รู้ทัน!! 3 วิธีรับมือกับโรคแพนิค ที่จะทำให้คุณลดอาการจากความกลัวได้

SA Game

วิธีที่จะช่วยให้คุณลดความกลัว ลดจากอาการ “แพนิค”

โรคแพนิค (Panic Disoder) ที่หลายๆ คนได้ยินกันอยู่บ่อยๆ คือ  ภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลหรือหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งโรคนี้แตกต่างจากอาการหวาดกลัวหรือกังวลทั่วไปผู้ป่วยโรคแพนิคจะรู้สึกหวาดกลัวหรือตื่นตระหนกอย่างไม่มีสาเหตุ ซึ่งเรียกว่าอาการแพนิค โดยอาการนี้จะเกิดขึ้นกะทันหัน รวมทั้งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา

แพนิคเป็นอาการที่รุนแรงกว่าความรู้สึกเครียดทั่วไปเนื่องจากไม่สามารถควบคุมตัวเองหรือดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โรคแพนิค เป็นโรคที่เกิดจากฮอร์โมนลดหรือเปลี่ยนแปลงกระทันหัน ทำให้ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ระบบประสาทที่ควบคุมการทำงานของร่างกายในหลายๆ ส่วน จึงทำให้เกิดอาการหลายอย่างร่วมกัน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาทั้งจากทางร่างกาย เช่น กรรมพันธุ์ การใช้สารเสพติด หรือความผิดปกติของฮอร์โมน วันนี้เราจึงมี 3 วิธีที่จะเป็นตัวช่วยให้ผู้ป่วยได้คลายจากความกลัว ลดอาการแพนิคลงไปได้ ตามมาดูกันเลยค่ะ

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/free-photos-242387/

3 วิธีลดความกลัว ลดแพนิค

ด้วยหลักการทําจิตบําบัดแบบ CBT (Cognitive Behavioural Therapy) เทคนิคในการลดความวิตกกังวล ด้วยหลักการทําจิตบําบัดแบบ CBT (Cognitive Behavioural Therapy) เป็นหนึ่งในแนวทางการบําบัดมาตรฐานที่จิตแพทย์นำมาใช้ ให้คําปรึกษากับผู้ที่มารับบริการ ในมุมมองของ CBT มองว่าจะมีตัวแปรอยู่ 3 ประการ ที่ทําให้ตอบสนองต่อความเครียดแตกต่างกันออกไป โดยทั้ง 3 อย่างนี้ประกอบไปด้วย

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/free-photos-242387/

1. ความรู้สึก (feeling)

การปรับความรู้สึก เคยไหมในเวลาที่เศร้ามากๆ หรือ โกรธมากๆ รู้สึกไม่ไหวแล้ว จนคล้ายๆ อยากจะตะโกนออกมา คนส่วนใหญ่มักจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยการเก็บกดความรู้สึกเอาไว้ (Suppression) อาจเป็นเพราะอายหรือเพราะบริบททางสังคม เทคนิคนี้ “ทำได้ แต่อย่าทำบ่อย” เพราะการเก็บกดอารมณ์ความรู้สึกเอาไว้ข้างใน จะทำให้เกิดก้อนความเครียดก่อตัวขึ้นมาอยู่ภายในใจ พอสะสมไปเรื่อยๆ สุดท้ายอาจจะทำให้เกิดการระเบิดอารมณ์แบบรุนแรงขึ้น เกิดเป็นแพนิก หรือซึมเศร้าขึ้นได้

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/thedigitalartist-202249/

2. ความคิด/กระบวนการคิด(Cognition)

การปรับความคิด หรือกระบวนการคิด คนทั่วไปมักคิดว่า ควรคิดเชิงบวก (Positive Thinking) มักจะแนะนำว่าให้ฝึกคิดบวกเข้าไว้และจะดีเอง หรือต้องคิดบวกจะได้เป็นการเหนี่ยวนำพลังบวกเข้ามาในชีวิต ซึ่งที่จริงแล้วในภาวะฉุกเฉินหรืออันตรายนั้น คิดบวกได้ยากมากๆ ความคิดเชิงบวกมักจะมาตอนที่อยู่ในภาวะที่มั่นคงและปลอดภัยมากกว่า ฉะนั้น ในภาวะที่ตึงเครียดไม่จำเป็นต้องคิดบวกขนาดนั้น ขอแค่คิดแบบกลางๆ มีสติ พยายามกรองความคิดด้านลบให้ลดน้อยลง แค่นี้ก็เพียงพอแล้ว

