การปวด ชา ที่ข้อมือ เสี่ยงเส้นประสาทกดทับบริเวณข้อมือได้

WM

ทำความรู้จักกับ “โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ”

คุณเคยสังเกตอาการเหน็บ ชา บริเวณข้อมือกันบ้างไหมคะ เวลาที่ต้องใช้มือในการยกสิ่งของหนัก ๆ หรือทำเวลาที่ทำงานบ้าน รีดผ้า ซักผ้า กวาดบ้านเป็นเวลานาน ๆ เกิดอาการปวดที่ข้อมือหรือเปล่า หากว่าใข่คุณอาจจะกำลังเสี่ยงกับโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ หรือพังผิดกดทับเส้นประสาทข้อมืออยู่ก็ได้ วันนี้เราจะพาคุณมาทำความรู้จักกับโรคนี้ พร้อมกับวิธีป้องกันด้วยค่ะ

ในชีวิตประจำวัน เราจำเป็นต้องใช้มือในการทำงานติดต่อกันเป็นเวลานาน หรือใช้มือทำงานหนักเกินไป จนไม่ได้สังเกตอาการเตือน ที่เป็นสัญญาณเริ่มแรกว่ามีความผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย ซึ่งมารู้ตัวอีกทีก็ตอนที่อาการเริ่มรุนแรงไปแล้ว เช่น ปวดข้อมือ มือชา มืออ่อนแรง ซึ่งการใช้มือกับการทำสิ่งเดิมๆ ซ้ำกันเป็นเวลานาน จะมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคนี้กันมากขึ้น นั่นก็คือโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ หรือ พังผิดกดทับเส้นประสาทข้อมือ โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ โรคนี้มีความน่าสนใจอย่างไร มาติดตามกันเลยดีกว่าค่ะ

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://pixabay.com/th/users/andreas160578-2383079/

โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ หรือพังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ เป็นกลุ่มโรคที่พบมากในผู้ที่ใช้มือทำงานมากๆ เช่น คนที่ต้องทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ กลุ่มแม่บ้าน โดยโรคนี้เกิดจากการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ โดยเส้นประสาทนี้จะทำหน้าที่รับความรู้สึกบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง และควบคุมกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ ถ้าโพรงของเส้นประสาทนี้ตีบแคบ ก็จะทำให้เกิดการทับเส้นประสาทส่งผลให้เกิดอาการปวดชาบริเวณนิ้วหัวแม่มือถึงนิ้วนาง

โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือพบได้บ่อยแค่ไหน
ในปัจจุบันพบได้บ่อยมากขึ้น และพบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องด้วยตามธรรมชาติแล้วโพรงของเส้นประสาทข้อมือของผู้หญิงมักจะแคบกว่าในผู้ชายจึงมักจะมีโอกาสเกิดโรคนี้ได้มากกว่า และในช่วงวัยที่พบโรคนี้บ่อยจะอยู่ในช่วงอายุ 30-50 ปี

ลักษณะอาการ
อาการทั่วไปของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ คือความรู้สึกชาบริเวณนิ้วหรือมือ หรือปวดแสบเหมือนถูกเข็มทิ่ม บริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง หรือนิ้วนาง แต่จะไม่เกิดขึ้นกับนิ้วก้อย อาการจะเกิดขึ้นเยอะช่วงกลางวัน ในขณะที่กำลังทำกิจวัตรประจำวันเช่นขับรถ หรือการหยิบจับสิ่งของ อย่างเช่นการถือโทรศัพท์หรือหนังสือพิมพ์ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการช่วงตอนนอน เนื่องจากการงอข้อมือโดยไม่รู้ตัว แล้วทำให้เกิดอาการชาจนปลุกผู้ป่วยและต้องสะบัดมือ ในขณะเดียวกันอาการปวดอาจส่งผลให้มีการตื่นช่วงกลางคืน โดยที่ผู้ป่วยจะสามารถสังเกตุ ได้จากอาการเหน็บชาในช่วงเช้า ความรู้สึกชาอาจจะมีมากขึ้นหลังจากอาการทรุดลง อาการชาบริเวณมือ อาจทำให้มืออ่อนแรง และทำให้หยิบจับสิ่งของจะหล่นจากมือทันที

สาเหตุโรค
เส้นประสาทมีเดียนคือเส้นประสาทหลักที่ทำหน้าที่ควบคุมกล้ามเนื้อที่ช่วยเคลื่อนไหวนิ้วหัวแม่มือ และยังทำหน้าที่รับความรู้สึกบริเวณนิ้วหัวแม่มือถึงนิ้วต่างๆ เช่น นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง แต่ไม่รวมนิ้วก้อย การระคายเคืองหรือการกดทับที่บริเวณเส้นประสาทมีเดียน อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ สาเหตุอื่นๆที่เป็นต้นเหตุในการเกิดโรคนี้คือ กระดูกข้อมือหัก (wrist fracture) และ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) ซึ่งโรคเหล่านี้อาจก่อให้เกิดการบวมและการอักเสบ แต่ไม่พบวสาเหตุจำเพาะที่ก่อให้เกิดโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เพราะอาจจะเกิดจากปัจจัยหลายๆด้านรวมกัน

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://www.freepik.com/author/pressfoto

การป้องกัน
– หลีกเลี่ยงการใช้มือและข้อมือหนัก ๆ หากต้องทำงานกับคอมพิวเตอร์ ควรจัดท่าทางการวางมือให้ถูกต้อง วางแป้นพิมพ์ในระดับเดียวกับข้อศอกเล็กน้อย และหลีกเลี่ยงการแอ่นข้อมือขึ้นหรือลงจนสุด
– ระหว่างการทำงาน ควรหยุดพัก ยืด และหมุนมือกับข้อมืออยู่เสมอ
– ไม่นอนทับมือ หากสวมอุปกรณ์พยุงข้อมือ ควรสวมอุปกรณ์พยุงที่ไม่คับจนเกินไปขณะนอนหลับ
– หากอยู่ในสภาพอากาศหนาวเย็น ควรสวมถุงมือเพื่อรักษาความอบอุ่นของมือ จะช่วยลดอาการปวดตึง
– รักษาโรคที่เป็นสาเหตุของการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ เช่น โรคเบาหวาน โรครูมาตอยด์ โรคอ้วน โรคเก๊าท์

หากคุณรู้สึกมีอาการชา เหน็บหรือปวดแสบเหมือนถูกเข็มทิ่มบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง อย่าละเลยเด็ดขาดนะคะ เพราะอาการเหล่านี้เสี่ยงเป็น โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือได้ค่ะต้องรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยจากการซักประวัติ จะได้รักษาได้ทันเวลานะคะ DooDiDo พยายามหลีกเลี่ยงการใช้มือในท่าเดิมนาน ๆ ควรบริหารข้อมือกันบ้างเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคนี้นั่นเองค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา : www.bpksamutprakan.com, www.medparkhospital.com