น้ำตาลราคาล่วงหนักจนถึงจุดต่ำสุดจากพิษโควิด

SA Game

ภาพจาก pixabay

ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อย่างบราซิล หันมาใช้อ้อยไปผลิตน้ำตาลมากขึ้น และผลิตเอทานอลน้อยลงทำให้ราคาน้ำตาลทรายดิบร่วง

น้ำตาลทรายดิบราคาล่วงและลดลงมาอย่างรวดเร็วนับจาก ปลายเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จากราคา 15 เซ็นต์กว่าๆต่อปอนด์ ลงมาอยู่ที่ 10 เซ็นต์ต่อปอนด์ และแนวโน้มอาจจะร่วงลงไปถึงจุดต่ำสุดอีกก็อาจเกิดขึ้นได้ภายใต้สถานการณ์ปัจจุบันนี้

สาเหตุหลักคือ การระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 ทั่วทั้งโลก ทำให้การผลิตน้ำตาลออกสู่ตลาดโลกมากขึ้น แต่การบริโภคน้ำตาลลดลง นายอภิชาติ ลักษณะสิริศักดิ์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย(อนท.)เปิดเผย

แม้ว่าในช่วงเดือนเมษานี้ จะมีการประกาสลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่ม OPEC + โดยการลดกำลังการผลิตลง 9.70 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่ก็ไม่เพียงพอกับการลดลงของการใช้น้ำมันทั้งโลก จะเห็นได้ว่าราคาน้ำมันล่วงหน้า (Crude oil WTI) ในตลาดโลก ลดลงจากราคาประมาณ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเมื่อช่วงต้นปี 2563 ลงมาที่ประมาณ 17 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ณ วันที่ 23 เมษายน 2563

SA Game
ภาพจาก pixabay

สำหรับตัวแปรที่กดให้ราคาน้ำตาลดิบร่วงมาจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทั่วทั้งโลก   ทำให้คาดการณ์ว่าความต้องการใช้น้ำมันทั้งโลกในปี 2563 จะลดลงประมาณ 20 – 30 % จากปี 2562 (การใช้ในปี 2562 เท่ากับ 100.10 ล้านบาร์เรลต่อวัน) เนื่องจากระบบการขนส่งที่ลดลง การเดินทางที่ลดลง เป็นหลัก

นายอภิชาติ กล่าวว่าเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2563 ราคาน้ำมันลงไปจนมีค่าติดลบสูงสุดที่ราคา – 40.32 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากการซื้อขายน้ำมันล่วงหน้า จะมีวันหมดอายุของสัญญาซื้อขาย และมีการกำหนดช่วงเวลาของการรับมอบและส่งมอบน้ำมัน ณ จุดที่ตกลงกันไว้

ซึ่งผู้ค้าน้ำมันมีความกังวลว่าจะไม่สามารถรับมอบหรือส่งมอบน้ำมันได้ เนื่องจากที่เก็บน้ำมันมีจำนวนจำกัดมาก ๆ ณ ปัจจุบัน จึงเกิดความกลัวและขายกระหน่ำออกมา คาดว่าส่วนใหญ่จะเป็นการเทขายของพวกกองทุนนักเก็งกำไรมากกว่าจะเป็นการขายของผู้ผลิตหรือผู้ค้าน้ำมัน

จากราคาน้ำมันที่ลดลง ส่งผลให้ประเทศบราซิล หันมาใช้อ้อยไปผลิตน้ำตาลมากขึ้น และผลิตเอทานอลน้อยลง  เนื่องจากราคาน้ำตาลให้ผลตอบแทนมากกว่าราคาเอทานอล (ราคาเอทานอลจะลดลงตามราคาน้ำมัน)

คาดการณ์ว่า บราซิลจะผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นจาก ประมาณ 27 ล้านตันในปี 2562/63 จะเป็นประมาณ 35-36 ล้านตันในปี 2563/64  ประกอบกับค่าเงินบราซิลเรียวต่อดอลลาร์สหรัฐก็อ่อนค่าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2563 (ณ วันที่ 23 เมษายน 2563 อยู่ที่ราคา 5.53) ก็ทำให้การส่งออกน้ำตาลของบราซิลมีราคาดีขึ้นจากการอ่อนค่าของค่าเงิน (ปี 2562/63 บราซิลส่งออกน้ำตาลประมาณ 20 ล้านตัน)  จึงส่งผลกระทบทางลบกับราคาน้ำตาลอย่างมาก

