ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว รอบ 2 ธ.ก.ส. จ่าย 6 แสนราย

WM

ภาพจาก pixabay

6 แสนราย  ธ.ก.ส. จ่ายเงินประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว รอบ 2

ธ.ก.ส. จ่ายเงินประกันรายได้ให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีบัญชี 2563/64 รอบ 2 จำนวนกว่า 6 แสนราย วงเงิน 5,684 ล้านบาท ซึ่งเก็บเกี่ยวในช่วง 9 – 14 พ.ย. 63  ที่ผ่านมา และ แล้ววันนี้ ส่วนที่เหลือกระทรวงพาณิชย์ได้นำเสนอ คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติวงเงินเพิ่มเติม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรตามเป้าหมาย

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดย   นายกษาปณ์ เงินรวง รองผู้จัดการ ได้เปิดเผย   เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 คณะรัฐมนตรี (ครม.) ในคราวประชุมตามมติ  การอนุมัติงบประมาณเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2563/64 จำนวน 18,096.06 ล้านบาท

WM
ภาพจาก ธนาคารเพื่อการเกษตร

ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการโอนเงินชดเชยส่วนต่างฯให้แก่เกษตรกรในงวดที่ 1 ไปแล้วเป็นจำนวนเงิน 9,128.48 ล้านบาท  ซึ่งเป็นจำนวน 786,219 ครัวเรือน

และในส่วนการจ่ายเงิน งวดที่ 2  นั้น  เดิมมรกำหนดการจ่าย  วันที่ 19 พฤศจิกายน 2563 แต่จากสถานการณ์ราคาข้าวเปลือกแต่ละชนิดในปีนี้ลดต่ำกว่าปีที่ผ่านมาค่อนข้างมาก ส่งผลให้เงินชดเชยส่วนต่างฯ ที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ได้อนุมัติไว้ไม่เพียงพอสำหรับการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างฯ ให้แก่เกษตรกรในงวดที่ 2 ได้ทั้งหมด

อย่างไรก็ตามเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร   ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้มีการหาปรึกษารือกับกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์อย่างใกล้ชิด ซึ่งในการประชุมคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงข้าว ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563

ได้มีมติให้ เกษตรกร   ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้ จ่ายเงินชดเชย ส่วนต่างฯ งวดที่ 2 ให้กับเกษตรกรตามวันเก็บเกี่ยวที่เกษตรกรระบุไว้ในการขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับ กรมส่งเสริมการเกษตร คือตั้งแต่วันที่ 9 – 14 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 636,118 ราย วงเงิน 5,684 ล้านบาท ตามงบประมาณ ที่เหลือ ในวันที่ 25 พฤศจิกายน 2563

สำหรับเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2563 จำนวน 602,485 ราย วงเงิน 5,641 ล้านบาท และเกษตรกรที่มีสิทธิ์รับเงินชดเชยส่วนต่างในงวดที่ 3 ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2563/64 ได้ประกาศราคากลาง ณ 23 พฤศจิกายน 2563 และกำหนดชดเชยส่วนต่างราคาประกันไปแล้วคือ

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 3,059 บาท
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 2,281 บาท
  • ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 1,036 บาท
  • ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ตันละ 1,055 บาท
  • ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 996 บาท

อีกจำนวน 1,497,508 ราย วงเงิน 12,900 ล้านบาท กระทรวงพาณิชย์ได้นำเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาอนุมัติวงเงินเพิ่มเติมตามมติคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) แล้ว ซึ่งเมื่อ ครม. ให้ความเห็นชอบ ธ.ก.ส. จะเร่งโอนเงินให้แก่เกษตรกรโดยเร็วต่อไป

นายกษาปณ์ กล่าวอีกว่า ธ.ก.ส มีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับรองรับการดำเนินโครงการประกันรายได้พืชเศรษฐกิจสำคัญตามนโยบายรัฐบาลทั้ง 5 ชนิด มิได้ขาดสภาพคล่องตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด

