ทีมผู้วิจัย เผยผลการศึกษาไวรัสโคโรนามีการกลายพันธ์

WM

ภาพโดย Aneta Esz จาก Pixabay

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อาจกำลังมีวิวัฒนาการ ทีมผู้วิจัย วิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรม

ทีมผู้วิจัย ซึ่งเป็นกลุ่มนักวิทยาศาสตร์จากวิทยาลัยสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน (LSHTM) ของสหราชอาณาจักร ระบุว่าแม้สภาพการณ์ทางพันธุกรรมของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จะค่อนข้างเสถียร ไม่สู้จะเกิดการกลายพันธุ์หลายรูปแบบอย่างรวดเร็วมากนัก

รวมทั้งการกลายพันธุ์ของโปรตีนตรงส่วนหนามที่ใช้จับและเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ก็ยังหาพบได้ยากมาก แต่ก็ควรจับตาและเฝ้าระวังไว้ เนื่องจากการกลายพันธุ์แบบนี้อาจเป็นวิวัฒนาการที่ไวรัสกำลังปรับตัว เพื่อให้มนุษย์ติดเชื้อได้ง่ายขึ้นในอนาคต โดย มีการเผยแพร่ผลการศึกษาล่าสุดในคลังเอกสารวิชาการออนไลน์ด้านชีววิทยา bioRxiv.org

ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อาจกำลังมีวิวัฒนาการ กลายพันธุ์ที่ส่วนหนามเพื่อให้มนุษย์ติดเชื้อง่ายขึ้น ผลวิเคราะห์ข้อมูลทางพันธุกรรมทั้งหมดหรือจีโนมของไวรัสซาร์สซีโอวีทู (SARS-CoV-2) ราว 5,350 ตัวอย่างจาก 62 ประเทศทั่วโลก ชี้ว่าไวรัสก่อโรคโควิด-19

ซึ่งแบ่งได้เป็นสองสายพันธุ์ใหญ่ ๆ บางส่วนมีการกลายพันธุ์ของโปรตีนที่หนามอยู่สองแบบด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าไวรัสกำลังปรับตัว เพื่อให้มีความสามารถเข้าสู่เซลล์ของมนุษย์ได้มากขึ้น

ทีมผู้วิจัยย้ำว่า ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าการกลายพันธุ์สองแบบที่พบส่งผลต่อตัวไวรัสอย่างไร แต่การที่พวกมันเกิดการกลายพันธุ์ขึ้นมาในหลายประเทศทั่วโลกโดยไม่มีความเชื่อมโยงเกี่ยวข้องกัน ทำให้มองได้ว่าปรากฏการณ์นี้อาจช่วยให้ไวรัสแพร่กระจายตัวออกไปได้ง่ายขึ้นอีก

WM
ภาพโดย fernando zhiminaicela จาก Pixabay

ศาสตราจารย์ มาร์ติน ฮิบเบิร์ด หนึ่งในผู้นำทีมวิจัยของ LSHTM แสดงความวิตกว่า ทั่วโลกจำเป็นต้องจับตามองการกลายพันธุ์ของไวรัสโรคโควิด-19 เอาไว้ให้ดี เพื่อจะได้ตรวจพบการกลายพันธุ์แบบที่น่าเป็นห่วงได้อย่างรวดเร็ว

“ยกตัวอย่างเช่นการกลายพันธุ์ของโปรตีนตรงส่วนหนาม หากเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายแล้ว จะส่งผลกระทบให้การพัฒนาวัคซีนและแอนติบอดีที่กำลังทำกันอยู่ทั่วโลกต้องคว้าน้ำเหลวได้ เพราะต่างใช้โปรตีนส่วนหนามของไวรัสแบบเก่าเป็นเป้าหมายยับยั้งการติดเชื้อ” ศ. ฮิบเบิร์ดกล่าว

ผลวิจัยก่อนหน้านี้ระบุว่า ไวรัสโรคโควิด-19 มีรูปร่างของโปรตีนตรงส่วนหนามที่จับกับเซลล์ของมนุษย์ได้ดีกว่าไวรัสโรคซาร์สที่มีความใกล้เคียงกันทางพันธุกรรมอย่างมาก ซึ่งความเปลี่ยนแปลงลักษณะนี้ทำให้ไวรัสโรคโควิด-19 แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วกว่าและก่อให้เกิดการติดเชื้อที่รุนแรงกว่าได้

เป็นเวลากว่าหนึ่งปีแล้วที่เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ โควิด-19 อุบัติขึ้นและระบาดไปเกือบทั่วโลก จนกระทั่งองค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศให้การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่เป็น “การระบาดใหญ่” หรือ pandemic เมื่อวันที่ 11 มี.ค.

