รู้ทัน!! ปัญหาสุขภาพจิต และวิธีรับมือกับโรคแพนิค

WM

มารู้จักกับ Panic Disoder โรคที่รู้สึกกลัวจนไม่สามารถควบคุมตัวเองได้!!

ปัจจุบันยอดผู้ติดเชื้อในแต่ละวัน COVID-19 ระบาด เริ่มรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เพิ่มขึ้นจนส่งผลให้ใครหลายๆ คนเกิดอาการตื่นตระหนกกับสิ่งที่มันกำลังเป็นอยู่ตอนนี้ หลายคนถึงขั้นเกิดภาวะ Panic กันยกใหญ่อาจจะยังไม่เข้าใจว่า โรคแพนิคคืออะไร วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความเข้าใจพร้อมกับแชร์ 7 วิธีรับมือกับโรคนี้ให้กับเพื่อนๆ ได้นำไปปรับใช้กันด้วย เผื่อว่าคุณอาจจะกำลังเป็นหรือมีคนใกล้ตัวเป็นเพื่อจะได้รับมือกันให้ได้ค่ะ

ผู้ที่มี “อาการแพนิค” (Panic attacks) ไม่ได้แปลว่าจะต้องเป็นโรคแพนิค (Panic disorder) เสมอไป หากมีอาการแพนิคเพียงครั้งเดียวแล้วไม่ได้เกิดผลอะไรตามมาก็ไม่นับว่าเป็นโรคแพนิค (เช่น เครื่องบินสั่นมากตอนเจอสภาพอากาศที่ไม่ดี แล้วเกิดอาการขึ้นมา) เพราะในโรคแพนิคนั้น ผู้ป่วยจะมีอาการกำเริบซ้ำหลายครั้ง จนเกิดความกังวลว่าจะมีอาการนี้ขึ้นมาอีก กลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ กลัวว่าจะเสียชีวิตกลัวว่าจะควบคุมตัวเองไม่ได้ หรือกลัวว่าจะเป็นบ้า และอาจส่งผลทำให้ต้องเลี่ยงสถานการณ์บางอย่าง เช่น ไม่กล้าออกจากบ้าน ไม่กล้าขับรถ เป็นต้น กล่าวโดยสรุปก็คือ ผู้ป่วยจะมีอาการกำเริบซ้ำๆ ประกอบกับมีความกลัวต่อเนื่องซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จึงจะถือว่าเป็นโรคแพนิค (Panic disorder)

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/victoria_borodinova-6314823/

โรคแพนิค (Panic Disoder) คืออะไร

เรามาทำความรู้จักโรคนี้กันหน่อย โรคแพนิค (Panic Disoder) คือ ภาวะตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่มีเหตุผลหรือหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งโรคนี้จะแตกต่างจากอาการหวาดกลัวปกติทั่วๆ ไปนะ คือผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ จะเกิดอาการแพนิคหรือหวาดกลัวอย่างรุนแรง ทั้งๆ ที่ตัวเองอาจจะไม่ได้เผชิญหน้าหรือตกอยู่ในสถานการณ์อันตราย อาการแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา จนทำให้ผู้ที่ป่วยเป็นโรคนี้รู้สึกกลัว ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ แม้โรคนี้จะดูน่ากลัว แต่ก็ไม่ได้อันตรายมาก คือถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างจริงจังและต่อเนื่องก็จะสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นปกติสุข

สาเหตุและอาการของโรคแพนิค

คราวนี้เรามาดูที่ สาเหตุของโรคแพนิคกันบ้าง ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ก็มีข้อสันนิษฐานว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคแพนิคอาจเกิดจากปัจจัยทางกายภาพและปัจจัยทางสุขภาพจิตด้วย อย่างปัจจัยทางกายภาพ ผู้ป่วยโรคแพนิคอาจได้รับผลกระทบ ซึ่งประกอบด้วยการถ่ายทอดทางพันธุกรรม ความผิดปกติของสมองและการได้รับสารเคมีต่างๆ ส่วนปัจจัยทางสุขภาพจิต อาจจะเกิดมาจากเหตุการณ์ร้ายแรง ที่เกิดขึ้นในชีวิตเป็นตัวการส่งผลให้เกิดโรคแพนิคได้ด้วยเช่นเดียวกันค่ะ

 

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/geralt-9301/

อาการของโรคแพนิคเป็นยังไง ไม่ใช่แค่ความวิตกหวาดกลัวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ ผู้ป่วยส่วนใหญจะรู้สึกหวาดกลัวหรือตื่นตระหนกอย่างไม่มีสาเหตุ อาการจะเกิดขึ้นแบบกระทันหัน รวมทั้งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แพนิคเป็นอาการที่รุนแรงกว่าความรู้สึกเครียดทั่วไป มักเกิดขึ้นเป็นเวลา 10 – 20 นาที บางรายอาจเกิดอาการแพนิคนานเป็นชั่วโมง โดยจะมีอาการดังนี้ ใจสั่น ใจเต้นแรง มือสั่นหรือตัวสั่น เหงื่อแตก หายใจติดขัด แน่นหน้าอก คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ รู้สึกร้อนวูบวาบ หรือหนาวขึ้นมาอย่างกะทันหัน วิตกกังวลหรือหวาดกลัวว่าจะตาย รวมทั้งรู้สึกว่าไม่สามารถควบคุมสิ่งต่างๆ ในชีวิตได้ เป็นต้น

 