เช็คสิทธิวิธีตรวจรับเงินประกันรายได้ข้าวเพื่อเกษตรกร รอบที่ 1 งวดที่ 3

หลังจากที่รัฐบาล ได้อนุมัติ โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1 มีเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร 8.79 แสนครัวเรือน โดยธนาคาร ธ.ก.ส.จะโอนเงินให้กับธนาคารแต่ละสาขาวันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมาเป็นงวดแรก ล่าสุดมี มติที่ประชุม ครั้งที่ 26/2563 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 รอบที่ 1 งวดที่ 3 ที่ได้ระบุวันที่คาดจะเก็บเกี่ยวถึงวันที่ 16-22 พฤศจิกายน 2563 สำหรับข้าวเปลือกชนิดต่างๆ ณ ความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้

ราคาประกัน

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ตันละ 11,940.67 บาท ลดลงจากการประกันรายได้งวดก่อนที่ได้ตันละ 15,000 บาท แต่กำหนดไม่เกิน 14 ตัน
  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ตันละ 11,718.59 บาท ลดลงจากการประกันรายได้งวดก่อนที่ได้ตันละ 14,000 บาท  แต่กำหนดไม่เกิน 16 ตัน
  • ข้าวเปลือกเจ้า ตันละ 8,963.80 บาท ลดลงจากการประกันรายได้งวดก่อนที่ได้ตันละ 10,000 บาท แต่กำหนดไม่เกิน 30 ตัน
  • ข้าวเปลือกหอมปทุม ตันละ 9,944.39 บาท ลดลงจากการประกันรายได้งวดก่อนได้ตันละ 11,000 บาท แต่กำหนดไม่เกิน 25 ตัน
  • ข้าวเปลือกเหนียว ตันละ 11,003.42 บาท ลดลงจากการประกันรายได้งวดก่อนที่ได้ตันละ 12,000 บาท แต่กำหนดไม่เกิน 16 ตัน

สำหรับ การชดชยส่วนต่างระหว่างราคาประกันรายได้กับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง มีอัตราส่วนต่างที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกณ์การเกษตรใช้ในการจ่ายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว สำหรับการจ่ายเงินงวดที่ 3 ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 ดังนี้

ราคาชดเชย

  • 1.ข้าวเปลือกหอมมะลิ  เกษตรกรได้รับชดเชยส่วนต่างตันละ 3,059.33 บาท
  • 2.ข้าวเปลือกมะลินอกพื้นที่ เกษตรกรได้รับชดเชยส่วนต่างตันละ 2,281.41 บาท
  • 3.ข้าวเปลือกเจ้า เกษตรกรได้รับชดเชยส่วนต่างตันละ 1,036.20 บาท
  • 4.ข้าวเปลือกหอมปทุม เกษตรกรได้รับชดเชยส่วนต่างตันละ 1,055.61 บาท
  • 5.ข้าวเปลือกเหนียว เกษตรกรได้รับชดเชยส่วนต่างตันละ 996.58 บาท

วิธีตรวจรับเงินประกันรายได้ข้าวเพื่อเกษตร

สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินประกันรายได้ เกษตรกรจะต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2563/64 รอบที่ 1 กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และต้องแจ้งวันที่คาดว่าจะเก็บเกี่ยว เพื่อใช้เป็นข้อมูลช่วงเวลาที่เกษตรกรจะได้รับสิทธิชดเชย โดยกรมส่งเสริมการเกษตรจัดส่งข้อมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว จำแนกตามช่วงเวลาที่เก็บเกี่ยวและคำนวณปริมาณผลผลิต

โดยใช้พื้นที่ทั้งหมดที่ขึ้นทะเบียนปลูกข้าวแต่ละชนิดคูณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เป็นปริมาณผลผลิตที่ต้องชดเชย แต่ต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนดไว้ข้างต้น ส่งให้ธ.ก.ส. เพื่อเป็นข้อมูลในการจ่ายเงินจากนั้น ธ.ก.ส. จะดำเนินการจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง ภายใน 3 วัน

นับจากวันที่ได้รับราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบจากคณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเกษตรกรสามารถตรวจสอบผลการโอนเงินได้ทางแอปพลิเคชัน ธ.ก.ส. A-Mobile ตลอด 24 ชั่วโมง และจะมีข้อความแจ้งเตือนเงินเข้าบัญชีผ่าน LINE Official BAAC Family กรณีที่ลูกค้าสมัครใช้บริการ BAAC Connect

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : matichon.co.th , moneyguru.co.th