คนรักสุขภาพห้ามพลาด!! 4 สุดยอดชาสมุนไพรช่วยลดความดัน

WM

แนะนำ 4 สุดยอดชาตัว ช่วยลดความดันโลหิตได้โดยไม่ต้องพึ่งยา

สำหรับโรคความดันโลหิตสูงนั้น ถือได้ว่าเป็นโรคเรื้อรังที่ค่อนข้างอันตราย หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจนำมาซึ่งโรคเส้นเลือดในสมองแตก อาจทำให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตได้ การดูแลรักษาด้วยผัก และสมุนไพรต่างๆ ก็เป็นอีกทางเลือกที่ดีมาก วันนี้ เรามีสูตรชาสมุนไพรไทย 4 สูตร ที่มีสรรพคุณช่วยลดความดันโลหิตสูง มาฝากกันค่ะ

“โรคความดันสูง” เป็นโรคที่พบได้บ่อยจนดูเป็นเรื่องปกติ บางคนที่เป็นโรคนี้อาจจะไม่ใส่ใจมากนักเพราะคิดว่าตัวเองแข็งแรง คงไม่เป็นอะไร แต่ที่จริงแล้วโรคความดันเป็นโรคเรื้อรังที่อันตรายมาก หากปล่อยปละละเลย ความดันอาจจะขึ้นพรวดพราดจนเส้นเลือดในสมองแตกและถึงแก่ชีวิตได้ นอกจากการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันแล้ว การใช้สมุนไพรมารักษาร่วมด้วย ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยค่ะ เราชาวสุขภาพดีจึงนำเอาสุดยอดชาลดความดัน 4 ชนิดมาแนะแนวสำหรับผู้ที่กำลังประสบกับปัญหาความดันสูง ส่วนจะเป็นชาชนิดใดบ้าง มาดูกันเลยค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/joakwan-1690937/

1. ชากระเจี๊ยบแดง

กระเจี๊ยบจัดเป็นสุดยอดสมุนไพรที่มีสรรพคุณช่วยลดความดัน เพราะจะไปกำจัดไขมันเลวแต่เพิ่มไขมันดี ทำให้เลือดเหนียวข้นน้อยลง จึงลดการอุดตันในเส้นเลือด ระบบไหลเวียนโลหิตจึงดีขึ้น อีกทั้งยังมีวิตามินซีค่อนข้างสูง ช่วยบำรุงเส้นเลือดให้อ่อนนิ่มและยืดหยุ่น ชากระเจี๊ยบทำได้ง่ายๆ เพียงแค่เอาดอกไปตากแห้งแล้วบดชงดื่ม หรือไม่ต้องบดแต่เอามาต้มทั้งดอกเลยก็ได้ ชากระเจี๊ยบที่ได้รสชาติจะค่อนข้างเปรี้ยวมาก สามารถเจือจางหรือผสมน้ำผึ้งได้ แต่ถ้าสามารถดื่มรสชาติเดิมๆ ของชาได้จะดีที่สุดค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/happypixel19-10545570/

2. ชามะรุม

เชื่อว่าหลายคนคงเคยทานแกงส้มมะรุมกันมาแน่นอน แต่มะรุมมีประโยชน์มากกว่าแค่นำมาปรุงอาหาร โดยมะรุมมีสรรพคุณช่วยลดความและคอลเลสเตอรอลในร่างกายได้ นอกจากนี้ยังช่วยบำรุงกำลัง บำรุงสายตา สยบอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี แต่ว่ามะรุมจะมีข้อจัดในการทานพอสมควรคือ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน เวลาปรุงต้องไม่ผ่านความร้อนนานเกินไปจึงจะได้ประโยชน์เต็มที่ ที่สำคัญอย่าทานในปริมาณมากเพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/owencarver-14448167/