สำหรับการบริโภคน้ำตาล คาดการณ์ว่าจะลดลงมากกว่า 2 ล้านตันต่อปีจากการออกนอกบ้านที่ลดลงของประชากรทั่วทั้งโลก  (การบริโภคของทั้งโลกอยู่ที่ประมาณ 175 ล้านตันต่อปี) ก็เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบในทางลบต่อราคาเช่นกัน

ณ ราคาปัจจุบันราคาน้ำตาลทรายดิบได้ตอบสนองกับปัจจัยลบไปเกือบหมดแล้ว จะเหลืออยู่เพียงความกังวลต่อการอ่อนค่าของค่าเงินบราซิลเรียวเท่านั้น และผู้ผลิตส่วนใหญ่ของโลกก็ไม่สามารถยืนอยู่ได้ที่ราคาปัจจุบัน

สำหรับราคาน้ำมันก็น่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ผู้ผลิตน้ำมันทั้งโลกก็น่าจะลดกำลังการผลิตมากขึ้น นอกเหนือจากการประกาศของกลุ่ม OPEC + เนื่องจากราคาน้ำมันในปัจจุบันต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของผู้ผลิตส่วนใหญ่ในโลกนี้ และมีโอกาสที่ประเทศบราซิลจะมีปัญหาภายในเรื่องการผลิตและการขนส่ง  หากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19ในประเทศมีสูงขึ้นจนถึงจุดที่ต้องมีมาตรการปิดเมืองหรือขาดแคลนแรงงาน

ดังนั้นราคาน้ำตาลทรายดิบก็มีโอกาสที่จะปรับตัวสูงขึ้นในระยะ 6 เดือนข้างหน้า (คาดว่าจะได้เห็นราคามากกว่า 12 เชนต์ต่อปอนด์) พร้อมๆกับการระบาดที่ลดลงของไวรัสโควิด และแนวโน้มที่ดีในการคิดค้นวัคซีนในการป้องกันโรคดังกล่าว

ก่อนหน้าที่จะเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 บรรดากูรูแห่งวงการอ้อยและน้ำตาลให้ความเห็นผ่าน “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า จะมี 2 ปัจจัยเสี่ยง กดราคาน้ำตาลไม่สูงขึ้นเท่าที่ควร โดยมองว่าแม้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะดีดตัวสูงขึ้น

แต่อย่าลืมว่าของแพงขึ้นแต่มีของขาย(ปริมาณอ้อย)น้อยลง  เพราะเผชิญปัญหาภัยแล้ง ผลผลิตตกต่ำลงเหมือนทุกครั้งพอผลผลิตอ้อยมากราคาก็ร่วง พอผลผลิตน้อยราคาจะพุ่งสูงขึ้น  ขณะเดียวกันถ้าราคาไปในทิศทางบวกอุตสาหกรรมน้ำตาลก็ยังมี 2 ความเสี่ยงอยู่ดี คือ

  1. ปัจจุบันอินเดียมีสต็อกน้ำตาลอยู่ในมือราว 14 ล้านตัน ก็มีความเป็นไปได้ที่อินเดียจะระบายสต๊อกออกมา ถึงแม้ว่าปี 2562/63 ในตลาดโลกมีผลผลิตน้อยกว่าการบริโภคอยู่ประมาณ  5-7 ล้านตันก็ตาม อินเดียอาจจะนำน้ำตาลออกมาปล่อยขาย ก็จะยิ่งทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกไม่ขยับสูงขึ้นเท่าที่ควร ดังนั้นสต็อกน้ำตาลจากอินเดียจึงเป็นแรงกดดันในตลาดพอสมควรนับจากนี้ไป
  2. ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่า เวลาซื้อ-ขายเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ  ดังนั้นราคาดีขึ้นแต่ถ้าค่าเงินบาทแข็งค่า ไทยจะนำเงินเข้าประเทศจากการส่งออกน้ำตาลได้น้อยลง

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