ข้อควรรู้หากคุณป่วยเป็น”โรคตับอักเสบ” ควรดูแลตัวเองที่อย่างไร

WM

วิธีดูแลตัวเอง และสิ่งที่ห้ามทานเมื่อเป็นโรคตับอักเสบ

บ่อยครั้งที่เวลาเรามีอาการเจ็บป่วยแล้วมักจะละเลยปล่อยให้ตัวเองด้วยการทานยา และไม่ไปพบหมอเพราะคิดว่าไม่เป็นอะไรมาก แต่คุณรู้หรือไม่ว่าหากอาการที่คุณเป็นมันรุนแรงจนเมื่อป่วยเป็น โรคตับอักเสบ ห้ามกินอะไร อาจเป็นคำถามที่หลายคนสงสัย เนื่องจากโรคตับอักเสบเป็นโรคที่ทำให้เกิดการอักเสบของตับ เนื้อเยื่อตับถูกทำลาย และทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายอ่อนแอลง ผู้ป่วยจึงควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่อาจเพิ่มการอักเสบของตับและทำให้ตับทำงานหนักขึ้น เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ อาหารที่มีน้ำตาลและเกลือสูง รวมทั้งอาหารที่ไม่ผ่านการปรุงสุก

โรคตับอักเสบ ห้ามกินอะไร ผู้ป่วยโรคตับอักเสบอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพตับ และอาจทำให้โรคตับอักเสบมีอาการที่รุนแรงขึ้น ดังนี้

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@rabbit_in_blue

อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์
การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงโดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ อาจทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นและอาจกลายเป็นโรคอ้วนได้ ซึ่งอาจทำให้ไขมันเข้าไปสะสมในเซลล์ตับมากขึ้นและทำให้ตับบวมจนกลายเป็นโรคไขมันพอกตับ เมื่อเวลาผ่านไปอาจส่งผลให้เนื้อเยื่อตับแข็งตัวและเป็นแผลเป็น ซึ่งอาจทำให้เกิดเป็นโรคตับแข็ง

การสะสมของไขมันในตับที่สูงขึ้นอาจส่งผลให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับตับหลายชนิด เช่น โรคตับอักเสบ โรคไขมันพอกตับ ทั้งยังอาจทำให้สุขภาพและการทำงานของตับแย่ลง นอกจากนี้ การสะสมของไขมันในตับยังอาจขัดขวางการออกฤทธิ์ของยาในการรักษาไวรัสตับอักเสบ ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาของยาลดลง

อาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์ ได้แก่ เนื้อสัตว์ติดมันและติดหนัง ครีมเทียม ขนมกรุบกรอบ อาหารทอด ขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ อาหารแปรรูป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป อาหารปรุงสำเร็จแช่แข็ง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/blandinejoannic-15617008/

อาหารที่มีน้ำตาลสูง
การรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูงอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพตับได้ เนื่องจากร่างกายจะใช้น้ำตาลในการสร้างไขมัน ดังนั้น การรับประทานน้ำตาลมากขึ้นอาจส่งผลให้ร่างกายสร้างไขมันที่เป็นอันตรายต่อตับมากขึ้นไปด้วย ส่งผลให้ไขมันสะสมในตับมากขึ้นจนเกิดการอักเสบ การทำงานของตับแย่ลงและนำไปสู่โรคตับหลายชนิด เช่น โรคตับอักเสบ โรคไขมันพอกตับ โรคตับแข็ง

นอกจากนี้ การรับประทานน้ำตาลในปริมาณมากยังอาจส่งผลให้ร่างกายเกิดการอักเสบเรื้อรัง และอาจก่อให้เกิดโรคอีกหลายชนิด เช่น โรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ น้ำอัดลม น้ำหวาน นมหวาน น้ำผลไม้เติมน้ำตาล น้ำตาลทรายขาว น้ำเชื่อม

