ลูกซนมากทำไงดี คำถามยอดฮิตของคุณแม่ที่มีลูกวัย 2-5 ปี

WM

เด็กวัย 2 ขวบขึ้นไป สามารถวิ่งได้แล้ว จึงไม่แปลกที่ลูกจะอยู่ไม่นิ่ง

ลูกซน ทำไงดี? หนึ่งในคำถามยอดฮิตของคุณแม่ที่มีลูกวัย 2-5 ปี ที่เหน็ดเหนื่อยกับการรับมือลูกวัยซน ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีให้ลูกอยู่นิ่งๆจริงๆ แล้วความซนเป็นธรรมชาติของเด็กเพราะเด็กซนเขาบอกว่าเป็นเด็กฉลาด เพราะ ความอยากรู้อยากลอง คือพัฒนาการอย่างหนึ่งของเด็กวัยนี้ที่คุณแม่ต้องทำความเข้าใจ เพราะเด็กวัย 2 ขวบขึ้นไป สามารถวิ่งได้แล้ว จึงไม่แปลกที่ลูกจะอยู่ไม่นิ่ง วิ่งไปทั่ว ปีนได้ปีน จนไล่จับกันไม่ไหว เหนื่อยทั้งกาย เหนื่อยทั้งใจ กลัวลูกจะเป็นอันตรายได้รับบาดเจ็บ 

เด็กวัยนี้อยากที่จะทดสอบความเป็นตัวของตัวเอง ว่าสามารถทำอะไรได้แค่ไหน ถ้าแม่ไม่ห้าม หรือห้ามแล้วเขาไม่ฟังล่ะ แม่จะทำยังไงต่อไป ถ้าแม่ปล่อย เขาก็จะเรียนรู้ว่า สิ่งนี้ทำได้ ดังนั้น หากคุณแม่เห็นว่าสิ่งไหนที่เป็นอันตราย ควรคุยกับลูกด้วยน้ำเสียงจริงจัง บอกเหตุผล โดยไม่ดุหรือตำหนิลูก ลูกจะเรียนรู้ว่า สิ่งนั้นทำไม่ได้จริงๆ 

อย่างไรก็ดี สิ่งที่เป็นอันตรายก็มีอยู่ไม่น้อยรอบตัวลูก การห้ามลูกบ่อยๆ อาจส่งผลทำให้ลูกรู้สึกไม่ไว้ใจโลก รู้สึกว่าโลกนี้ไม่ปลอดภัย กลายเป็นเด็กขี้กลัว ไม่มั่นใจในตัวเอง คุณแม่จึงควรจัดสภาพแวดล้อมภายในบ้าน ให้ปลอดภัยไว้ก่อน เพื่อให้ลูกน้อยสามารถสำรวจโลกได้อย่างปลอดภัย และไม่ต้องคอยห้าม คอยเตือนให้ลูกเสียความมั่นใจ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/hulkiokantabak-11002754/

แม่รู้ไหม อันตรายในบ้านที่พบบ่อยมีอะไรบ้าง?

อันตรายในบ้านที่มักเกิดขึ้นกับลูกน้อยที่คุณแม่ต้องรู้ทันและรีบป้องกันก่อนสาย ได้แก่

  1. ล้มฟาดมุมโต๊ะ หรือขอบโต๊ะ

เมื่อลูกวิ่งเล่น กระโดดไปทั่วบ้าน อาจวิ่งชน หรือสะดุดล้มกระแทบกับมุม หรือขอบโต๊ะ จนหัวแตก คิ้วแตกได้ แม้นักรบย่อมมีบาดแผล แต่สามารถป้องกันได้ สำหรับบ้านที่มีเด็ก ควรเลือกเฟอร์นิเจอที่ไม่มีเหลี่ยมมุม เพื่อป้องกันลูกล้มชนขอบ แต่หากของมีอยู่แล้วก่อนที่จะมีลูก คุณแม่สามารถหาซื้อยางปิดมุมโต๊ะกันกระแทกมาปิดไว้ เพื่อความอุ่นใจ ถึงลูกจะล้มก็ยังมีขอบนิ่มๆ ไม่ทำให้บาดเจ็บ

