ผู้บริโภคควรรู้ “ไข่” ชนิดไหนมีคอเลสเตอรอลสูงที่สุด?

ไข่ชนิดไหนล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพ หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

 “ไข่” เป็นอาหารของคนหลายชาติหลายภาษา ในแง่โภชนาการ ไข่ขาวและไข่แดงรวมกันจะเป็นอาหารที่สมบูรณ์ ราคาถูก เมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ในระบบเศรษฐกิจปัจจุบัน ไก่คือ ผู้ทำอาหารราคาถูกที่คนไม่กินให้เป็นอาหารที่มีคุณภาพดีที่คนกินได้ และเป็นผู้เปลี่ยนคุณภาพอาหารที่มีประสิทธิภาพสูงมากที่เดียว ขึ้นชื่อว่าเป็นไข่เหมือนกัน แต่ไข่แต่ละชนิดไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา หรือไข่ประเภทอื่นที่นำมาประกอบอาการได้นั้น ให้ปริมาณของสารอาหารแต่ละอย่างไม่เท่ากัน

ส่วนใหญ่แล้วสารอาหารหลักๆ ที่มีอยู่ในไข่คือ โปรตีน รองลงมาคือไขมัน แล้วตามด้วยสารอาหารอื่นๆ เช่น แคลเซียม วิตามินเอ ไอโอดีน และคอเลสเตอรอล… ที่หลายคนอาจพยายามหลีกเลี่ยง หากลองเทียบเคียงปริมาณของสารอาหารแต่ละชนิดในไข่แต่ละชนิด จะเห็นความแตกต่างได้อย่างชัดเจน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/baljeetmusiccomposer-2241540/

คลอเลสเตอรอลคือส่วนประกอบเล็กๆ ในไขมันซึ่งพบได้ในไข่แดง แต่ไม่พบในไข่ขาว คลอเลสเตอรอลในไข่แต่ละชนิดคือสิ่งที่ผู้คนหวาดกลัว และเต็มไปด้วยความเข้าใจผิด แต่งานวิจัยหลายชิ้นเรื่องคลอเลสเตอรอลในไข่ได้สรุปแล้วว่า การกินไข่มีผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และอาจมีผลต่อระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่าการกินเนื้อสัตว์ที่มีปริมาณไขมันชนิดอิ่มตัวสูงด้วยซ้ำ

นั่นแปลว่า ถ้าเราไม่ได้กินไข่ในจำนวนที่มากเกินไปต่อวัน (ร่างกายของคนทั่วไปที่สุขภาพปกติ ต้องการคลอเลสเตอรอลจากอาหารวันละ 300 มิลลิกรัม) ก็ไม่ต้องกลัวการกินไข่จนเกินไป สิ่งที่ควรรู้คือไข่แต่ละชนิดให้คลอเลสเตอรอลเท่าไหร่ และสิ่งที่เราต้องควบคุมให้ได้คือจำนวนฟองของไข่แต่ละชนิดที่เรากินเข้าไปในแต่ละครั้งต่างหาก

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/alexas_fotos-686414/

เรื่องเข้าใจผิดคือ ไข่นกกระทาไม่ได้มีคลอเลสเตอรอลมากที่สุด แต่ที่จริงแล้วมีคลอเลสเตอรอลต่อฟองเพียง 50 มิลลิกรัม ซึ่งน้อยที่สุดในบรรดาไข่ทุกประเภท ส่วนไข่ไก่มีคลอเลสเตอรอลน้อยกว่าไข่เป็ด แต่ไข่เป็ดนั้นมีคลอเลสเตอรอลเท่าไข่เยี่ยวม้าและไข่เค็ม เพราะไข่เยี่ยวม้าและไข่เค็มนั้นคือการเอาไข่เป็ดไปแปรรูปให้อยู่ได้นานขึ้นนั่นเอง แต่สิ่งที่ควรระวังเพิ่มเติมในไข่เยี่ยวม้าคือสารตะกั่วและเชื้อราที่อาจถูกใช้ในกระบวนการหมัก ส่วนไข่เค็มต้องระวังปริมาณโซเดียมที่มาพร้อมความเค็มนั่นเอง

ปริมาณสารอาหารแต่ละชนิดในไข่ต่างชนิดกัน

ข้อมูลทางโภชนาการของไข่ เปรียบเทียบต่อ 100 กรัม

ไข่เป็ด

ไข่นกกระทา ไข่ไก่
พลังงาน 178 กิโลแคลอรี่ 171 กิโลแคลอรี่ 143 กิโลแคลอรี่
โปรตีน 13.03 กรัม 13.30 กรัม 12.77 กรัม
ไขมัน 13.35 กรัม 12 กรัม 9.65 กรัม
แคลเซียม 98 กรัม 153 กรัม 70 กรัม
วิตามินเอ 269 กรัม 143 กรัม 182 กรัม
ไอโอดีน 52 ไมโครกรัม        – 49 ไมโครกรัม
คอเลสเตอรอล 543 มิลลิกรัม 508 มิลลิกรัม 427 มิลลิกรัม

                                     ที่มา: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/ritae-19628/

จากในตารางจะเห็นว่า ไข่เป็ด มีคอเลสเตอรอลเยอะที่สุด รองลงมาคือไข่นกกระทา และไข่ไก่ (เทียบกับไข่ในปริมาณเท่ากัน) แต่โดยรวมแล้วก็เป็นไข่ที่มีคุณค่าทางสารอาหารอื่นๆ สูงที่สุดเช่นกัน ยกเว้นโปรตีนและแคลเซียม ที่ไข่นกกระทามีมากกว่า แต่ถึงอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นไข่ชนิดไหน ล้วนแล้วแต่มีประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพด้วยกันทั้งนั้น หากรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม

สำหรับผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ไม่ควรกินเกิน 3 ฟองต่อสัปดาห์ หรือกินตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนผู้ป่วยโรคอื่นๆ สามารถกินไข่ได้วันละ 1 ฟอง หรือตามแพทย์สั่ง

การบริโภคไข่ให้ได้ประโยชน์ DooDiDo แนะนำว่าควรเลือกซื้อไข่ที่สด ใหม่ เปลือกไข่ไม่แตกหรือบุบร้าว เช็ดเปลือกไข่ที่สกปรกให้สะอาด ล้างมือทุกครั้งทั้งก่อนและหลังสัมผัสไข่ ควรเก็บไข่ในตู้เย็นเพื่อยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อจุลินทรีย์ เพียงเท่านี้ก็จะได้ประโยชน์จากไข่ได้เต็มที่ สมกับคำว่าไข่คือของดีราคาไม่แพง

ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล : www.sanook.com, www.bth.co.th