ข้าวไทย โคม่าส่งออกล่วงหนักจากเดือนละล้านเหลือแค่ 4 แสน

SA Game

ภาพจาก pixabay

วิกฤตส่งออกข้าววิ่งสวนทางยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567 ของรัฐบาล

ข้าวไทย ภายใต้ยุทธศาสตร์ข้าวแล้ว แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าทิศทางอุตสาหกรรมข้าวไทย “เหนื่อยหนัก” ผู้ส่งออกต้องลดขนาดองค์กร ลดต้นทุน ประคองธุรกิจให้รอดไปได้ท่ามกลางผลจากโควิด-19 ถือเป็นความท้าทายต่อการรักษาบัลลังก์ท็อป 3 ของโลก วิกฤตการส่งออกข้าวที่มีแนวโน้มจะปิดบัญชีปี 2563 ได้แค่ 6 ล้านตัน ต่ำที่สุดในรอบ 20 ปี

ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารข้าวแห่งชาติ (นบข.) ครั้งที่ 4/2563 ได้มีมติเห็นชอบ “ยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2563-2567” ตามแนวนโยบายรัฐบาลที่ต้องการให้ใช้ตลาดนำการผลิต

ตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นผู้นำในด้านการผลิต การตลาดข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวคุณภาพของโลก โดยมีพันธกิจ 4 ด้านสำคัญ คือ การพัฒนาพันธุ์ใหม่ ไม่น้อยกว่า 12 พันธุ์ในช่วงระยะเวลา 5 ปี เพื่อสนองต่อความต้องการของตลาด

การสร้างสมดุลระหว่างความต้องการและการผลิตในประเทศ การลดต้นทุนการผลิตจากไร่ละ 6,000 เหลือ 3,000 บาท และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตจาก 465 เป็น 600 กิโลกรัมต่อไร่ และเร่งวิจัยและคิดค้นนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

SA Game
ภาพจาก pixabay

ไทยต้องหันกลับมาตั้งคำถามว่าความยิ่งใหญ่ของไทยกำลังจะกลายเป็นอดีตหรือไม่ เพราะการส่งออกข้าวไทยช่วง 9 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ย.) 2563 ลดลง 30% เหลือเพียง 4.04 ล้านตัน หรือเฉลี่ยเดือนละ 4.4 แสนตันเท่านั้น จากที่เคยส่งออกได้สูงสุดเดือนละ 1 ล้านตัน

รองจากอินเดีย อันดับ 1 ที่ส่งออกได้ 9.86 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 19.5% จากปีก่อนที่ได้ 8.25 ล้านตัน และเวียดนาม อันดับ 3 ส่งออกได้ 4.99 ล้านตัน ลดลง 1.9% จากปีก่อนที่ได้ 5.06 ล้านตัน

เมื่อวิเคราะห์พบว่า “ข้าวนึ่ง” ลดลงถึง 51% จาก 1.8 ล้านตัน เหลือเพียง 8.64 แสนตัน “ข้าวขาว” ลดลง 40% จาก 2.3 ล้านตัน เหลือ 1.41 ล้านตัน บวกกับปลายข้าวขาวที่ลดลง 60% จาก 1.45 แสนตัน เหลือเพียง 58,097 ตัน ถือว่าเป็นกลุ่มที่น่าห่วง ขณะที่ “ข้าวหอมมะลิ” กลับกลายเป็นข้าวชนิดเดียวที่ยังส่งออกได้ดี ปริมาณ 3.58 แสนตัน เพิ่มขึ้น 37.4% จากปีก่อนที่ 2.61 แสนตัน

จากการลงพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ของ นายเจริญ เหล่าธรรมทัศน์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยและคณะ เพื่อสำรวจพื้นที่ปลูกข้าวในฤดูการผลิต 2563/64 มีแนวโน้มปี 2564 ที่การส่งออกจะกลับมาดีขึ้น คาดว่าจะมีปริมาณ 7 ล้านตัน

จากแนวโน้มราคาส่งออกไทยลดลงต่ำกว่าคู่แข่ง ทำให้ผู้นำเข้าข้าวจะหันมาซื้อข้าวไทยมากขึ้น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทยจากตันละ 1,000 เหลือตันละ 800 เหรียญสหรัฐ ส่วนข้าวหอมเวียดนาม ตันละ 514 เหรียญสหรัฐ ข้าวหอมกัมพูชาตันละ 973 เหรียญสหรัฐ ส่วนข้าวขาวไทยราคาตันละ 500 เหรียญสหรัฐ ขยับเข้าใกล้เวียดนามห่างกันแค่ 10 เหรียญสหรัฐ

แนวโน้มการส่งออกข้าวปี 2564 ฟื้น เนื่องจากตลาดส่งออกสำคัญโดยเฉพาะแอฟริกายังคงต้องการนำเข้าข้าวเพิ่มจากทิศทางราคาปีนี้ปรับตัวลดลง

แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตข้าวไทยเสี่ยงที่จะแพ้ให้กับเมียนมาและจีน เนื่องจากไทยมีพันธุ์ข้าวสำหรับแข่งขันในตลาดโลกน้อย ทั้งยังคุณภาพข้าวก็ลดลง ปริมาณผลผลิตต่อไร่ต่ำเพียง 300-400 กก.ต่อไร่ ขณะที่เวียดนามมีพันธุ์ข้าวกว่า 9 สายพันธุ์ออกมาทำตลาด เช่น พันธุ์ ST25 พันธุ์ 504 ซึ่งให้ผลผลิตต่อไร่สูง และคุณภาพดี นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าว

จากผลการสำรวจการผลิตข้าวปี 2564/2563 ครั้งนี้ คาดว่าไทยมีพื้นที่ปลูก 60-61 ล้านไร่ ให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 6-10% จาก 24 เป็น 25 ล้านตันข้าวเปลือก ด้วยปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น

ผลผลิตข้าวในฤดูการผลิต 2563/64 คาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยขณะนี้ภาคกลางและภาคเหนือเก็บเกี่ยวแล้ว 70-80% ส่วนข้าวหอมมะลิ 105 จะเก็บเกี่ยวช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนเป็นต้นไป

ส่วนราคาข้าวเปลือกขณะนี้ลดลงอย่างต่อเนื่อง (กราฟิก) เพราะผลผลิตออกมาก ไทยส่งออกลดลง และปริมาณสต๊อกข้าวในปริมาณสูง แต่เกษตรกรยังได้รับผลดีจากโครงการประกันรายได้ นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย กล่าว

ในขณะที่ นายหัสดิน สุวัฒนะพงศ์เชฏ เลขาธิการสมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า แนวโน้มปีนี้คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้น โดยโรงสียังดำเนินการรับซื้อปกติตามราคาตลาดและค่าความชื้น

แต่โรงสียังประสบปัญหาเรื่องสภาพคล่อง จากมูลค่าข้าวลดลงทำให้มูลค่าหลักทรัพย์ลดลง ต้องเร่งระบายข้าวออกมา เงินหมุนเวียนไม่ทัน จึงต้องการให้สถาบันการเงินผ่อนผันกฎเกณฑ์การคืนเงินกู้ และการขอวงเงินกู้ใหม่เพื่อให้โรงสีมีสภาพคล่องมากขึ้น

เศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจทั่วโลก บทวิเคราะห์เศรษฐกิจ เจาะตลาดการวางแผนเศรษฐกิจ  เศรษฐกิจการเงิน เศรษฐกิจการลงทุน ติดตามข่าวเศรษฐกิจด่วน กระแสข่าวเศรษฐกิจ ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