ข้อควรรู้!! การรักษาและป้องกัน อาการท้องอืด แน่นท้อง

WM

สาเหตุอาการท้องอืด แน่นท้อง ภัยเงียบเสี่ยงเนื้องอกในลำไส้ได้

สำหรับอาการท้องอืด (Bloated stomach) คือภาวะที่ท้องเกิดอาการแน่นเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะอาหาร จนทำให้ท้องดูมีลักษณะบวม ท้องอืดสามารถเกิดขึ้นกับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งเมื่อเกิดอาการแล้วจะส่งผลให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ไม่สะดวกเนื่องจากรู้สึกอึดอัดท้องนอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวด และมีลมในกระเพาะอาหารเป็นจำนวนมาก จนทำให้เรอ หรือผายลมบ่อย บ้างก็มีอาจได้ยินเสียงโครกครากภายในท้อง และมีอาการปวดท้องร่วมด้วย  

ทุกครั้งที่เกิดอาการผิดปกติเล็ก ๆ น้อย ๆ ส่วนใหญ่แล้ว เราก็เลือกที่จะหายามากินบรรเทาอาการกันง่าย ๆ น้อยคนนักที่จะไปหาหมอเพื่อรักษาอาการป่วยแบบนิด ๆ หน่อย ๆเหล่านี้ แต่ อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้องนั้น บางครั้งก็หมายถึงโรค หรือความเจ็บป่วยอย่างอื่นได้ด้วยนะ ทั้งนี้หากอาการเป็นต่อเนื่องนาน ๆ โดยไม่มีสาเหตุ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด อย่าละเลยเป็นอันขาดเพราะนั่นคือความผิดปกติที่อาจนำไปสู่อันตรายต่อสุขภาพได้ 

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/nastya_gepp-3773230/

สาเหตุของอาการท้องอืด

  • การกลืนอากาศเข้าไปในปริมาณที่มาก การอ้าปาก พูดคุย หัวเราะ หรือแม้แต่หายใจทางปากจะทำให้ลมเข้าไปอยู่ในท้องเป็นจำนวนมาก และจะไหลไปตามระบบลำไส้ จากนั้นจะถูกปล่อยออกด้วยการผายลม ซึ่งถ้าหากลมภายในช่องท้องมีมากเกินไปอาจทำให้เกิดท้องอืดและมีอาการสะอึกร่วมด้วยได้
  • การรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีแก๊สหรือก่อให้เกิดแก๊ส อาหารเช่น ถั่ว บรอกโคลี เครื่องดื่มอัดแก๊ส หรือเบียร์ จะทำให้เกิดการสะสมแก๊สในกระเพาะอาหารจนกลายเป็นอาการท้องอืด แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสภาพระบบย่อยอาหารของแต่ละคนด้วย
  • ท้องผูก อาการท้องผูกเป็นอีกหนึ่งสาเหตุของท้องอืดที่พบได้บ่อย แต่จะไม่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร
  • การรับประทานยาบางชนิด อาหารเสริมหลาย ๆ ชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยาระงับอาการปวดชนิดเสพติด (Narcotic Pain Medications) วิตามิน อาหารเสริมธาตุเหล็ก หรือยารักษาอาการท้องผูกอีกหลาย ๆ ชนิด สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงอย่างอาการท้องอืดได้
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงของผู้หญิงสามารถก่อให้เกิดภาวะก่อนมีประจำเดือน ซึ่ง 1 ในอาการของภาวะนี้จะทำให้ร่างกายมีน้ำเพิ่มขึ้น จนเป็นสาเหตุของอาการท้องอืดนั่นเอง
  • ความอ่อนแอของผนังช่องท้อง ผนังช่องท้องที่อ่อนแอเนื่องมากจากการคลอดบุตรหรือการผ่าตัดช่องท้องสามารถก่อให้เกิดอาการท้องอืดได้

