ธูปฤาษี สมุนไพรมีชื่อท้องถิ่น ใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ

SA Game

ภาพจาก https://medthai.com/%E0%B8%98%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A4%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5/

สมุนไพรท้องถิ่น ธูปฤาษี พบขึ้นตามหนองน้ำ ลุ่มน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม

ธูปฤาษี มีถิ่นกำเนิดในทวีปยุโรปและอเมริกา จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี เหง้ากลม แทงหน่อขึ้นเป็นระยะสั้น ๆ ลำต้นตั้งตรง มีความสูงประมาณ 1.5-3 เมตร เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ชุ่มน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยผลหรือเมล็ด พบขึ้นตามหนองน้ำ ลุ่มน้ำทั้งน้ำจืดและน้ำเค็ม ตามทะเลสาบหรือริมคลอง รวมไปถึงตามที่โล่งทั่ว ๆ ไป มีเขตการกระจายพันธุ์ทั่วโลกในเขตร้อนและในเขตอบอุ่น สำหรับในประเทศไทยสามารถพบได้ทั่วทุกภูมิภาค

ธูปฤาษี จัดว่าเป็นสมุนไพรมีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กกช้าง กกธูป เฟื้อ เฟื้อง หญ้าเฟื้อง หญ้ากกช้าง หญ้าปรือ (ภาคกลาง), หญ้าสลาบหลวง หญ้าสะลาบหลวง (ภาคเหนือ), ปรือ (ภาคใต้) โดยมี ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Typha angustifolia L. จัดอยู่ในวงศ์ธูปฤๅษี (TYPHACEAE)

ชื่อสามัญ Bulrush, Cattail, Cat-tail, Elephant grass, Flag, Narrow-leaved Cat-tail, Narrowleaf cattail, Lesser reedmace, Reedmace tule

ใบธูปฤาษี ใบเป็นใบเดี่ยว มีกาบใบเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ลักษณะใบเป็นรูปแถบ มีความกว้างประมาณ 1.2-1.8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร (บ้างว่า 2 เมตร) แผ่นใบด้านบนมีลักษณะโค้งเล็กน้อยเพราะมีเซลล์หยุ่นตัวคล้ายฟองน้ำหมุนอยู่กลางใบ ส่วนด้านล่างของใบแบน[1],[3]

SA Game
ภาพจาก https://medthai.com/%E0%B8%98%E0%B8%B9%E0%B8%9B%E0%B8%A4%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B5/

ใบธูปฤาษี

ดอกธูปฤาษี ออกดอกเป็นช่อแบบเชิงลด ลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก ช่วงดอกเพศผู้มีความยาวประมาณ 8-40 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางช่อประมาณ 0.2-0.7 เซนติเมตร และมีใบประดับประมาณ 1-3 ใบ หลุดร่วงได้ ส่วนช่วงดอกเพศเมียจะมีความยาวประมาณ 5-30 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของช่อประมาณ 0.6-2 เซนติเมตร มักแยกออกจากส่วนดอกเพศผู้ด้วยส่วนของก้านช่อดอกที่เป็นหมันที่มีความยาวประมาณ 2.5-7 เซนติเมตร

ดอกมีขนาดเล็ก ไม่มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอก เกสรเพศผู้ส่วนมากแล้วจะมี 3 อัน มีขนขึ้นล้อมรอบ ก้านเกสรเพศผู้จะสั้น มีอับเรณูยาวประมาณ 1.5-2 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมียจะมีใบประดับย่อยเป็นรูปเส้นด้าย มีรังไข่เป็นรูปกระสวย ก้านของรังไข่เรียวและยาวประมาณ 5 มิลลิเมตร มีขนยาว ส่วนก้านเกสรเพศเมียจะยาวประมาณ 1-1.5 มิลลิเมตร มีขนสั้นกว่าก้านของรังไข่ ยอดเกสรมีลักษณะเป็นรูปแถบหรือรูปใบหอก และยังสามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี[1],[2]

ผลธูปฤาษี ผลมีขนาดเล็กมาก เมื่อแก่จะแตกตามยาว ลักษณะเป็นรูปรี[1],[3]

สรรพคุณของธูปฤาษี

  • อับเรณูและลำต้นใช้เป็นยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ (ลำต้น, อับเรณู)บ้างก็ว่าลำต้นใต้ดินและรากสามารถนำมาใช้เป็นยาบำบัดโรคบางชนิดได้ เช่น การช่วยขับปัสสาวะ (ลำต้น, ราก)
  • ลำต้นธูปฤาษีช่วยเพิ่มน้ำนมของสตรีหลังการคลอดบุตร (ลำต้น)

