ปลูกแตงกวาได้ผลผลิตดีและการดูเมล็ดพันธ์สำหรับเกษตรกรมือใหม่

WM

ภาพจาก pixabay

การดูเมล็ดพันธ์ และ ปลูกแตงกวาให้ได้ผลผลิตที่ดี

ปลูกแตงกวา ยังไงให้ถูกรวมถึงแนะนำ เมล็ดพันธุ์ดี ๆ ปลูกยังไงให้ดีสำหรับเกษตรกรมือใหม่ หรือผู้สนใจ วิธีปลูกแตงกวา แต่ขาดข้อมูลพื้นฐานในการปลูก วิธีการปลูกแตงกวาให้ได้ผลผลิตที่ดี จำเป็นต้องมีเมล็ดพันธุ์ที่ดีเช่นกัน

เมล็ดพันธุ์ของแตงกวาจะมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน เช่น คุณภาพของต้น ผลผลิต ความอดคามทนของต้น   และลักษณะของผลผลิต ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับสถาพแวดล้อมและตลาดของท่าน ซึ่งคุณสมบัติของเมล็ดพันธุ์ที่ดีควรมีเปอร์เซ็นต์ความงอกสูง ปราศจากโรค สะอาดดังต่อไปนี้

  • แตงกวา ท็อปโฟร์ ตราธนุทอง ใบคู่
  • แตงกวา โดนัท888 ตราใบคู่
  • แตงกวา บารมี ตราพาวเวอร์ซีดส์
  • แตงกวา พาวเวอร์กรีน ตราตะวันต้นกล้า
  • แตงกวา แพลทินั่ม ตราตะวันต้นกล้า
  • แตงกวา พริตตี้ 2 ตราตะวันต้นกล้า
  • แตงกวา ปิ่นเพชร ตราเจียไต๋
  • แตงกวา ไฮโซ ตราเจียไต๋
  • แตงกวา ธันเดอร์กรีน ตราศรแดง
  • แตงกวา ยูริ ตราตะวันต้นกล้า
  • แตงกวา เอเธนส์6 ตราแวนด้า ซีดส์
  • แตงกวา โดนัท999 ตราใบคู่
  • แตงกวา ลัดดา34 ตราใบคู่
  • แตงกวา เดย์ลี่ ตราพาวเวอร์ซีดส์
  • แตงกวา สปีด ตราศรแดง
  • แตงกวา โมเดิร์นไนน์ ตราธนูทอง
WM
ภาพจาก pixabay

สภาพอากาศที่เหมาะสม

  • ดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ความเป็นกรดด่าง(PH) 5.5-6.5
  • อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียสเป็นต้น (ไม่ควรต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส)
  • สภาพอากาศแห้ง
  • มีแดดตลอดทั้งวัน

ขั้นตอนการปลูก

เตรียมดิน

  1. ไถพรวนดินตากไว้ประมาณ 7-10 วัน เพื่อทำลาย เพื่อทำลายวัชพืชและศัตรูพืชบางชนิด
  2. การเตรียมปลูกควรกำหนดระยะห่างระหว่างต้น 1 เมตร และระหว่างแถว 5 เมตร

วิธีปลูกแตงกวา(ระยะกล้า) จะทำได้ 2 วิธี คือ

  • วิธีปลูกโดยหยอดเมล็ดลงในหลุมโดยตรงวิธีนี้จะสะดวกต่อการปลูก แต่สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์พอสมควร (เกษตรกรนิยมใช้)
  • วิธีปลูกแบบเพาะกล้า
  1. เตรียมดินเพาะ ใส่ลงในถาดเพาะที่เตรียมไว้
  2. หยอดเมล็ดพันธุ์ลงในถาดเพาะหลุมละ 1-2 เมล็ด
  3. ดูแลให้น้ำทุกวัน ปุ๋ย และเก็บไว้ในที่แดดอ่อนๆ และเมื่อต้นกล้ามีใบจริงประมาณ 4-5 ใบจึงย้ายลงปลูก

การดูแล

  • การให้น้ำวิธีการให้น้ำจะแตกต่างกันตามสภาพพื้นที่ แต่วิธีที่เหมาะสมกับการปลูกแตงกวาที่สุด คือการให้น้ำตามร่อง ซึ่งเป็นวิธีที่ดูแลรักษาความชื้นของแตงกวาได้ดี และลดการเกิดโรค
  • การให้ปุ๋ยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ

1.ระยะต้นกล้า (7วันแรก) ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อัตรา 1-2 ตันต่อไร่ และมักใช้ปุ๋ยสูตรเป็นปุ๋ยรองพื้น เช่น 15-15-15 เป็นต้น ในอัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ (ปุ๋ย 1 ลูก ต่อ 2 ไร่)