นอกจากนี้อาการท้องอืดมีสาเหตุมาจากโรคหรือภาวะทางสุขภาพที่รุนแรงและอันตราย ได้แก่

  • ภาวะอาหารผ่านเข้าสู่กระเพาะอาหารอย่างรวดเร็ว
  • ภาวะน้ำในช่องท้อง จากโรคตับหรือโรคไต
  • เนื้องอกในช่องท้อง
  • โรคแพ้โปรตีนกลูเตน
  • โรคมะเร็ง เช่น มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งรังไข่ เป็นต้น

บางครั้งอาจเกิดจากความปกติกับตับอ่อนจนทำให้ไม่สามารถผลิตเอ็นไซม์ที่ใช้ในการย่อยอาหารออกมาได้ ดังนั้นจึงต้องสังเกตความถี่ของอาการ และรีบไปพบแพทย์หากเกิดอาการท้องอืดเรื้อรัง ร่วมกับความผิดปกติอื่น ๆ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/conmongt-1226108/

การรักษาอาการท้องอืด

  • ลดปริมาณอากาศที่กลืนเข้าร่างกาย วิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยกลืนอากาศเข้าไปทางปากก็คือ การเคี้ยวอาหารให้ช้าลง หลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่ง และห้ามใช้หลอดในการดูดเครื่องดื่มเป็นต้น
  • จำกัดปริมาณการดื่มเครื่องดื่มอัดแก๊ส และมีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม โซดา น้ำผลไม้ที่มีน้ำตาลมาก ๆ เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร เช่น ถั่วชนิดต่าง ๆ และผักที่มีลักษณะเป็นหัว สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการท้องอืดจากการแพ้โปรตีนกลูเตน ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของข้าวสาลีทุกชนิด หากแพ้น้ำตาลแลกโตสก็ควรงดผลิตภัณฑ์จากนมเช่นกัน
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของสารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยสารให้ความหวานที่ควรงดคือ ซอลบิทอล (Sorbitol) เพราะผลิตจากน้ำตาลฟรุกโตสที่เป็นสาเหตุของอาการท้องอืด
  • งดสูบบุหรี่ การเลิกสูบบุหรี่จะช่วยลดการกลืนอากาศเข้าร่างกายมากเกินไป อีกทั้งยังช่วยให้อาการท้องอืดหายไปได้
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/athree23-6195572/

การป้องกันอาการท้องอืด

การป้องกันอาการท้องอืดสามารถทำได้ตั้งแต่การเลือกรับประทานอาหาร โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดอาการท้องอืด รวมทั้งหลีกเลี่ยงการเคี้ยวหมากฝรั่งบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ตัวเองกลืนอากาศเข้าไปมากจนผิดปกติ หากมีอาการท้องอืดบ่อย ๆ เนื่องจากรับประทานอาหารมากเกินไป ควรลดปริมาณอาหารลง หรือย่อยมื้ออาหารจาก 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อ เพื่อให้ระบบย่อยอาหารทำงานได้อย่างเป็นปกติ นอกจากนี้ยังควรสำรวจความผิดปกติของร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และควรรีบปรึกษาแพทย์หากมีอาการท้องอืดที่ผิดปกติ บางรายอาการท้องอืดที่มีสาเหตุมาจากความผิดของโรคซ่อนอยู่อาจนำไปสู่อาการที่รุนแรงมากขึ้น เช่น อาการหัวใจวาย เป็นต้น

เมื่อรู้แล้วว่าอะไรที่เป็นสาเหตุทำให้ท้องอืดแล้ว คุณควรปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารและปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หากคุณเปลี่ยนแล้วยังมีอาการท้องอืดเรื้อรังอยู่โดยไม่ทราบสาเหตุ DooDiDo ไม่แนะนำให้คุณซื้อยามารับประทานเอง ให้คุณรีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุให้แน่ชัดและทำการรักษาต่อไปค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://board.postjung.com