ข้อควรรู้!! โภชนาการที่ถูกต้องกับการรักษาโรคมะเร็ง

WM

การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย

“โรคมะเร็ง” เมื่อพูดถึงโรคนี้ ก็ฟังดูแล้วน่ากลัวบางคนเข้ารับการรักษาอาการได้ทันท่วงที และกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ แต่บางคนกลับโชคร้าย หลายท่านอาจจะกังวลกับการรักษา และผลข้างเคียงจากการรักษา จริงๆ แล้วหากได้รับข้อมูลทางโภชนาการที่ถูกต้อง ก็จะสามารถช่วยให้ผลข้างเคียงบรรเทาลงได้ ช่วยให้สุขภาพไม่ทรุดลงไปมากกว่าที่ควร ในบทความนี้เราได้รวบรวมข้อมูลทางโภชนาการที่มีผลงานวิจัยทางการแพทย์ยืนยัน และมีการใช้จริงในโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ที่กำลังรักษาโรคมะเร็งได้มีข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ดูแลรักษาสุขภาพตัวเองด้วยอาหารที่ถูกต้อง

อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย โดยควรรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอและเหมาะสม ก่อน ระหว่างและหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้น ลดอาการแทรกซ้อน และมีความรู้สึกดีขึ้นมีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรคได้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/shutterbug75-2077322/

วิธีดูแลอาหารเพื่อลดผลข้างเคียงสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

  1. อาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อปลา ไข่ นม ถั่ว ต่างๆ เพราะผู้ป่วยมะเร็งมีอัตราการสลายโปรตีนเพิ่มขึ้น การได้รับโปรตีนและกรดอะมิโนที่จำเป็นอย่างเพียงพอ จึงเป็นสิ่งสำคัญในผู้ป่วยมะเร็ง เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน
  2. อาหารที่ให้พลังงานสูง เนื่องจากผู้ป่วยมักกินอาหารได้ในปริมาณน้อย
  3. กินผักผลไม้ให้ครบวันละ 5 สี จัดเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีคุณสมบัติในการป้องกันไม่ให้มะเร็งลุกลามได้ (ควรล้างให้สะอาด) เช่น มะเขือเทศ ดอกกะหล่ำ คะน้า แขนงผัก บล็อคโคลี ผักโขม กะหล่ำปลีสีม่วง ถั่ว ส้ม แก้วมังกรสีชมพู มะม่วง (สุก-ดิบ) เป็นต้น
  4. กินไขมันจากปลา เพราะน้ำมันปลามีกรดโอเมก้า 3 ช่วยลดการอักเสบ เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่น้ำหนักตัวน้อย และ ไม่ควรกินอาหารที่มีไขมันจากสัตว์ที่เป็นไขมันอิ่มตัวมาก เช่น หนังติดมัน น้ำมันหมู เพราะสามารถถูกเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้
  5. กินมื้อใหญ่ในช่วงเช้า และแบ่งอาหารเป็นมื้อเล็กๆ หลายมื้อ ช่วยให้กินอาหารได้มากขึ้น
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@jsnbrsc

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งและผู้ป่วยที่ได้รับยาเคมีบำบัด

  1. ได้รับสารอาหารพอเพียง คนที่เป็นมะเร็ง ร่างกายจะอักเสบ ทำให้เผาผลาญพลังงาน และเผาผลาญโปรตีนสูงกว่าคนปกติ จึงควรรับอาหารเสริมเพิ่มเติมให้พอเพียงต่อวัน
  2. ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น จำนวนเซลล์เม็ดเลือดขาวในเลือดเพิ่มขึ้น สามารถเข้ารับการรักษา cycle รอบถัดไปได้ โดยไม่ต้องเลื่อนการรักษา ผู้ป่วยจะไม่ต้องทนทุกข์ใจ หรือต้องรอเวลา เพราะหากต้องเลื่อนการรักษา ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่เซลล์มะเร็งจะพัฒนาในช่วงที่ถูกเลื่อนไป
  3. ช่วยลดอาการอักเสบในช่องปาก (mucositis) ในกลุ่มที่ได้เคมีบำบัดร่วมกับฉายแสง ซึ่งหากมีอาการนี้ จะทรมานและทำให้กินอาหารลำบาก ส่งผลให้สุขภาพทรุดลง การได้รับอาหารเสริมเฉพาะทางนี้ จะช่วยลดอาการอักเสบ ป้องกันไม่ให้รุนแรงได้

อาหารเป็นสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง การรับประทานอาหารให้ได้สารอาหารเพียงพอเหมาะสม ก่อน ระหว่าง และหลังการรักษาจะช่วยให้ผู้ป่วยแข็งแรงขึ้นและมีความรู้สึกดีขึ้น มีกำลังใจที่จะต่อสู้กับโรค เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับโภชนาการที่เหมาะสม ผู้ป่วยจะต้องรับประทานอาหารและเครื่องดื่มที่มีสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ โปรตีน คาร์โบไอเดรต ไขมันและน้ำ อย่างเพียงพอ  สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผลข้างเคียงของอาการรักษาอาจจะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย อาการเหล่านั้นคือ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ท้องผูกแสบปาก กลืนลำบาก และเจ็บปากเมื่อกลืนอาหาร ยารักษามะเร็งอาจมีผลลดความอยากอาหารลง สิ่งเหล่านำไปสู่ปัญหาทางโภชนาการ (ขาดสารอาหาร) ทำให้ผู้ป่วยอ่อนแอ เหนื่อยง่าย ภุมิต้านทานลดลงและติดเชื้อง่าย ไม่สามารถทนต่อการบำบัดได้