อาหารที่มีเกลือสูง
การรับประทานเกลือในปริมาณมากนอกจากจะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงแล้ว ยังอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพตับของผู้ใหญ่และทารกในครรภ์ได้อีกด้วย เนื่องจากปริมาณโซเดียมที่มากเกินไปอาจทำให้ตับเกิดการอักเสบ เซลล์ผิดรูป อัตราการตายของเซลล์ตับสูงขึ้น และการแบ่งเซลล์ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของตับที่แย่ลง

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/mabelamber-1377835/

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพตับอย่างมาก เนื่องจากตับมีหน้าที่ในการขับของเสียและสารพิษออกจากร่างกาย ดังนั้น การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากจึงอาจส่งผลให้ตับทำงานหนักมากขึ้นเพื่อขับสารพิษที่เป็นอันตรายออกจากร่างกาย

สำหรับผู้ป่วยโรคตับอักเสบที่เนื้อเยื่อตับอักเสบ มีอาการบาดเจ็บและอาการบวม หากดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็อาจทำให้สุขภาพตับแย่ลง เซลล์ตับถูกทำลายเพิ่มขึ้น และอาจทำให้โรคตับอักเสบมีอาการที่ทรุดลงตามไปด้วย

อาหารดิบและไม่ผ่านการปรุกสุก
ผู้ที่เป็นโรคตับอักเสบควรรับประทานอาหารที่ผ่านการปรุงสุกเสมอ เนื่องจากโรคตับอักเสบเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเข้าทำลายเนื้อเยื่อตับ ทำให้ตับเกิดการอักเสบ หากผู้ป่วยรับประทานอาหารดิบที่ไม่ผ่านการปรุงสุก เช่น หอยนางรม แซลมอนดิบ ทูน่าดิบ ก็อาจเสี่ยงที่อาหารเหล่านี้จะปนเปื้อนเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจส่งผลทำให้เกิดโรคที่อาจส่งผลต่อสุขภาพตับ เช่น โรคตับแข็ง โรคไขมันพอกตับ และอาจเพิ่มการติดเชื้อเข้าสู่ร่างกายด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/dimhou-5987327/

การดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคตับอักเสบ วิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นโรคตับอักเสบ อาจทำได้ดังนี้

1. เข้ารับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่เป็นประจำทุกปี และวัคซีนป้องกันโรคปอดบวม ควรได้รับตั้งแต่อายุ 2 เดือน 4 เดือนและ 6 เดือนตามลำดับ แต่หากมีอายุ 65 ปีและไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนคุณหมอจะให้วัคซีน 2 ครั้ง โดยห่างกันเข็มละ 1 ปี เพื่อป้องกันโรคแทรกซ้อนจากโรคตับอักเสบ
2. หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรือสูดดมสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อตับ เช่น ยาฆ่าแมลงและยากำจัดวัชพืช สีทาบ้าน ทินเนอร์
3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เนื่องจากในขณะนอนหลับจะช่วยลดความเครียด และร่างกายได้มีเวลาซ่อมแซมส่วนที่สึกหรออย่างเหมาะสม
4. รับประทานอาหารที่หลากหลาย โดยผู้ป่วยควรรับประทานอาหารที่มีทั้งโปรตีน เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง ผักและผลไม้ ธัญพืช และไขมันดี เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและส่งผลดีต่อสุขภาพ
5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ โดยควรออกกำลังกายความเข้มข้นปานกลาง เช่น เต้นแอโรบิก เดินเร็ว ว่ายน้ำ อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ วันละ 30 นาที
6. จัดการกับความเครียด ความเครียดอาจทำให้สภาพจิตใจย่ำแย่ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้ จึงควรหากิจกรรมที่สามารถช่วยจัดการกับความเครียดได้ เช่น นั่งสมาธิ อ่านหนังสือ วาดรูป พูดคุยกับเพื่อนหรือคนในครอบครัว

จากข้อใมูลในเบื้องต้น DooDiDo ขอแนะนำว่า อย่างไรก็ตามผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ หากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ และรักษาอย่างทันท่วงที ก็จะช่วยลดปริมาณของไวรัส ลดการอักเสบของตับ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ ทำให้สมรรถภาพการทำงานของตับดีขึ้น

ขอบคุณแหล่งที่มา: https://hellokhunmor.com