วิธีการรับมือกับอาการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนช่วงเข้าสู่“วัยทอง”

WM

รู้ทัน!! อาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยทอง
เมื่อพูดถึงสุภาพสตรีที่อายุระหว่าง 45 – 50 ปี คือช่วงเวลาที่อยู่ในวัยทอง นั่นหมายถึงภาวะการหมดประจำเดือนหรือระดู เนื่องจากรังไข่หยุดการผลิตฮอร์โมน และไม่สามารถมีบุตรได้อีกต่อไป สตรีหลายๆ คนมักมีอาการของวัยทองที่ส่งผลทั้งทางด้านอารมณ์ และร่างกาย เมื่อเข้าสู่วัยทองจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง และอาจเกิดอาการต่างๆ ได้

โดยธรรมชาติของมนุษย์เราทุกคนทั้งหญิงและชายต่างถูกสร้างมาเพื่อให้แป็นวัยเจริญพันธุ์ในแบบที่สมบูรณ์ที่สุดในระยะเวลาหนึ่ง แล้วเมื่อผ่านมาอีกระยะจะต้องเสื่อมสภาพลงตามกาลเวลา โดยที่ทุกๆ คนในโลกจะต้องประสบกับปัญหานี้อย่างแน่นอน คืออาการวัยทอง ที่จะเกิดผลกระทบกับคนรอบข้าง อย่างคนในครอบครัว คนใกล้ตัว เช่น สามี ภรรยา และลูกๆ การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายจากการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ผู้หญิงบางคนอาจไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือเพียงระยะเวลาสั้นๆ ในขณะที่บางคนอาจมีอาการรุนแรง กระทั่งรบกวนวิถีชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนต่างๆ ในวัยทองอาจทำให้เกิดอาการต่างๆ ที่สำคัญได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/silviarita-3142410/

1. การมาของประจำเดือนเปลี่ยนไป ลักษณะของประจำเดือนในผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยทองจะแตกต่างกันออกไป บางรายประจำเดือนอาจขาดและหายไปเลย ในขณะที่บางรายจะค่อยๆ น้อย และหมดลงถือว่าปกติ แต่เมื่อใดก็ตามที่มีเลือดออกนานขึ้น (เกิน 7 วัน) หรือออกกระปริดกระปรอยผิดปกติ ต้องตรวจหาสาเหตุให้ละเอียดและต้องคำนึงถึงโรคมะเร็งไว้ก่อน จนกว่าจะแน่ใจว่าไม่ใช่สตรีวัยทอง
2. ร้อนวูบวาบ และเหงื่อออกในตอนกลางคืน เป็นการเปลี่ยนแปลงของระบบประสาทอัตโนมัติ ได้แก่ มีอาการร้อนวูบวาบ มักเป็นความรู้สึกที่แผ่จากบริเวณหน้าอกขึ้นไปที่ลำคอและใบหน้า มักเกิดร่วมกับอาการเหงื่อออก และตามมาด้วยอาการหนาวสั่น อาการเหล่านี้อาจรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันหากเกิดในตอนกลางคืนอาจรบกวนการนอนหลับ
3. หงุดหงิดง่าย การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลต่ออารมณ์และจิตใจ อาจทำให้มีอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน ขาดสมาธิ ปวดศีรษะ เหนื่อยล้า และซึมเศร้า4. ช่องคลอดแห้ง ผลต่ออวัยวะสืบพันธุ์ในสตรีอาการที่พบคือ ช่องคลอดแห้ง การขาดฮอร์โมนเอสโตรเจนทำให้เนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อรอบๆ ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะมีการฝ่อลีบ และหย่อนตัว เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนขณะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะเล็ดขณะไอ จาม หรือหัวเราะ รวมทั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อที่กระเพาะปัสสาวะได้ง่าย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/whitesession-4645995/

5. กระดูกพรุนเปราะง่าย โดยปกติร่างกายจะมีการสร้างกระดูกใหม่และสลายกระดูกเก่าอยู่ตลอดเวลา โดยในวัยเด็กและวัยรุ่นการสร้างกระดูกจะเกิดขึ้นมากกว่าสลายกระดูก จากการศึกษาในประเทศไทยพบความหนาแน่นของเนื้อเยื่อกระดูกของสตรีไทยจะสูงสุดที่อายุ 30-34 ปี ความหนาแน่นของเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างช้าๆ
6. อาจมีภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ผลต่อไขมันและระบบหลอดเลือด การลดลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนมีผลทำให้ระดับไขมัน Cholesterol และไขมันเลว LDL เพิ่มสูงขึ้น ส่วนไขมัน HDL จะลดต่ำลง ทำให้เกิดการสร้างลิ่มเลือดไปเกาะที่ผนังหลอดเลือดได้มากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้
7. หลงลืมง่าย เมื่อเข้าสู่วัยทองอาจมีอาการหลงลืมง่าย ความสามารถในการจำชื่อคน หรือข้อมูลสำคัญลดลง โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer disease) เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของเซลล์สมอง และพบเป็นสาเหตุของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุถึงร้อยละ 70 โรคนี้มีอัตราเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วภายหลังอายุ 65 ปี และพบในหญิงมากกว่าชาย เป็นมากในคนที่ไม่ค่อยใช้สมองคิดบ่อยๆ สตรีวัยทองไม่ควรปล่อยสมองให้อยู่นิ่ง ควรมีกิจกรรมให้สมองได้ทำงานบ่อยๆ เช่นการคิดเลข ต่อจิ๊กซอว์ เป็นต้น

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/free-photos-242387/

8. ภาวะนอนไม่หลับ บางรายอาจรู้สึกนอนไม่หลับเลยจนสว่าง หรือบางรายอาจนอนหลับๆ ตื่นๆ หลายรอบในแต่ละคืน ซึ่งอาการทั้งหมดจะให้ทำสมองไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ จึงส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมอย่างมากและส่งผลให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมาได้

ผู้หญิงที่อยู่ในวัยทองหรือหญิงวัยหมดระดู เป็นช่วงวัยสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ที่มีผลจากการลดลงของฮอร์โมนเพศ จึงทำให้มีปัญหาสุขภาพที่แตกต่างจากวัยอื่น ผลการสำรวจภาวะสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพในผู้หญิงไทย อายุ 45-59 ปี พบว่า หญิงวัยทองร้อยละ 48 มีโรคประจำตัว โดย 3 อันดับแรกที่พบมาก ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคเกี่ยวกับกระดูกและข้อ และร้อยละ 28 ของหญิงวัยทองมีความเสี่ยงสูงต่ออาการหญิงวัยทอง ดังนั้น DooDiDo แนะนำว่าเมื่อมีอาการอย่าลืมสังเกตุตัวเองและเตรียมพร้อมรับมือนะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา:www.paolohospital.com