การเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ต่างประเทศ “อเมริกันพิทบูลเทอเรีย”

WM

มาดู!! ลักษณะสายพันธุ์และนิสัย “American Pit bull terrier”

สวัสดียามเช้าค่ะเพื่อนๆ ใครรักในการเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ต่างประเทศมาทางนี้เลยค่ะ วันนี้เราได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสุนัขสายพันธุ์ผสมที่มีเอกลักษณ์ 2 สายพันธุ์ที่ออกมาแล้วน้องคือเจ้าสุนัขสุดหล่อจากประเทศสหรัฐอเมริกาเลยที่เดียวค่ะ เพื่อนท่านไหนที่กำลังตามหาสุนัขสายพันธุ์ขนาดกลางมาเลี้ยงเพื่อเฝ้าบ้าน หรือกำลังตามหาเจ้าสุนัขสายพพันธุ์ที่ดุและยังคงความน่ารักและนิสัยขี้เล่น  สุนัขสายพันธุ์อเมริกันพิทบูลเทอเรีย คือคำตอบที่ดีเยี่ยมเลนทีเดียวละคะ ถึงแม้ว่าน้องจะมีนิสัยก้าวร้าว ดุร้ายไปบ้าง แต่เรื่องของความซื่อสัตย์และรักผู้เป็นเจ้าของน้องคือเดอะเบสของสุนัขเลยนะคะ แหม่ๆรอที่จะรู้กับอเมริกันพิทบูลเทอเรียไม่ไหวแล้วละซิ มาตามอ่านข้อมูลดีๆที่เรานำมาฝากในวันนี้ได้เลยคะ

 ในช่วงศตวรรษที่ 19 สุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เกิดจากการผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่างบูลด๊อก กับ สุนัขเทอร์เรีย เข้าด้วยกัน เพื่อให้ได้สุนัขที่มีความแข็งแกร่ง  และความปราดเปรียว จนได้รับรางวัลสุนัขสายพันธุ์ผสมที่มีความแข็งแรงและความน่าประทับใจ นอกจากนี้ อเมริกันพิทบูลยังถูกใช้ช่วงสงครามในฐานะผู้พิทักษ์ ด้วยลักษณะเด่นของสายพันธุ์นี้ที่มีความก้าวร้าว และความน่าเกรงขาม ต่อมา ในปี 1920 สุนัขสายพันธุ์นี้ได้รับการฝึกฝน เพื่อใช้ในการล่อกระทิง และการต่อสู้อื่น ๆ อย่าง ความสามารถในการสะกดรอย การแข่งขันเรื่องของความเร็ว (Agility) การไล่ล่า และการลากน้ำหนัก จนขึ้นชื่อว่าเป็นสุนัข “Fighting dog”

จากนั้นในปี 1980 ในสื่อภาพยนต์ รูปภาพเริ่มมีการใช้ภาพของสุนัขสายพันธุ์นี้มากขึ้น ทำให้ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยมา ปัจจุบันสุนัขสายพันธุ์ อเมริกันพิทบูลเทอเรีย เริ่มมีความคุ้นชินกับมนุษย์มากขึ้น รักความสงบมากขึ้น รักธรรมชาติ มีลักษณะที่แตกต่างจากบรรพบุรุษมากขึ้น และเป็นสุนัขสายพันธุ์ที่มีความใกล้ชิดกับสุนัขสายพันธุ์ Staffordshire terriers รวมถึงได้รับการขึ้นทะเบียนสุนัขพันธุ์อเมริกันพิทบูล จาก United Kennel Club (UKC) อีกด้วย

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@justinveenema

ลักษณะทางกายภาพ

อเมริกันพิทบูล เป็นสุนัขสายพันธุ์ขนาดกลาง ขนาดรูปร่างปานกลางสันทัด มีสัดส่วนที่พอดี ลำตัวปกคลุมด้วยขนที่สั้น  มีความเงา หยาบเล็กน้อย พบได้หลายสี  กล้ามเนื้อแน่นสัน ดวงตากลมเรียวคล้ายรูปร่างเพชร ขากรรไกรแข็งแรงและกว้างใหญ่ ใบหูมีขนาดเล็กค่อนไปขนาดกลาง ขนาดหางหนาและเรียว มีกล้ามเนื้อแขนที่ใหญ่รองรับน้ำหนักหัวได้เป็นอย่างดี สายพันธุ์นี้มีความสูงอยู่ที่ 18 -24 นิ้ว (46 to 61 เซนติเมตร) และมีน้ำหนักประมาณ 35 – 60 ปอนด์ (16 and 27 กิโลกรัม)

อายุขัย

อเมริกันพิทบูลเทอเรีย มีอายุเฉลี่ยอยู่ที่ 12 – 14 ปี ซึ่งถือว่าสูงกว่าสุนัขสายพันธุ์ที่อื่น ๆ ที่มีขนาดใกล้เคียงกัน