ทำไมผู้ป่วยมะเร็งจึงขาดสารอาหาร

  1. ร่างกายต้องการพลังงานมากขึ้น เซลล์มะเร็งจะสร้างสารเคมีบางอย่างมำให้เผาผลาญอาหารได้โดยเร็ว
  2. รับประทานอาหารได้น้อยในขณะที่ร่างกายต้องการอาหารเพื่อนำไปสร้างพลังงานเพิ่มขึ้น แต่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวนมากจะเบื่ออาหาร เมื่อเซลล์มะเร็งแพร่กระจาย การเบื่ออาหารจึงเป็นสาเหตุทำให้ขาดสารอาหารได้ง่ายขึ้น ทำอย่างไรจะทำให้รับ ประทานอาหารได้มากขึ้นได้
  3. ไม่รับประทานอาหารบางชนิด  ปัญหาการที่ไม่รับประทานอาหารหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะเข้าใจว่าเป็นอาหารแสลงต่อโรคมะเร็ง ยังเป็นอีกปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งขาดสารอาหาร
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@mvdheuvel

อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับเคมีบำบัด

ผู้ป่วยมะเร็งที่สามารถกินอาหารได้พอสมควร ควรกินตามแนวทางการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพดีของคนไทย ดังนี้

  1. กินอาหารในครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลาย เพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วนเพียงพอ ต่อความต้องการของร่างกาย หมั่นดูแลน้ำหนักตัวเองให้อยู่ในมาตรฐาน ไม่ผอมเกินไป
  2. กินข้าวเป็นอาหารหลัก สลับกับอาหารประเภทแป้ง เลือกรับประทาน ข้าวกล้อง+ข้าวไร้เบอรี่+ข้าวแดง จะได้คุณค่าและใยอาหารมากกว่า
  3. กินผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำกินให้หลากสี ผักสีเขียวเข้ม เช่น ตำลึง ผักโขม บล็อคโคลี่ จะสร้างภูมิคุ้มกันโรค และต้านมะเร็งได้
  4. การกินปลา เนื้อสัตวืไม่ติดมัน ไข่ เป็นประจำ ปลาเป็นโปรตีนคุณภาพดี ย่อยง่าย ไขมันต่ำ ควรกินบ่อย การกินไข่ถ้าไม่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงรับประทานได้วันละ1ฟอง แต่ถ้าเป็นไขมันในเลือดสูงควรกินเฉพาะไข่ขาว เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ลดการรับประทานเนื้อแดง และหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูปที่มีการเติมสารกันบูด เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน กุนเชียง แหนม เพราะมีการวิจัยพบว่ามีส่วนกระตุ้นเซลล์มะเร็ง
  5. การดื่มนมเพื่อบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยควรดื่มนมสดหรือนมพร่องมันเนยวันละ1-2แก้ว
  6. กินอาหารที่มีไขมันแต่พอควร เช่น กินอาหารทอด ผัก แต่พอควร หลีกเลี่ยงอาหารทอดจากน้ำมันปาล์มหรือน้ำมันทอดซ้ำ อาหารปิ้ง ย่าง(ไม่ดำไหม้เกรียม) เลือกอาหารประเภทต้มนึ่ง แกงที่ไม่ใส่กะทิ เช่น แกงส้ม ต้มยำ แกงจืด
  7. หลีกเลี่ยงการกินอาหารหวานจัด เค็มจัด เพราะถ้ากินหวานจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน โรคเบาหวาน กินเค็มจะเสี่ยงเป็นโรคไต โรคความดันโลหิตสูง
  8. กินอาหารที่สะอาดปราศจากการปนเปื้อน เพราะอาหารที่ไม่ปรุงสุก และปนเปื้อนเชื้อโรค และสารเคมีต่างๆ เช่น สารบอแรกซ์ สารกันรา สีย้อมผ้า สารฟอกขาว ฟอร์มาลีน และยาห่าแมลง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ และเป็นผลเสียต่อโรคมะเร็ง
  9. งดหรือลด เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ มีส่วนทำให้เกิดโรคร้ายมากมาย

ดังนั้นผู้ป่วยที่รักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัดมักมีปัญหาเม็ดเลือดขาวต่ำเป็นบางช่วง ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ DooDiDo แนะนำว่าควรระวังความสะอาดของอาหาร ได้แก่ ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ ก่อนรับประทานอาหาร และการหยิบอาหารสดบางประเภท เช่น เนื้อสัตว์ ปลาดิบ ไข่สด ต้องล้างมือ ทำความสะอาดอุปกรณ์ เครื่องใช้ในการปรุงประกอบอาหาร ล้างผัก ผลไม้ให้สะอาด อาหารที่ปรุงสุกแล้วเก็บรักษาในอุณหภูมิที่เหมาะสม รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ การรับประทานอาหารนอกบ้านควรดูแลความสะอาดเป็นพิเศษด้วยเช่นกันค่ะ 

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.vibhavadi.com