  1. ระยะเจริญเติบโต จะเน้นปุ๋ยที่มีตัวหน้าสูง เช่น 46-0-0 หรือ 24-7-7 เป็นต้น ในอัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ (ปุ๋ย 1 ลูก ต่อ 2 ไร่)
  2. ระยะออกดอก การใส่ปุ๋ยจะขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของต้นพืชและสภาพแวดล้อม หากต้องการบำรุงทั่วทั้งต้น จะใช้สูตร 15-15-15 แต่หากต้องการบำรุงดอกหรือเพิ่มน้ำหนักผล ควรใช้สูตร 8-24-24 หรือ 13-13-21 แทน อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไร่ (ปุ๋ย 1 ลูก ต่อ 2 ไร่) (หมายเหตุ : ควรใส่ปุ๋ยสูตร 8-24-24 อย่างระมัดระวัง)

โรคสำคัญในแตงกวา

·         โรคราน้ำค้าง

แตงกวา พบอาการบนใบ มักพบมีแผลเหลี่ยมเล็กสีเหลืองชัดเจน ในขอบเขตเส้นใบ ในบางสายพันธุ์แผลอาจเป็นสีขาวหรือเทา ต่อมาใบจะเหลืองแห้งไป

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญ ระบาดมากในช่วงปลายฝนต้นหนาว ยิ่งมีความต่างของอุณหภูมิต่ำในเวลากลางคืน และอุณหภูมิสูงในเวลากลางวัน ยิ่งทำให้อาการของโรครุนแรง

วิธีป้องกันกำจัด

  • จัดการให้แปลงปลูกมีการถ่ายเทอากาศที่ดี
  • ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราชั้นต่ำ เช่น สารไดเมโทมอร์ฟ(ฟอรัม)สารกลุ่ม 4 – เมทาแลกซิล กลุ่ม 22 – อีทาบอกแซม(โบคุ่ม) กลุ่ม 27 กลุ่ม 33 หรือสารผสมของสารในกลุ่มเหล่านี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่องสารเคมีป้องกันกำจัดโรค ได้ที่ แนะนำสารเคมีป้องกันกำจัดโรคพืช และวิธีการสลับยา(ป้องกันการดื้อยา)
  • ใช้สารป้องกันกำจัดด้วงเต่าแตง (พาหะของราน้ำค้าง) เช่นไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล) คาร์โบซัลแฟน(พอส)
  • โรคใบด่างแตงเกิดจากเชื้อไวรัส Cucumber mosaic virus) หรือ CMV

ต้นกล้า อาจทำให้ชะงักการเจริญเติบโต ใบเลี้ยงเหี่ยวเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและตายในที่สุด

ใบ มีขนาดเล็กลง ด่าง ย่น ขอบใบม้วน ต้นแคระแกร็น ปล้องที่ยังไม่แก่จะไม่ขยาย ใบที่ยอด จะแตกใหม่ออกเป็นใบเล็กๆ ฝอยๆ ใบแก่จะเหลืองและแห้งตาย

ผล มีอาการด่างลาย เขียวซีด หรือขาวสลับกับสีเขียวเข้ม ผิวขรุขระ และอาจทำให้มีรสขม

สามารถถ่ายทอดเชื้อได้โดยการสัมผัส เมล็ด และแมลงพาหะ พวกเพลี้ยอ่อน

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญเติบโต

วิธีป้องกันกำจัด

  • ทำความสะอาดเครื่องมือการเกษตรทุกครั้งหลังใช้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสจากการสัมผัส
  • เลือกต้นตอ หรือเมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื้อถือได้ หรือเป็นพันธุ์ต้านทาน
  • บำรุงให้ต้นพืชแข็งแรง เพื่อยากต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรค
  • กำจัดวัชพืชรอบ ๆ บริเวณปลูก เพราะอาจเป็นพืชอาศัยรอง ที่เพลี้ยอ่อนสามารถแฝงอยู่ได้
  • ฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดแมลงพาหะพวกเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรค เช่น เช่นฟิโพรนิล(แอสเซนด์)อิมิดาคลอพริด(ไบรด้า) คาร์โบซัลแฟน(พอส)

นอกจากเชื้อไวรัส CMV ซึ่งเป็นเชื้อไวรัสที่มีการแพร่ระบาดมากที่สุดในพืชตระกูลแตง ยังมีเชื้อไวรัสอื่น ๆ อีกด้วย แต่สามารถจำแนกได้ยาก ว่าเป็นเชื้อสาเหตุใด

โดยส่วนใหญ่จะมีอาการของโรคที่คล้ายคลึงกัน เช่น อาการด่าง ใบหงิกงอ ขอบใบม้วน ยอดใบแตกเป็นพุ่มฝอย ผลมีลักษณะรูปร่างผิดปกติ ต้นแคระแกร็น ซึ่งมีวิธีการป้องกันกำจัดที่คล้ายคลึงกัน อาจแตกต่างกันไปบ้างในพวกของแมลงพาหะ