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/nastya_gepp-3773230/

3. พฤติกรรม (Behavior)

การปรับพฤติกรรม เป็นจุดที่คนทั่วไปมองข้าม เป็นเรื่องที่ไม่อยากทำ คนเราเวลามีเรื่องเครียดมักจะยอมเสียเวลาเป็นวันๆ เพื่อไปนั่งปรับความคิดหรือปรับอารมณ์ให้เป็นบวก หรือบางคนใช้เวลาเป็นสัปดาห์เป็นเดือนหรือเป็นปีจนกว่าจะทำใจยอมรับความทุกข์ก้อนใดก้อนหนึ่งได้ ความทุกข์ช่างมีราคาสูงเสียเหลือเกินในแนวคิดของการปรับพฤติกรรม เราเชื่อว่ากิจกรรมที่เราทำและสิ่งแวดล้อมที่เราอยู่ จะส่งผลอย่างมากต่ออารมณ์และความคิดของเรา

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/free-photos-242387/

ดังนั้น ถ้ากำลังมีความทุกข์ใจหรือเครียดเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่และอยากให้ผ่านไปเร็วๆ ต้องปรับกิจกรรม ปรับวิธีการใช้ชีวิตในแต่ละวันอย่างจริงจัง เช่น ถ้ารู้ตัวว่ารับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องที่สะเทือนใจมากเกินไป จนทำให้เกิดความกลัว ความเครียด ก็ต้องพยายามอย่าทำซํ้าแบบเดิม ลดความถี่ของการเสพข่าวลง แต่คอยเติม คอยหากิจกรรมอะไรใหม่ๆ ที่ไม่เคยทำมาก่อนมาลองทำแทนพฤติกรรมเดิมแล้วความกังวลจะค่อยๆ ลดลงไป ช่วยให้หัวใจได้กลับมา

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/free-photos-242387/

ปรับลดเป้าหมายให้ทำได้ง่ายขึ้น

ทั้งนี้ โดยธรรมชาติของคนที่ทุกข์ใจจะรู้สึกว่า ตัวเองมีพลังงานน้อย เฉื่อย ไม่อยากจะทำอะไรอยากอยู่เฉยๆ ไม่อยากเปลี่ยนแปลงอะไร ท้อแท้ ตรงนี้แก้ได้ โดยการที่ต้องลดทอน หรือยอมหั่นเป้าหมายในใจให้เล็กลง จนอยู่ในระดับที่ทำได้ง่ายมากๆ เช่น จากเดิมที่เคยคิดว่าจะวิ่งออกกำลังกายสัก 45 นาทีต่อครั้ง ก็ปรับเป้าหมายใหม่เป็นทำแค่สัก 10 นาทีก่อน ตั้งเป้าเล็กๆ ไว้เอาแค่จูงใจให้เริ่มลงมือทำ พอทำขั้นแรกได้สำเร็จแล้ว ลึกๆ จะเริ่มรู้สึกดีที่อย่างน้อยก็ทำอะไรสำเร็จได้บ้าง

โดยต้องระวังอย่าพึ่งไปเปรียบเทียบกับเป้าในสมัยก่อนหรือเป้าของคนอื่น ในเรื่องของการปรับพฤติกรรมหากได้รับแรงสนับสนุนจากเพื่อนฝูงและครอบครัวด้วยจะยิ่งทำให้การปรับพฤติกรรมทำได้สำเร็จมากขึ้น สนุกขึ้น คลายจากความทุกข์ได้เร็วขึ้นด้วย

จากข้อมูลที่ DooDiDo ได้นำเสนอไปจะเห็นได้ว่า โรคแพนิคเป็นปัญหาสุขภาพทางจิตที่ป้องกันให้เกิดขึ้นได้ยาก ผู้ที่เกิดอาการแพนิคหรือป่วยเป็นโรคนี้สามารถดูแลตัวเองเพื่อไม่ให้เกิดความเครียดมากขึ้น และเกิดอาการแพนิคน้อยลงได้ ควรพยายามตั้งสติและเตรียมรับมือด้วย 3 วิธีข้างต้นนี้นะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://health.campus-star.com