมัดใหญ่ให้ลองจับทารกยืนขึ้นช้า โดยให้เท้าทั้งสองข้างวางมั่นคงกับพื้น หากทารกสามารถยืนได้นานในระยะหนึ่งไม่ล้มลงไปทันที หรือสามารถก้าวขาได้เล็กน้อยแสดงว่ากล้ามเนื้อพัฒนาการแข็งแรงและพร้อมเข้าสู่วัย 1 ขวบเลยค่ะ

หากลูกน้อยไม่สามารถทำได้ตามเกณฑ์เหล่านี้คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งกังวลใจไปค่ะ เพราะทารกแต่ละคนมีการเจริญเติบโตของร่างกายที่แตกต่างกัน หากไม่สามารถทำได้ในช่วงวัยนี้อาจทำได้ช่วงวัยถัดไปได้นั่นเองค่ะ ที่ DooDiDo นำมาฝากในวันนี้ เป็นวิธีเช็คพัฒตาการตามแต่ละช่วงวัยที่เด็ก ๆ จะมีค่ะ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่สามารถนำวิธีเหล่านี้ไปเช็คดูว่าลูกน้อยของเรานั้นสามารถทำตามได้หรือไม่ ต้องบอกไว้ก่อนว่านี่เป็นวิธีการเช็คพัฒนาการของลูกน้อยแบบเบื้องต้นง่าย ๆ นะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.babyeverything.net, www.punnita.com