  1. ถูกไฟช็อต เพราะปลั๊กไฟ  

ข่าวเด็กถูกไฟช็อตมีออกมาให้เห็นอยู่ตลอด ทั้งลูกเอานิ้วแหย่ปลั๊กไฟ เอาตะปูแหย่ปลั๊กไฟ แอบไปเสียบสายชาร์จ หรือแม้แต่สร้อยข้อมือทองของลูกหล่นเข้าไปในรูปลั๊กทำให้ลูกถูกไฟช็อต คุณแม่สามารถใช้ที่อุดปลั๊กไฟมาปิดรูปลั๊กไว้ เพื่อป้องกันลูกน้อยแหย่ปลั๊กไฟเล่นจนเป็นอันตราย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/hutchrock-2563315/
  1. ถูกของร้อน น้ำร้อนลวก

อันตรายจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบบ่อย ได้แก่ เตารีด และกระติกน้ำร้อน คุณแม่ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ทั้งตัวเครื่อง รวมถึงเก็บสายไฟขึ้นให้พ้นมือลูกด้วยเช่นกัน เพราะบ่อยครั้งที่เกิดอุบัติเหตุจากการที่ลูกดึงสายไฟแล้วกระติกน้ำร้อน หรือเตารีดตกลงมาใส่ลูกได้รับบาดเจ็บ

  1. ตู้เสื้อผ้า ตู้ลิ้นชักล้มทับลูก

อีกหนึ่งอุบัติเหตุของลูกวัยปีนป่ายที่คุณพ่อคุณแม่ต้องระวัง ลูกปีนตู้ลิ้นชักแล้วตู้ล้มลงมาทับเสียชีวิต หากที่บ้านมีตู้ใบใหญ่และหนัก ควรใช้ตะขอยึดตู้ติดกับผนังไว้เพื่อป้องกันอุบัติเหตุตู้ล้มทับเด็ก

  1. จมน้ำ

เด็กจมน้ำเป็นอุบัติเหตุที่พบได้บ่อย โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีบ้านอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ถังน้ำที่แต่ละบ้านใช้รองน้ำเก็บไว้ กะละมัง หรือแม้แต่ชักโครกที่เปิดฝาไว้ ก็สามารถพรากชีวิตลูกได้ หากปล่อยให้คลาดสายตา ดังนั้น อย่าปล่อยให้เด็กเล่นน้ำในกะละมัง หรืออยู่ใกล้น้ำตามลำพัง แม้จะเป็นแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เช่น ไปรับโทรศัพท์ หรือมีคนมาเรียก ก็ควรอุ้มพาออกไปด้วยทุกครั้ง สำหรับน้ำในถังหรือในกะละมัง หากใช้เสร็จแล้ว ควรเททิ้งและคว่ำถัง คว่ำกะละมังไว้

  1. พลัดตกจากที่สูง

สำหรับครอบครัวที่พักอาศัยอยู่ในคอนโด หรืออพาร์ทเมนต์ ต้องระวังลูกพลัดตกจากที่สูง โดยอุบัติเหตุมักเกิดขณะที่ลูกหลับอยู่ในห้อง แล้วคุณแม่ออกไปทำธุระข้างนอกและปล่อยให้ลูกอยู่คนเดียว เมื่อตื่นมาไม่เจอใคร ลูกอาจปีนระเบียง ปีนเตียง หรือปีนโต๊ะที่ตั้งอยู่ติดหน้าต่าง จนพลัดตกลงมาได้ เพื่อความปลอดภัยระเบียงต้องมีช่องห่างไม่มากพอที่เด็กจะรอดได้ หน้าต่างต้องอยู่สูงพอที่เด็กจะปีนป่ายเองไม่ได้ และไม่ควรวางเฟอร์นิเจอร์ชิดหน้าต่าง ควรติดตั้งลูกกรง เพื่อป้องกันการปีนป่ายและพลัดตก แต่ทางที่ดีที่สุดคือ ไม่ควรปล่อยลูกไว้ตามลำพังแม้ลูกจะหลับอยู่ก็ตาม

