ธ.ก.ส. ออก 3 มาตรการสินเชื่อช่วยเกษตรกร เริ่มวันนี้-30 มิย. 64

WM

ภาพโดย Bruno /Germany จาก Pixabay

ฟื้นฟูเกษตรกร วงเงินกว่า 1.7 แสนล้านบาท ธ.ก.ส. ออก 3 มาตรการสินเชื่อ เยียวยาเกษตรกร 

ธ.ก.ส. ออกสินเชื่อ ผ่อนปรนให้กับกลุ่มเกษตรกรที่เป็นลูกค้าของ ธ.ก.ส เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบกับประชาชนทุกกลุ่ม ถึงวันนี้สถานการณ์เริ่มคลี่คลายลงเป็นลำดับ ล่าสุด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร  เตรียมเงินกว่า 170,000 ล้านบาท เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพ

โดยสินเชื่อดังกล่าวจะช่วยเกษตรกรให้สามารถกลับมาพัฒนาอาชีพที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตชุมชนและทำให้มีรายได้เลี้ยงตัวเอง โดยมาตรการนี้ได้เริ่มตั้งแต่วันนี้ี้ – 30 มิ.ย. 2564 ซึ่งประกอบด้วย

WM
ภาพโดย Nattanan Kanchanaprat จาก Pixabay

1.สินเชื่อพอเพียงเพื่อเลี้ยงชีพ (Sufficient Loan) วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนและทำการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรืออาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตรที่เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มหรืออาชีพนอกภาคเกษตรที่เป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้

  • วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0 ต่อปีในช่วง 3 เดือนแรก
  • ตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย MRR (ร้อยละ 6.50 ต่อปี)

2.สินเชื่อ New Gen Hug (ฮัก) บ้านเกิด วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าลงทุนหรือค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการทำการเกษตรหรือประกอบธุรกิจการเกษตรสมัยใหม่ที่อาศัยเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม หรือในลักษณะ Smart Farmer

  • อัตราดอกเบี้ยกรณีค่าใช้จ่ายหมุนเวียน ร้อยละ 0 ต่อปี ในช่วง 3 เดือนแรก
  • ตั้งแต่เดือนที่ 4 เป็นต้นไปคิดอัตราดอกเบี้ย MRR (ร้อยละ 6.50 ต่อปี) กรณีค่าลงทุน ปีที่ 1 – 3 ร้อยละ 4 ต่อปี และในปีที่ 4 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย MRR

3.สินเชื่อระยะสั้นฤดูการผลิตใหม่ (Jump Start Credit) วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนเพื่อการผลิตในฤดูการผลิต 2563/2564

  • วงเงินกู้รายละไม่เกิน 50,000 บาท อัตราดอกเบี้ยปีแรกร้อยละ 4 ต่อปี
  • ปีที่ 2 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยตามชั้นลูกค้า

สำหรับผู้ที่สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา หรือที่ Call Center 02 555 0555

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา  ฐานเศรษฐกิจ