หลังจากนั้น WHO ประกาศการระบาดใหญ่ แม้สถานการณ์ในบางประเทศจะดีขึ้น และมาตรการควบคุมโรคมีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่จำนวนผู้ติดเชื้อในภาพรวมทั่วโลกยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มมากกว่า 90 ล้านรายแล้ว ขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตทะลุ 1.9 ล้านรายแล้ว (ข้อมูลวันที่ 10 ม.ค. )

หลายฝ่ายเชื่อว่าตัวเลขผู้ติดเชื้อจริงทั่วโลกจะมีมากกว่าตัวเลขข้างต้นที่รวบรวมโดย มหาวิทยาลัยจอห์นส์ฮอปกินส์

บีบีซีไทย รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับการระบาดของโรคโควิด-19 มาสรุปในรูปแบบอินโฟกราฟิก เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการของวิกฤตโควิด-19 ที่ยังไม่มีใครคาดได้ว่าจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

สถานการณ์ในประเทศไทย

สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อในประเทศยังคงน่าเป็นห่วง หลังจากเกิดการระบาดระลอกที่ 2 ในช่วงกลางเดือน ธ.ค. 2563 โดยมีรายงานว่า เริ่มต้นระบาดที่ตลาดกลางกุ้ง จังหวัดสมุทรสาคร ซึ่งมีแรงงานต่างด้าวจำนวนมาก ก่อนที่จะพบในพื้นที่ต่าง ๆ ตามมา ผ่านกลุ่มลักลอบเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย และเครือข่ายการพนัน

ในภาพรวม ณ วันที่ 10 ม.ค. มีผู้ป่วยสะสมยืนยันรวม 10,298 ราย ในขณะที่ผู้ป่วยหายแล้ว 6,428 ราย ส่วนผู้เสียชีวิต 67 ราย

คาดคนไทยได้เห็นวัคซีนต้านโควิด-19 กลางปี

นพ. นคร เปรมศรี ผู้อำนวยการสถาบันการวัคซีนแห่งชาติ เปิดเผยเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. ว่า หลังจากนายกรัฐมนตรีได้ลงนามในสัญญาการจัดหาวัคซีนโควิด 19 โดยการจองล่วงหน้า ระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และบริษัท แอสตราเซนเนกา ว่าขอให้มั่นใจเพราะ เป็นการจองซื้อวัคซีนที่สำคัญอย่างมาก ที่สำคัญคือจะได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตและทำให้ไทยมีความมั่นคงทางสาธารณสุขในอนาคต มั่นใจว่าจะผลิตวัคซีนได้ และสามารถกระจายไปยังประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย

ทั้งนี้ตั้งเป้าว่าจะมอบวัคซีนชุดแรก 26 ล้านโดส ที่บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด รับถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตได้ในกลางปี 2564 โดยกลุ่มแรก ๆ ที่จะไดัรับวัคซีนคือ กลุ่มผู้สูงอายุ บุคลากรทางการแพทย์

ข่าวความเคลื่อนไหว , ท้องถิ่นทั่วไทย , ข่าวต่างประเทศ, รัฐบาล , องค์การบริหารส่วนตำบล , อบต. , เทศบาล , เทศบาลเมือง , เทศบาลนคร , ทต. , องค์การบริหารส่วนจังหวัด , อบจ. , ข่าวรอบโลก , ข่าวการเมือง , ข่าวเศรษฐกิจ , ข่าวท่องเที่ยว ความร้อนแรงในประเดนต่าง ๆ ข่าวด่วน กระแสข่าว ข่าวชาวบ้าน ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา  BBC NEWS