“ปลาการ์ตูน” ปลาที่นักดำน้ำให้ความสนใจ และต้องได้ดูสักครั้งในชีวิต

SA Game

คนรักปลาห้ามพลาด!! มาดูจักสายพันธุ์ปลาการ์ตูน ที่พบในประเทศไทยกันคะ

สำหรับชนิดของปลาการ์ตูนที่พบในประเทศไทปลาการ์ตูน (Clown Fishes) เป็นปลาสวยงามที่นิยมเลี้ยงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากเป็นปลาที่มีสีสัน และลวดลายสวยงาม เลี้ยงง่าย อีกทั้งเป็นที่นิยมในตลาดสามารถเพาะจำหน่ายได้ในราคาสูง หลังจากมีภาพยนตร์ เรื่อง Finding Nemo ทำให้กระแสการเลี้ยงปลาการ์ตูนมากขึ้น

ในประเทศไทยเองก็เป็นที่นิยมเลี้ยงมากเช่นกัน โดยพบว่ามีมูลค่าการซื้อ-ขายปลาการ์ตูนประมาณ 30-40% ของปลาสวยงามทั้งหมด ซึ่งมีทั้งที่สั่งซื้อมาจากต่างประเทศ และการจับในทะเลภายในประเทศ รวมถึงแหล่งใหญ่ที่มีการเพาะพันธุ์ในหลายจังหวัดในแถบภาคกลาง
ปลาการ์ตูนที่พบในประเทศไทย

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/taken-336382/

1. ปลาการ์ตูนส้มขาว (False Clown Anemonefish)
ปลาการ์ตูนส้มขาว เป็นปลาที่มีสีสันสวยงาม นิยมนำมาเป็นปลาตู้ ลำตัวมีสีส้ม หรือน้ำตาล มีแถบสีขาว 3 แถบคือบริเวณส่วนหัว 1 แถบ บริเวณลำตัว 1 แถบ และบริเวณหางอีก 1 แถบ แถบสีขาวแต่ละแถบนั้นตรงขอบจะตัดด้วยสีดำ

  • ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 10-11 ก้าน และก้านครีบอ่อน 13-17 ก้าน
  • ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 ก้าน และก้านครีบอ่อน 11-13 ก้าน
  • ครีบอกมีก้านครีบ 16 -18 ก้าน
  • เกล็ดบนเส้นข้างตัว 34-48 อัน
  • จำนวนซี่กรองบนเหงือกอันนอกสุด 15-17ซี่
SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/taken-336382/

2. ปลาการ์ตูนอินเดียน (Yellow Skunk Anemonefish)
ปลาการ์ตูนอินเดียน ลำตัวมีสีเนื้ออมเหลืองทอง มีแถบขาวพาดกลางหลังตลอดแนวจรดครีบหาง

  • ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 8-9 ก้าน และก้านครีบอ่อน 17-20 ก้าน
  • ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 ก้าน และก้านครีบอ่อน 12 -14 ก้าน
  • ครีบอกมีก้านครีบ 16-18 ก้าน
  • เกล็ดบนเส้นข้างตัว 34-45 อัน
  • จำนวนซี่กรองบนเหงือกอันนอกสุด 17-20 ซี่

ปลาการ์ตูนชนิดนี้มีลำตัวใหญ่สุดประมาณ 85 มิลลิเมตร มักอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลชนิด Heteractis magnifica และ Stichodactyla mertensii มีการแพร่กระจายในแถบ มหาสมุทรอินเดีย แอฟริกาตะวันออก มาดากัสการ์ ทะเลอันดามัน และหมู่เกาะสุมาตรา

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/lpittman-38659/

3. ปลาการ์ตูนลายปล้อง (Clark’s Anemonefish)
ปลาการ์ตูนลายปล้อง ลำตัวมีสีดำเข้ม มีครีบอก และหางสีเหลืองทอง มีแถบขาว 3 แถบ ตรงส่วนหัว ลำตัว และโคนหาง

  • ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 10-11 ก้าน และมีก้านครีบอ่อน 14-17 ก้าน
  • ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 ก้าน และก้านครีบอ่อน 12-15 ก้าน
  • ครีบอกมีก้านครีบ 18-21 ก้าน
  • เกล็ดบนเส้นข้างตัว 34-45 อัน
  • จำนวนซี่กรองบนกระดูกเหงือกอันนอกสุด 18-20ซี่

ปลาการ์ตูนชนิดนี้มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดประมาณ 100 มิลลิเมตร อาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลทุกชนิด พบแพร่กระจายบริเวณเขตอินโดจีน-แปซิฟิกตะวันตก และมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือถึงออสเตรเลียตะวันตก หมู่เกาะเมลานิเชีย ไมโครนิเชีย ไต้หวัน เกาะริวกิว และทางตอนใต้ของญี่ปุ่น

SA Game
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/yumenichi-5000582/

4. ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง (Sebae Anemonefish)
ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง ลำตัวมีสีดำ ส่วนหางมีสีเหลืองทอง มีแถบขาว 2 แถบ แถบแรกพาดอยู่บริเวณหลังตา อีกแถบพาดผ่านท้องมายังครีบหลัง

  • ครีบหลังมีก้านครีบแข็ง 10-11 ก้าน และก้านครีบอ่อน 14-17 ก้าน
  • ครีบก้นมีก้านครีบแข็ง 2 ก้าน และก้านครีบอ่อน 13 -14 ก้าน
  • ครีบอกมีก้านครีบ 18-19 ก้าน
  • เกล็ดบนเส้นข้างตัว 36-43 อัน
  • จำนวนซี่กรองบนกระดูกเหงือกอันนอกสุด 15-17 ซี่

ปลาการ์ตูนชนิดนี้มีขนาดตัวใหญ่ที่สุดประมาณ 120 มิลลิเมตร ชอบอาศัยอยู่กับดอกไม้ทะเลบริเวณทรายที่ฝังตัวยึดได้ ได้แก่ Stichodactyla haddoni มักอยู่เป็นคู่ และมีลูกปลาเล็ก 3-4 ตัว อยู่ด้วย มีนิสัยดุร้ายกับปลาการ์ตูนตัวอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว มีการแพร่กระจายในแถบ มหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ คาบสมุทรอินเดีย ศรีลังกา เกาะมัลดีฟส์ ทะเลอันดามัน และหมู่เกาะสุมาตรา

จะเห็นได้ว่า สายพันธุ์ปลาการ์ตูนที่พบในประเทศไทย หรือเป็นที่รู้จักและนิยมเลี้ยงกันมาก ต่างก็มีหลายหลายสายพันธุ์ ขึ้นอยู่กับผู้เลี้ยงหรือผู้ที่สนใจจะเลือกเลี้ยงสายพันธุ์ไหนที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ การเลี้ยงปลาแต่และชนิดก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้น DooDiDo คิดว่าเราควรศึกษาขั้นตอนการเลี้ยงที่ถูกต้องเพื่อให้สัตว์ที่เราเลี้ยงมีการเจริญเติบโตและมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงสมบูรณ์ด้วยคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://sites.google.com/site/watnyu008