แมลงศัตรูพืชในแตงกวา

นอกจากแมลงที่เป็นพาหะของโรคต่าง ๆ แล้วแมลงที่สำคัญที่จะต้องป้องกันกำจัดอีกพวกก็คือ แมลงศัตรูแตง ที่จะเข้าทำลายพืชโดยการดูดกิน หรือกัดกินพืชตระกูลแตงให้เกิดความเสียหาย ดังนี้

  • เพลี้ยไฟเป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาลแก่ จะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบ ดอกอ่อน และยอดอ่อน ทำให้ใบม้วนหงิกงอ รูปร่างผิดปกติ ใบเป็นกระจุก มีสีสลับเขียวเป็นทาง ระบาดมากในช่วงที่มีอากาศแห้งแล้งฝนทิ้งช่วง (เป็นพาหะนำโรคใบด่างหรือไวรัสในแตงกวา)

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญของพืช มีการระบาดมากในช่วงแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง

การป้องกันกำจัด

  • ตรวจนับจำนวนเพลี้ยไฟ โดยเคาะยอดบนกระดาษ
  • ถ้าพบเพลี้ยไฟเฉลี่ยน้อยกว่า 5 ตัวต่อยอด ฉีดน้ำในแปลง เพิ่มความชื้น เพื่อลดการระบาดของเพลี้ยไฟ
  • ถ้าพบเพลี้ยไฟพริกเฉลี่ยมากกว่า 5 ตัวต่อยอด ฉีดพ่นใช้สารกำจัดแมลง เช่นฟิโพรนิล(แอสเซนด์) อิมิดาคลอพริด(ไบรด้า) คาร์โบซัลแฟน(พอส) สไปนีโทแรม(เอ็กซอล) ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี)
  • เพลี้ยอ่อนเป็นแมลงขนาดเล็ก ตัวอ่อนสีเขียว ตัวแก่สีดำและมีปีก จะดูดน้ำเลี้ยงที่ใบและยอดอ่อน ทำให้ใบม้วน ต้นแคระแกร็น และยังเป็นพาหนะนำไวรัสด้วย

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญของพืช มีการระบาดมากในช่วงแล้ง อากาศร้อนและแห้ง

การป้องกันกำจัด

  • ตรวจนับจำนวนเพลี้ยอ่อนในแปลงปลูก
  • ฉีดพ่นใช้สารกำจัดแมลง เช่นฟิโพรนิล(ไฟซ์ไนซ์) อิมิดาคลอพริด(ฟาเดีย) คาร์โบซัลแฟน(พอส)
  • แมลงหวี่ขาวเป็นแมลงปากดูดขนาดเล็ก ตัวอ่อนกลมรี สีเหลืองปนเขียว แบนราบติดกับผิวใบไม้ ตัวเต็มวัยมีสีขาว มักหลบซ่อนหากินอยู่ใต้ใบ สามารถกัดกินพืชได้ทั้งในระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ทําให้ใบพืชหงิกงอ ขอบใบม้วน เป็นจุด ซีดด่าง ชะงักการเจริญเติบโต และแคระแกร็น มีผลต่อการออกดอกติดผล (เป็นพาหะนำโรคใบด่างหรือไวรัสในแตงกวา)

การแพร่ระบาด พบได้ทุกระยะการเจริญของพืช พบมากช่วงหลังย้ายกล้ามี ระบาดมากในช่วงแล้ง หรือฝนทิ้งช่วง

การป้องกันกำจัด

  • ใช้กับดักกาว เพื่อป้องกันการระบาดของแมลง
  • หากพบแมลงหวี่ขาวในปริมาณมาก ฉีดพ่นใช้สารกำจัดแมลง เช่นอิมิดาคลอพริด(ฟาเดีย)ไทอะมีทอกแซม(เซนน่า) อีมาเม็กตินเบนโซเอท(เดอะฮัก) ไดโนทีฟูแรน(สตาร์เกิล จี) คาร์โบซัลแฟน(พอส)
  • หนอนชอนใบแมลงวันหนอนชอนใบเพศเมียวางไขใต้ผิวใบ ตัวหนอนมีลักษณะหัวแหลมท้ายป้านโดยชอนไชภายในใบ ท่าให้เกิดรอยเส้นสีขาว ถ้าระบาดรุนแรง ใบจะร่วง

การแพร่ระบาด มีการระบาดมากในช่วงที่อากาศร้อน และชื้น

การป้องกันกำจัด

  • เผาใบทีถูกหนอนชอนใบท่าลาย เนืองจากอาจมีดักแด้อยู่ตามเศษใบพืชได้
  • ใช้สารป้องกันกำจัดแมลง เช่นอิมิดาคลอพริด(ฟาเดีย), อีมาเม็กตินเบนโซเอท(เดอะฮัก)

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : kasetkaoklai