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/dayronv-1243797/
  1. เอาของใส่ปาก ใส่จมูก

คุณแม่ควรระวังชิ้นส่วนเล็กๆ ที่ลูกอาจหยิบใส่ปากและกลืนลงไปได้ เช่น เหรียญ กระดุม ชิ้นส่วนของเล่น  เมล็ดถั่ว อาจเข้าไปติดหลอดลม ทำให้หายใจไม่ออก ถึงขั้นเสียชีวิตได้หากปฐมพยาบาลไม่ทัน นอกจากนี้ยังมีหลายเคสที่เด็กกลืนถ่านกระดุมลงไปในหลอดอาหาร เกิดเป็นกรดกัดกร่อนจนกระเพาะหรือหลอดอาหารทะลุ รวมไปถึงการนำสิ่งแปลกปลอมใส่จมูก เช่น เมล็ดน้อยหน่า ลำไย แตงโม ส้มโอ เมล็ดถั่ว ลูกปัด กระดุม หนังสติ๊ก เป็นต้น สิ่งเล็กๆ ที่คาดไม่ถึงเหล่านี้ก็ควรเก็บให้พ้นมือเด็ก ไม่ควรให้ลูกเล่น และสอนให้ลูกรู้ว่า ไม่ควรเอาสิ่งที่ไม่ใช่อาหารเข้าปาก และไม่ควรเอาอะไรก็ตามใส่เข้าไปในรูจมูกเมื่อคุณแม่มั่นใจว่าสภาพแวดล้อมปลอดภัยแล้ว ก็สามารถปล่อยให้ลูกวัยซนเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ ปล่อยให้ลูกได้เจอปัญหาและผลลัพธ์ของการเล่นซุกซนบ้าง ลูกจะได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของตัวเองและต่อไปเขาจะระมัดระวังมากขึ้นเอง

หนังสือนิทาน ปิงปิงไม่ซนอีกแล้วสอนลูกให้เรียนรู้ผลของการซุกซนด้วยตัวเอง ให้นิทานช่วยสอนอีกแรง เพราะหนังสือนิทานเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ดีในการสื่อสารกับลูกให้รู้จักระมัดระวังภัย เป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสื่อสารกับลูกผ่านตัวละคร ปิงปิงที่เล่นซุกซน เข้าไปแอบในเครื่องซักผ้า จนตัวติดออกมาไม่ได้

เมื่ออ่านนิทานแล้ว DooDiDo แนะนำให้คุณแม่ชวนลูกคุยถามคำถามให้ลูกคิดว่าสิ่งที่ปิงปิงทำนั้นดีหรือไม่ ถ้าเป็นลูกจะทำแบบนั้นไหม หรือหากลูกติดอยู่แบบปิงปิง ลูกจะทำอย่างไร ยังมีที่ไหนอีกบ้างที่ลูกไม่ควรเข้าไปเล่น ก็จะเป็นการเปิดโอกาสให้ลูกได้คิดต่อยอดเชื่อมโยงมาสู่ตัวของลูก และหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นการฝึกทักษะสมอง EF ให้ลูกมีติดตัวไปใช้ในอนาคต เมื่อเกิดเหตุการณ์คล้ายกัน ลูกจะสามารถคิดเชื่อมโยง และตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง สามารถดูแลตัวเองให้ปลอดภัยได้

ขอบคุณแหล่งข้อมูล: www.passeducation.com