ปัญหาเกี่ยวกับความรุนแรงของวัยรุ่นไทย หัวรุนแรง?

ปัญหาความรุนแรง

ทำความเข้าใจ และทราบวิธีป้องกันปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทย


อย่างที่ทราบกันดีว่าช่วงวัยรุ่นถือเป็นช่วงที่อาจบอกได้ว่า มีความเปลี่ยนแปลงมากที่สุดของช่วงชีวิต ทั้งในเรื่องของสภาพร่างกาย อุปนิสัยใจคอ ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลหลายประการที่ทำให้คนๆ หนึ่งที่กำลังเปลี่ยนจากวัยเด็กก้าวมาสู่ความเป็นผู้ใหญ่ต่างต้องพบเจอ บางคนเจอสิ่งดีๆ มีความคิดดีๆ ก็เติบโตมาในสภาพสังคมที่เหมาะสม แต่กลับกันบางคนอาจพบเจออะไรรุนแรงโหดร้าย บวกกับนิสัยส่วนตัวทำให้กลายเป็นคนที่สังคมยังไม่ค่อยยอมรับก็มีถมไป ปัญหาที่วัยรุ่นจำนวนไม่น้อยต้องเจอคือปัญหาด้านความรุนแรง เป็นเรื่องที่ถึงแม้จะรู้ดีว่าไม่เหมาะสม แต่ช่วงวัยรุ่นนั้นยังคงต้องพบเจอกับเรื่องแบบนี้อย่างแน่นอน

รู้จักประเภทความรุนแรงในวัยรุ่น
  1. ความรุนแรงต่อตนเอง – เป็นความตั้งใจหรือเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลให้เกิดอันตรายขึ้นกับตนเองในท้ายที่สุดเรื่องนี้อาจนำไปสู่การทำร้ายร่างกาย การฆ่าตัวตายได้
  2. ความรุนแรงต่อบุคคล – เป็นความรุนแรงจากการกระทำของบุคคลหนึ่งให้เกิดขึ้นกับอีกบุคคลหนึ่ง เราสามารถเรียกว่าเป็น ผู้คุกคามกับผู้ถูกคุกคามหรือเหยื่อก็ได้ บางครั้งอาจเรียกว่า ผู้กระทำกับผู้ถูกกระทำ นี่ถือเป็นความรุนแรงขนาดใหญ่ของสังคม
วัยรุ่นไทย
ปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่นไทย
ปัญหาความรุนแรงของวัยรุ่น
  1. การก่ออาชญากรรมด้วยการใช้ความรุนแรง – ทั้งการปล้น จี้ ชิงทรัพย์ ทำร้ายร่างกาย ข่มขืน กระทำชำเราผู้อ่อนแอกว่า สิ่งเหล่านี้คือความรุนแรงทางด้านอาชญากรรมที่วัยรุ่นคิดน้อยบางคนเลือกทำ ผลของการกระทำดังกล่าวถือเป็นคดีอาญาก่อให้เกิดผลเสียหลายด้านทั้งผู้กระทำคือคนเองมีผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ บุคคลรอบข้าง ส่วนผู้ถูกกระทำเองก็ไม่ต่างกัน
  2. การใช้อาวุธ – มีด, ปืน, ดาบ ฯลฯ เหตุผลคือต้องการทำร้ายร่างกายเพื่อให้ผู้อื่นบาดเจ็บหรือเสียชีวิต จะส่งผลกระทบทั้งต่อตนเองและคนอื่นๆ ได้อย่างชัดเจนมาก
  3. การใช้ความรุนแรงของกลุ่มวัยรุ่นระหว่างสถาบัน – เรามักพบเจอได้บ่อยๆ อย่างกรณีการยกพวกตีกัน, การมีปัญหากันระหว่างเข้าชมคอนเสิร์ต, การดักรอทำร้ายคู่อริอีกฝ่าย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้คือปัญหาที่พบได้บ่อยมากสำหรับวัยรุ่นแทบทุกยุคทุกสมัย ยิ่งไปกว่านั้นยุคปัจจุบันไม่ใช่แค่กลุ่มวัยรุ่นชายอีกต่อไปเพราะกลุ่มวัยรุ่นหญิงเองก็มีปัญหาไม่น้อยเหมือนกัน สิ่งต่างๆ เหล่านี้ก่อให้เกิดความเสียหายหลายด้านทั้งชีวิต, ทรัพย์สิน สร้างความเดือดร้อนให้กับคนทั่วไป บางคนโดนลูกหลงจนชีวิตต้องเปลี่ยนไปก็มีให้พบเห็นมากมาย

ปัญหาความรุนแรงในวัยรุ่นแท้จริงมันไม่ใช่วิธีการตัดสินใจอันถูกต้อง กลับกันมันดันสร้างความเดือดร้อนให้กับทุกๆ คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องหรือแม้แต่ไม่ได้เกี่ยวข้องด้วยก็ตามที การจะหยุดปัญหาเหล่านี้ได้สิ่งสำคัญคือตัววัยรุ่นก่อนหากยับยั้งชั่งใจ มองเห็นปัญหาสิ่งเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นกับวัยรุ่นทุกคน

พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงในวัยรุ่น เป็นพฤติกรรมที่พบได้บ่อย ทำให้เกิดความสูญเสียได้มาก พฤติกรรมที่วัยรุ่นแสดงออกมาอาจเป็นความรุนแรงกับตนเอง เช่น ทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย หรือความรุนแรงต่อผู้อื่น เช่น การทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย ข่มขืนกระทำชำเราหรือฆาตกรรม สถิติความรุนแรงในวัยรุ่นมีมากขึ้น เนื่องจากสภาพครอบครัวและสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม การเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง ทำให้วัยรุ่นปรับตัวกับความผิดหวังไม่ได้ ขาดการยับยั้งชั่งใจตนเอง ใช้ความรุนแรง เข้าแก้ปัญหา การเลี้ยงดูที่ถูกต้อง จึงมีส่วนอย่างมากในการป้องกันปัญหาความรุนแรงในวัยรุ่น

การเลี้ยงดูที่จะป้องกันปัญหาความรุนแรงได้

– การเป็นครอบครัวที่มีคุณภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกดี มีการสื่อสารที่เหมาะสม มีความรักความอบอุ่นเป็นพื้นฐาน

– การเลี้ยงเด็กให้พัฒนาตามวัย มีระเบียบวินัย รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ไม่เอาแต่ใจตัวเอง ต้องยอมรับกฎเกณฑ์กติกาของบ้านและของสังคมด้วย เมื่อทำผิด พ่อแม่ต้องเอาจริง มีการดำเนินการแก้ไขทันที ไม่ปล่อยให้เด็กทำจนเป็นนิสัย

– ฝึกให้เด็กช่วยตัวเองตามวัย ไม่ให้พึ่งพาผู้อื่นมากจนเกินไป ให้รู้จักแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ไม่สบายจนเกินไป ฝึกให้เผชิญปัญหาบ้าง ให้แก้ปัญหาด้วยตัวเอง ให้รู้จักอดทน รับความลำบากในชีวิตจริง

– พ่อแม่เป็นตัวอย่างในการแก้ปัญหาที่ดี เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้น ไม่ใช้ความรุนแรงหรือเอะอะโวยวาย ไม่โทษผู้อื่น ไม่ท้อแท้ ฟูมฟาย ค่อยๆ คิดแก้ปัญหาอย่างสงบ และเต็มไปด้วยความหวัง พร้อมกับยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นซึ่งไม่สามารถแก้ไขได้ มีช่องทางผ่อนหนักให้เป็นเบา มีการปรึกษาหารือผู้อื่น ความหนักแน่นมั่นคงของพ่อแม่ จะเป็นตัวอย่างแก่ลูกเอง

– พ่อแม่ต้องไม่แก้ปัญหาด้วยความรุนแรง โดยเฉพาะความรุนแรงต่อลูก เพราะเด็กจะเรียนรู้และเลียนแบบวิธีแก้ปัญหาด้วยความรุนแรงเช่นกัน เวลาเด็กทำผิด มีวิธีจัดการอย่างจริงจัง แต่ไม่ก้าวร้าวรุนแรง ไม่ลงโทษด้วยอารมณ์

– พ่อแม่เป็นตัวอย่างของการประพฤติตนอยู่ในกรอบศีลธรรมที่ดี

– การส่งเสริมให้เด็กมีทักษะสังคมดี มีการอยู่ร่วมกับคนอื่นได้ รู้จักแก้ปัญหา สร้างความสัมพันธ์กับคนอื่นได้ดี มีเพื่อนดี มีการช่วยเหลือกันในทางที่ดี รู้จักการตักเตือนเพื่อน ดังเพื่อนให้เป็นคนดี มากกว่าตามเพื่อน

– การฝึกให้เด็กรู้จักคิดดี คิดเป็น คิดสร้างสรรค์ DooDiDo หาทางออกได้กับปัญหาชีวิตเสมอ

– การฝึกให้เด็กรู้จักอารมณ์ตนเอง และการจัดการกับอารมณ์ตนเอง โดยเฉพาะอารมณ์โกรธ เครียด ผิดหวัง ซึมเศร้า มีวิธีควบคุมความคิดของตนเองให้ได้ เมื่อโกรธมีวิธีการระบายความโกรธอย่างเหมาะสม

– การฝึกให้เด็กรู้จักคิดไตร่ตรอง วางแผนล่วงหน้า คาดการณ์ล่วงหน้า คิดเผื่อเลือก หรือมีทางออกเมื่อเผชิญกับสิ่งเลวร้ายที่อาจเกิดขึ้นได้

– การฝึกให้เด็กรู้จักทำใจยอมรับความผิดหวัง สร้างแรงจูงใจตนเองได้เมื่อผิดหวัง มีทางเลือกอย่างอื่น

– ส่งเสริมให้เด็กมีการสื่อสารกับพ่อแม่ มีการปรึกษาหารือ เล่าความเป็นไปในการเรียน การปรับตัวกับเพื่อนๆ เมื่อมีปัญหาจะได้สามารถมีที่ปรึกษาหารือ ได้ระบายความทุกข์ใจ และได้คำแนะนำหรือช่องทางในการแก้ไขปัญหา

– การฝึกให้เด็กรู้จักหยุดคิด มีสติ ทำใจให้สงบ

การฝึกให้เด็กมีลักษณะดังกล่าวนั้น WM แนะนำให้ทำตั้งแต่เด็กอายุยังน้อยด้วยความสม่ำเสมอ อดทน ด้วยบรรยากาศของครอบครัวที่มีความรักและความอบอุ่น จะช่วยให้เด็กเติบโตเป็นวัยรุ่นที่มีบุคลิกภาพดี วุฒิภาวะทางจิตใจและอารมณ์ดี เมื่อเผชิญปัญหาในชีวิต ก็จะปรับตัวได้ดี ไม่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง

แหล่งที่มา : juventudeemmarcha.org, www.si.mahidol.ac.th