วัยรุ่น กับความเสี่ยงเป็นโรค “Atelophobia” กลัวตัวเองดีไม่พอ

รู้จักโรค Atelophobia โรคกลัวตัวเองดีไม่พอในวัยรุ่น


ดีจ้าวัยรุ่นทั้งหลาย ทุกคนต่างรู้ดีกันอยู่แล้วว่า ในปัจจุบันการแข่งขันนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ นั่นทำให้เราต่างต้องพยายามพัฒนาและเอาชนะคนอื่นอยู่เสมอ และสิ่งนี้เองทำให้หลายคนกดดันตัวเองและอยากทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ รู้สึกว่าตัวเองจะล้มเหลวไม่ได้ ทุกอย่างต้องดี และเมื่อเราคาดหวังกับความสมบูรณ์แบบ แต่สิ่งที่ได้กลับมามันไม่ใช่ เราจะเริ่มรู้สึกว่าตัวเองทำได้ไม่ดีพอ และคอยโทษตัวเอง ซึ่งอาการนี้เรียกว่า ‘Atelophobia’

Atelophobia เป็นอาการของความกลัวว่า เราจะทำอะไรผิดพลาดไปหรือเปล่า ซึ่งทำให้จิตตก หมกมุ่น และไม่สามารถทำอะไรได้เลย ผู้มีภาวะนี้มักหมกมุ่น หรือหวนคิดถึงความผิดพลาดในอดีตซ้ำๆ เรื่อยๆ จนเป็นอันไม่ทำอะไร และนั่นยิ่งทำให้ระดับความวิตกกังวลรุนแรงขึ้นจนส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้นั่นเอง ซึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าเรามีความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ก็คือ จะมีอาการหายใจสั้นและถี่ มึนหัว คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ตกใจง่าย รวมถึงใจเต้นเร็วและแรงด้วย ลองถามตัวเองดูว่ากลัวข้อบกพร่องของตัวเองบ้างรึเปล่า หรือกำลังหลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่างๆ ที่ทำให้มีเอฟเฟคต่อตัวเอง หรือคุณกำลังมีมาตรฐานที่สูงจนเกินไปอยู่ บางอย่างที่มันดีอยู่แล้ว คุณพยายามทำให้มันดีขึ้นไปเรื่อยๆ แก้เรื่อยๆ ทั้งที่จริงๆ มันไม่จำเป็น

Atelophobia
ภาพโดย Hans Kretzmann จาก Pixabay

แน่นอนว่าความสมบูรณ์แบบเป็นสิ่งที่ใครๆ ก็อยากมีกันทั้งนั้น แต่หากคาดหวังความสมบูรณ์แบบมากจนเกินไป จนทำให้เกิดความวิตกกังวล กลัวว่าสิ่งที่เป็น สิ่งที่ทำอยู่ยังดีไม่พอ กระทั่งนำมาซึ่งความหดหู่ โทษตัวเอง ผิดหวัง และอาจพัฒนาเป็นโรคซึมเศร้าได้ นั่นอาจเป็นความกังวลและความกลัวที่ไม่ปกติแล้วล่ะ

ทั้งนี้อาจอธิบายโรค Atelophobia ให้เห็นภาพง่ายขึ้น เช่น ศิลปินวาดภาพใดภาพหนึ่งไม่เสร็จสักที เพราะวาดแล้วลบ ลบแล้ววาดใหม่ เนื่องจากเห็นว่างานยังไม่เพอร์เฟกต์ ไม่เป็นที่พอใจ และเขาจะจมอยู่กับงานเขียนนั้นอย่างไม่รู้จักจบสิ้น เป็นต้น

สำหรับแนวทางการรักษา SA Game แนะนำว่าให้ไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักจิตวิทยา หรือนักบำบัดเพื่อวางแผนการรักษา โดยอาจใช้หลายแนวทางควบคู่กันไปทั้งจิตบำบัด, การทานยา, การบำบัดแบบกลุ่ม และการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ส่วนใครที่กำลังเผชิญกับโรคนี้ ในปัจจุบันมีการบำบัดที่เรียกว่าการปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม (CBT) ซึ่งนับเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการรักษา

สำหรับน้องๆ คนไหนอยากจะศึกษาโรคนี้ให้มากขึ้น ลองฟัง TEDx Talks ตามด้านบนที่ DooDiDo ได้นำมาแบ่งปันไว้ให้ นอกจากจะได้ความรู้แล้ว ยังได้คำศัพท์อีกด้วยนะ สำหรับใครที่ไม่อยากพลาดสาระดีๆ แบบนี้ อย่าลืมติดตามเว็บไซต์ของเรา

แหล่งที่มา : www.dek-d.com, health.kapook.com