ตลาดดูแลผิวพรรณและร่างกายมาแรง ดีเอชแอลแนะไทยรุก

SA Game

ภาพจาก pixabay

ดีเอชแอลแนะผู้ประกอบการไทยรุก ตลาดดูแลผิวพรรณและร่างกาย ที่กำลังมาแรง

ตลาดผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณและร่างกาย เผยผู้บริโภคทั่วโลกเริ่มปรับตัวดีเอชแอล แนะผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีรับมือความต้องการหรือการทำทรีตเมนต์อยู่ที่บ้าน ในกลุ่มลูกค้า ที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพและสุขอนามัยมากขึ้น ขณะที่ตัวเลขการส่งออกผลิตภัณฑ์ความงาม และเครื่องสำอางไตรมาสแรกปีนี้ลดลง 5.7% ด้านลอรีอัลมั่นใจ ตลาดความงามยังพร้อมฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว หลังมาตรการคลายล็อคต่าง ๆ

มีสัญญาณมากมายในอุตสาหกรรมความงาม เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ที่ยังมีโอกาสฟื้นตัวจากสถานการณ์วิกฤตในปัจจุบัน ผู้บริโภคทั่วโลกยังคงมองหาความพึงพอใจจากการดูแลตัวเอง หรือการทำทรีตเมนต์ขณะอยู่ที่บ้าน ความต้องการผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกาย ยังคงมีแนวโน้มเติบโต

ซึ่งเป็นโอกาสที่สำคัญของแบรนด์ในการทำธุรกิจอีคอมเมิร์ซระหว่างประเทศอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำธุรกิจกับประเทศที่กำลังฟื้นตัวจากสถานการณ์การแพร่ระบาด เช่น จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น และในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว กัมพูชา พม่าเวียดนาม เป็นต้น นายเฮอร์เบิต วงศ์ภูษณชัย กรรมการผู้จัดการ ดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส ประเทศไทย และหัวหน้าภาคพื้นอินโดจีน กล่าวว่า

ยังคาดเดาได้ยากว่าสถานการณ์โควิด-19 จะสิ้นสุดลงเมื่อไร แต่สำหรับผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมนี้ ต้องเตรียมความพร้อมสำหรับเศรษฐกิจที่กำลังจะกลับมา

SA Game
ภาพจาก pixabay

โดยผลการวิจัยจาก Kantar เผยว่า การปรนนิบัติผิวหรือการบำบัดทางร่างกาย (Beauty Therapy) เป็นกิจกรรมอันดับหนึ่งที่ผู้บริโภคคิดจะทําหลังจากมาตรการล็อคดาวน์ของประเทศผ่อนคลายลง หรือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เริ่มดีขึ้น

ข้อมูลล่าสุดจากสมาคมผู้ผลิตเครื่องสำอางไทยเผยว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ความงาม และเครื่องสำอางลดลง 5.7% ในไตรมาสแรกของปี 2563 จากรายงานของเว็บไซต์ CosmeticsDesign-Asia.com พบว่า โควิด-19 ส่งผลให้ตลาดเครื่องสําอางสําหรับการแต่งหน้าและน้ำหอมชะลอตัว เนื่องจากคนทํางานจากที่บ้านมากขึ้น และหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน ขณะที่ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการดูแลผิวพรรณ และสุขอนามัยส่วนบุคคลมีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มขึ้น

สำหรับอุตสาหกรรมความงาม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลร่างกายนั้น ปัจจุบันการป้องกันสุขภาพและสุขอนามัยได้รับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากผู้บริโภคตระหนักและรับรู้เรื่องของการป้องกันสุขภาพ และความปลอดภัยเพิ่มขึ้น พฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อความงามจึงเปลี่ยนเป็นการมุ่งเน้นที่ “สุขภาพและสุขอนามัย” มากกว่า และเทรนด์นี้มีแนวโน้มต่อเนื่องในระยะยาว

ในขณะเดียวกัน ผู้คนมีเวลาให้กับตัวเองหรือให้ความสําคัญกับการดูแลตัวเอง (me-time) มากขึ้นกว่าแต่ก่อนเนื่องจากมาตรการล็อคดาวน์ประเทศและการรักษาระยะห่างทางกายภาพในสังคม

นี่คือโอกาสครั้งสำคัญสําหรับผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ด้านความงาม เครื่องสําอาง หรือผลิตภัณฑ์ดูแลรักษาผิวพรรณที่จะได้นําเสนอสินค้าที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียหรือรักษาความชุ่มชื้น หรือแม้กระทั่งชุดดูแลผิวด้วยตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการบํารุงผิวหน้า ผิวกาย ผม เล็บ ฯลฯ เพื่อให้ผู้บริโภคหันมาสร้างบรรยากาศในการดูแลตัวเองอย่างผ่อนคลายเหมือนทําสปาที่บ้าน

ด้านลอรีอัล บริษัทความงามระดับโลก นางอินเนส คาลไดรา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัดกล่าวว่า จากช่วงที่ผ่านมา ผลกระทบจากโควิด-19 ทำให้ยอดขายหดตัวลง แต่เชื่อมั่นว่าธุรกิจความงามสามารถอยู่ได้และจะกลับมาฟื้นตัวอย่างรวดเร็ว

ลอรีอัลประเทศไทยได้ปรับบิสิเนสโมเดลเยอะมาก ในการฟันฝ่าวิกฤติครั้งนี้ โดยมุ่งเน้นการสนองตอบความต้องการของร้านค้า รวมทั้งพยายามผลักดันอี-คอมเมิร์ซ โดยพยายามให้ความรู้กับบรรดาร้านค้า และร้านทำผม การปรับเปลี่ยนการทำงานของฝ่ายขาย ไปสู่ e-visit เป็นการเยี่ยมเยียนร้านค้าและร้านทำผมผ่านทางออนไลน์

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