ลักษณะนิสัย

อเมริกันพิทบูลเทอเรีย มีชื่อเสียงที่ไม่ค่อยดีนักในเรื่องของความก้าวร้าว มีพละกำลังมากที่สุด แต่ก็น่าแปลกใจมากที่พวกเขานั้นเป็นที่รักของมนุษย์เสมอ เพราะเป็นสุนัขที่ เชื่อฟัง มีความภักดีและไว้ใจได้ พิทบูลก็ยังเป็นที่รู้จักในเรื่องของความซื่อสัตย์ จงรักภักดี สามารถตายแทนเจ้าของได้ด้วยเช่นกัน พิทบูลสามารถเรียนรู้ได้เร็วหากเราทำการฝึกพวกเขา ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำอย่างยิ่งในครัวเรือน แต่ก็ต้องตระหนักด้วยว่า พิทบูลอาจไม่เชื่อฟังในคำสั่งได้ตลอดเวลา เมื่อเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวก็ยากที่จะควบคุมได้ทันท่วงที

การเข้ากับเด็ก

พิทบูลมีความกระฉับกระเฉงและเข้ากันได้ดีกับเด็ก ๆ มีความอดทน ขี้เล่น เข้ากันได้ดีอย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อเขาได้รับความรัก และได้รับการต้อนรับอย่างคนในครอบครัว

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@alejandro_contreras

การดูแล

การออกกำลังกาย อเมริกันพิทบูลเทอเรียควรออกกำลังกายด้วยกิจกรรมที่ได้ใช้ร่างกายทุกส่วนอย่างเหมาะสม ด้วยความที่เป็นสุนัขที่ฉลาด จำเป็นที่จะต้องมีกิจกกรมที่ผ่อนคลายความเครียดบ่อยๆ เพื่อป้องกันพฤติกรรมก้าวร้าวที่ไม่พึงประสงค์ เช่น พาเดิน หรือ พาวิ่ง เดินเขา ซึ่งแน่นอนว่าเขาจะเป็นเพื่อนวิ่งที่ทำให้คุณสนุกไปด้วยได้ทุกเวลา

อาหาร

ความต้องการอาหารของพิทบูลในหนึ่งวันควรจะให้น้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ซึ่งควรคำนึงถึงอายุและกิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน สุนัขสายพันธุ์ขนาดกลางส่วนใหญ่กินอาหารประมาณ 20 ปอนด์ในหนึ่งเดือน

ปรึกษาสัตวแพทย์ เกี่ยวกับสูตรอาหารที่เหมาะกับสายพันธุ์ และควรจะมีน้ำสะอาดเตรียมไว้ให้สุนัขตลอดเวลา

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@themikeburke

โรคประจำพันธุ์

  1. โรคระบบผิวหนัง

เรื้อนเปียก (Mange)

ภูมิแพ้ (Skin allergies)

โรคแอกทินิก เคอราโทซิส (Actinic keratosis)

  1. โรคระบบประสาท

โรคไขสันหลังเสื่อม (Degenerative myelopathy)

โรคกล้ามเนื้อเกร็ง (Myotonia)

โรคเดินไม่สัมพันธ์ จากการทำงานที่ไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นผลมาจากสมองส่วนซีรีบรัม (Cerebellar ataxia)

  1. โรคระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจ

โรคลิ้นหัวใจพัลโมนารีตีบแคบ (Pulmonic stenosis)

โรคลิ้นหัวใจเอออร์ติกตีบ (Subvalvular aortic stenosis)

  1. โรคระบบทางเดินอาหารและตับ

โรคกระเพาะอาหารขยายและบิดตัว (Gastric dilatation volvulus)

มะเร็งกระเพาะอาหาร (Stomach cancer)

  1. โรคไตและทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Urate bladder stones)

  1. โรคระบบต่อมไร้ท่อ

ภาวะไทรอยด์ต่ำ (Hypothyroidism)

  1. โรคระบบกระดูกเอ็นและข้อต่อ

ภาวะเอ็นที่ข้อเข่าฉีกขาด (Cruciate ligament rupture)

โรคข้อสะโพกเจริญผิดปกติ (Hip Dysplasia)

  1. โรคตา

ขนตางอกผิดปกติ (Distichiasis)

เนื้อเยื่อรูม่านตาเหลือหลังคลอด (Persistent pupillary membrane)

โรคจอประสาทตาเสื่อม (Progressive retinal atrophy)

  1. โรคหู

โรคหูหนวก (Deafness)

สุนัขสายพันธุ์ขนากลางนี้สามารถที่จะเป็นเพื่อนคล้ายเหลาให้กับเพื่อนๆ และครอบครัวได้ ยังสามารถที่จะปกป้องอันตรายจากภัยนอกบ้านได้อย่างดีเยี่ยมด้วยนะคะ ในส่วนท้ายนี้ DooDiDo อยากจะฝากบอกถึงเพื่อนๆที่ตัดสินใจจะเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์อเมริกันพิทบูลเทอเรีย ท่านควรที่จะเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์นี้ด้วยความปลอดภัยขั้นสูงเนื่องจากลักษณะนิสัยของน้องยังคงหลงเหลือความดุร้ายไว้อยู่มาก การปล่อยให้สัตว์เลี้ยงของเราออกไปทำอันตรายแก่ผู้อื่นจะสร้างความเสียหายให้กับท่านอย่างแน่นอนคะ ดังนั้น การส่งน้องอเมริกันพิทบูลเทอเรียไปฝึกนิสัยถือเป็นอีกทางเลือกที่ดีด้วยนะคะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.baanlaesuan.com