3. ชาขึ้นฉ่าย

ขึ้นฉ่ายเป็นพืชที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม ทานแล้วช่วยให้หลอดเลือดขยายตัว ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด สำหรับใครที่เป็นความดันสูงในระยะแรกๆ การทานขึ้นฉ่ายเพียง 3-4 ก้านต่อวันก็สามารถช่วยลดความดันโลหิตได้เป็นอย่างดี ส่วนใครไม่อยากทานสดเพราะไม่ชอบกลิ่นของมัน แนะนำให้นำไปตากแห้งทั้งใบและก้านแล้วนำมาชงเป็นชาดื่มแทนค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: www.sanook.com

4. ชาใบบัวบก

มาถึงชาสมุนไพรที่ช่วยลดความดันชนิดสุดท้ายกันแล้ว ซึ่งคือใบบัวบกของเรานั่นเอง ถึงแม้หลายคนจะเคยได้ยินว่าบัวบกโดดเด่นเรื่องแก้ช้ำใน แต่จริงๆ แล้วสมุนไพรชนิดนี้ก็ช่วยลดควาดมันโลหิตได้ เพราะไปกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิตทั่วทั้งร่างกายทำงานได้ดีมากค่ะ

แนวทางปฏิบัติเพื่อช่วยป้องกันโรคความดันสู
การรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลดีนั้น ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตร่วมด้วยจึงจะเห็นผลชัดเจนค่ะ ใครไม่อยากความดันสูงอีกต่อไป วันนี้เราจะช่วยคุณเอง ต้องทำอะไรบ้างไปกันเล้ยย

1. เลิกทานเค็ม นี่เป็นสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้คนไทยเป็นความดันกันตั้งแต่อายุยังไม่มาก ดังนั้น ลด ละ เลิกการปรุงด้วยผงชูรสก่อนเลย จากนั้นปรับลดการปรุงอาหารด้วยเครื่องปรุงจำพวกน้ำปลาและซอสปรุงรสทุกชนิด อ้อ อย่าลืมลดการทานอาหารแปรรูปด้วยนะคะ เพราะก็มีชูรสสูงมากไม่แพ้กัน
2. ทำอาการทานเอง เพราะสมัยนี้ร้านอาหารนอกบ้านปรุงรสกันเยอะมากๆ โหมใส่กันทุกซอส ทุกเครื่องปรุง ทานข้าวแค่จานเดียว ได้รับโซเดียมเกินที่ต้องการต่อวันแน่นอน ทางที่ดีควรหาข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่ช่วยลดความดันมาทาน
3. ลดความอ้วน โดยลดอาหารหวานจัดและไขมันสูง หาเวลาไปออกกำลังกายบ้าง นอกจากช่วยควบคุมน้ำหนัก ยังคุมความดันและกำจัดไขมันออกจากร่างกายได้ด้วยค่ะ
4. ปฏิบัติตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตามโรคความดันสูงค่อนข้างอันตราย ดังนั้นห้ามเลิกทานยาเองโดยเด็ดขาด หมั่นไปพบแพทย์อยู่เสมอเพื่อติดตามอาการ ถ้าหากมีภาวะแทรกซ้อนใดๆ จะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ

เพื่อนๆ คงพอจะทราบแล้วนะคะ ว่าเราจะลดความดันโลหิตสูงได้ยังไงกันบ้าง ใครที่เป็น DooDiDo บอกไว้เลยว่าควรต้องหันกลับมาดูแลสุขภาพตัวเองกันได้แล้ว อย่างแรกเลยต้องเข้ารับการรักษากับการแพทย์ปัจจุบันเพื่อติดตามอาการและคอยตรวจเช็คแนวโน้มของโรค ทานยาอย่างสม่ำเสมอ ห้ามหยุดยาเอง ส่วนใครที่อยากให้ผลการรักษาดีขึ้น สามารถลองทานชาลดความดันโลหิตสูงควบคู่ดูได้ แต่ก่อนทานอย่าลืมศึกษาถึงข้อดีข้อเสีย เพราะสมุนไพรบางตัวมีข้อจำกัดในการทานด้วยนะค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://sukkaphap-d.com