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/anhngoc1397-14450218/

1. หากนี่เป็นอาการที่เกิดขึ้นครั้งแรก ควรไปพบแพทย์ทันที! สำหรับคนที่ลองสังเกตอาการของตัวเองแล้วรู้สึกว่า ฉันมีอาการตามที่บอกมา แต่ไม่แน่ใจว่าตัวเองป่วยเป็นโรคแพนิครึเปล่า เราแนะนำว่า ให้รีบไปพบแพทย์นะคะ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยโรคให้แน่ชัด สุดท้าย ถ้ามันเกิดเป็นโรคนี้ขึ้นมาจริงๆ เพื่อนๆ จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงทีและถูกต้องต่อไป

2. ตั้งสติ อย่าเพิ่งคิดไปไกล แม้ความวิตก ความหวาดกลัวจะเกิดขึ้นได้ อย่างไม่มีสาเหตุ แต่บางครั้ง มันก็มีเหตุกระตุ้น ที่ทำให้อาการของเรามันกำเริบได้เช่นเดียวกัน ให้พยายามตั้งสติ อย่าตกใจและอย่าคิดว่าจะป่วยหนักหรือจะหัวใจวายหรือเสียชีวิต เพราะจะยิ่งทำให้เกิดความเครียดและเป็นมากขึ้น ให้เริ่มจากการนั่งพัก จากนั้นให้หายใจเข้าออกช้าๆ ลึกๆ ยาวๆ เหมือนเวลานั่งสมาธิ แล้วรอให้อาการสงบไปเอง อาการก็จะดีขึ้นภายใน 15 – 20 นาที หรือจะรับประทานยาที่แพทย์ให้ไว้สำหรับเวลามีอาการร่วมด้วยก็ได้ เท่านี้ก็ไม่มีอะไรให้ต้องกังวลแล้ว

3. ออกกำลังกาย การออกกำลัง ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ดีไม่น้อย รู้มั้ยวว่าการออกกำลังกายจะช่วยทำให้ระบบหัวใจและปอดทำงานได้อย่างสมดุลยิ่งขึ้น มีผลวิจัยออกมาว่า ผู้ป่วยที่ออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง จะเกิดอาการแพนิคและอาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องน้อยลง

 

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/cuncon-3452518/

4. พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนหลับผักผ่อนให้เพียงพอ เป็นอีกหนึ่งวิธีดูแลตัวเองที่ดีมากๆ ก็อย่างที่รู้ๆ กันนั่นแหละ ผลดีของการพักผ่อนให้เพียงพอ มีเยอะมากๆ ซึ่งสำหรับผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคแพนิค ก็ควรที่จะพักผ่อนให้เพียงพอ และมีสุขลักษณะการนอนที่ดีด้วย

5. หาเหตุผลที่ทำให้เกิดความวิตกกังวล ด้วยสาเหตุของโรคแพนิค อย่างที่เราบอกไปข้างต้น มันเกิดได้หลายสาเหตุ ฉะนั้นเพื่อนๆ ลองมองหาสาเหตุของตัวเองดูซิ ว่าทำไมเราถึงได้มีอาการวิตกกังวลรุนแรงแบบนี้เกิดขึ้นได้ เมื่อพบสาเหตุของสิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ถ้าคุณรู้สึกว่า เราสามารถแก้ปัญหาตรงจุดนี้ได้นะ

6. ลดความกังวล ด้วยการเปลี่ยนจุดโฟกัส บางทีพอเราจดจ่ออยู่กับสิ่งที่ทำให้เรากังวลใจมากๆ อะมันก็จะยิ่งทำให้เรารู้สึกแย่มากขึ้นๆ ไปอีก ทั้งกดดัน กลัว จิตตก การลดความกดดัน ด้วยการเปลี่ยนจุดโฟกัส ด้วยการเบี่ยงเบนความสนใจของตัวเอง ไปสู่เรื่องอื่นที่ดีต่อใจมากกว่า

 

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/lograstudio-4785951/

7. กังวลเก่งนัก ก็ฝึกผ่อนคลายความเครียดซะเลยซิ! นอกจากวิธีการออกกำลังกาย อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยรับมือกับโรคแพนิคได้ก็คือ การฝึกผ่อนคลายความเครียด อย่างสม่ำเสมอและใช้เวลาในการฝึกอย่างน้อยครั้งละ 15-30 นาที ซึ่งก็มีวิธีให้เพื่อนๆ ได้เลือกฝึกหลายวิธีเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการฝึกทำสมาธิหรือเดินจงกรม การฝึกจินตนาการเพื่อการผ่อนคลายให้มันเบาบางลงได้ ยังไงก็ลองหยิบสักวิธีไปทำตามกันดูเราเองก็หวังว่าวิธีเหล่านี้ จะช่วยให้เพื่อนๆ รู้สึกผ่อนคลายลงได้บ้างนะ

จากวิธีที่ DooDiDo แนะนำมานั้น ก็เป็นวิธีดูแลตัวเองบวกกับรับมือกับโรคแพนิคง่ายๆ ที่ทุกๆ คนสามารถทำตามกันได้นะคะ แต่ควรไปพบคุณหมอ จะดีที่สุดค่ะ คุณหมอจะได้ให้คำแนะนำที่มันเป็นประโยชน์ และตรงจุดกว่าด้วยใครที่มีคนใกล้ตัวป่วยเป็นโรคนี้อยากให้เข้าใจเค้านิดนึง เพราะผู้ที่เป็นโรคแพนิคนั้นต้องการความเข้าใจจากคนรอบข้างเป็นอย่างมากค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://sistacafe.com/summaries/75316