ประโยชน์ของธูปฤาษี

  • ยอดอ่อนใช้รับประทานได้ทั้งสดและทำให้สุก[2]
  • แป้งที่ได้จากลำต้นใต้ดินและรากสามารถใช้บริโภคได้เช่นกัน[3]
  • ต้นธูปฤาษีที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอาจนำมาใช้เป็นอาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงหรือสัตว์เคี้ยวเอื้องได้[3]
  • ใบธูปฤาษีมีความยาวและเหนียวจึงนิยมนำมาใช้มุงหลังคา และสามารถนำมาใช้สานตะกร้า ทำเสื่อ ทำเชือกได้อีกด้วย[1],[2],[3]
  • ช่อดอกแห้งสามารถนำมาใช้เป็นไม้ประดับ ส่วนในประเทศอินเดียจะใช้ก้านของช่อดอกมาทำปากกา[1],[3]
  • เยื่อของต้นธูปฤาษีสามารถนำมาใช้ทำกระดาษและทำใยเทียมได้ โดยมีเส้นใยมากถึงร้อยละ 40 มีความชื้นของเส้นใย 8.9%, ลิกนิก 9.6%, ไข 1.4%, เถ้า 2%, เซลลูโลส 63%, และมีเฮมิเซลลูโลส 8.7%
  • เส้นใยที่ได้จะมีสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน สามารถนำมาใช้ทอเป็นผ้าเพื่อใช้สำหรับแทนฝ้ายหรือขนสัตว์ได้[2],[3]
  • ดอกของต้นธูปฤาษีสามารถใช้กำจัดคราบน้ำมันได้เป็นอย่างดี โดยน้ำหนักของดอกต้นธูปฤาษี 100 กรัม สามารถช่วยกำจัดคราบน้ำมันได้มากกว่า 1 ลิตร[4]
  • ต้นธูปฤาษีสามารถช่วยบำบัดน้ำเสียตามแหล่งต่าง ๆ และสามารถเจริญเติบโตได้ดี แม้จะอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำเสียตามชุมชนหรือตามแหล่งน้ำจากโรงงานต่าง ๆ และยังทำให้น้ำเสียในบริเวณนั้นมีคุณภาพดีที่ขึ้น มีศักยภาพในการลดค่าความเป็นกรดด่างของน้ำ ช่วยปรับเปลี่ยนสีของน้ำที่ไม่พึงประสงค์ให้จางลง และช่วยลดความเป็นพิษในน้ำได้[5]
  • ต้นธูปฤาษีมีระบบรากที่ดี จึงช่วยป้องกันการพังทลายของดินตามชายน้ำได้[2],[3]
  • ซากของธูปฤาษีสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุคลุมดินสำหรับไม้ยืนต้นตามสวนผลไม้ต่าง ๆ เพื่อช่วยลดการสูญเสียความชื้นออกจากผิวดิน และช่วยลดการชะล้างหน้าดินจากน้ำฝนได้[2],[3]
  • ต้นธูปฤาษีสามารถช่วยกำจัดไนโตรเจนจากน้ำเสียในที่ลุ่มต่อไร่ได้สูงถึง 400 กิโลกรัมต่อปี และยังช่วยดูดเก็บกักธาตุโพแทสเซียมต่อไร่ได้สูงถึง 690 กิโลกรัมต่อปี จึงจัดเป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่อาจมีบทบาทเป็นพืชเศรษฐกิจได้ในอนาคต[2],[3]
  • ธูปฤาษีอาจช่วยทำให้วัฏจักรของแร่ธาตุอาหารในดินสมบูรณ์ขึ้น เพราะมีแร่ธาตุอาหารหลายชนิด เมื่อต้นธูปฤาษีตายลงหรือถูกกำจัดก็จะเกิดการย่อยสลาย ทำให้แร่ธาตุอาหารกลับสู่ดิน ทำให้ดินมีความสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้[3]
  • ธูปฤาษีสามารถช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุในดินได้ เพราะมีแร่ธาตุอาหารหลากหลายชนิด การไถกลบเศษซากของต้นธูปฤาษีก็เท่ากับเป็นการเพิ่มอินทรียวัตถุลงในดิน และจะเป็นประโยชน์แก่พืชที่ปลูกโดยตรง จึงเหมือนกับการทำปุ๋ยพืชสดโดยการไถกลบดิน[3]
  • ใช้เป็นปุ๋ยพืชสตูหรือใช้ทำปุ๋ยหมักบำรุงดินได้[3]
  • ใช้สำหรับเป็นเชื้อเพลิง โดยต้นธูปฤาษีมีปริมาณของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตค่อนข้างสูง กากที่เหลือจากการสกัดเอาโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตออกแล้วใช้แบคทีเรียที่ไม่ใช้ออกซิเจนย่อย จะให้แก๊สมีเทนซึ่งใช้สำหรับเป็นเชื้อเพลิงได้[3]

วิธีกำจัดต้นธูปฤาษี

วิธีการป้องกันควรทำก่อนที่ต้นธูปฤาษีจะออกดอก เพราะเมล็ดสามารถแพร่ระบาดได้เป็นอย่างดีโดยอาศัยลมและน้ำ ส่วนวิธีการกำจัดก็ทำได้โดยการตัดต้นขนาดใหญ่ โดยต้องตัดให้ต่ำกว่าระดับของผิวน้ำ[2]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา

  1. สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. สารานุกรมพืช, “ธูปฤาษี”
  2. ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. “ธูปฤาษี”. (นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ)
  3. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. “การผลิตกระดาษจากธูปฤาษีและผักตบชวา”. (นพพล เกตุประสาท หน่วยอนุรักษ์และใช้ประโยชน์พืชพรรณ).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.nectec.or.th.
  4. วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลาดกระบัง. “ดอกต้นธูปฤาษี วัชพืชกำจัดคราบน้ำมัน”. (ศาสตราจารย์จิติ หนูแก้ว).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.nano.kmitl.ac.th.
  • ระบบฐานข้อมูลองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ดาราศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา.  ” ต้นธูปฤาษี”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.nano.kmitl.ac.th.