การต่อสัมปทานสายสีเขียวส่อพิรุธหรือไม่ประชาชนผู้เสียภาษี

WM

ภาพจาก pixabay

เตือนผู้แบกรับภาระประชาชนผู้เสียภาษี การต่อสัมปทานสายสีเขียว ส่อพิรุธ หรือไม่

กรณี  คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีการบริหารราชการที่ส่อพิรุธหรือไม่  เนื่องจาก คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้นำวาระการพิจารณาต่อสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียวให้กับบริษัทบีทีเอส ออกไปอีก 30 ปี ทั้งที่สัมปทานยังเหลืออยู่อีก 10 ปี เท่ากับว่าบริษัทบีทีเอส จะได้บริหารสัมปทานทั้งหมด 40 ปี  เพราะการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ดังกล่าวดำเนินการเป็นวาระจร

ยังดีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)   ยังไม่มีมติอนุมัติ  เพียงให้กระทรวงมหาดไทยกับคมนาคมไปพิจารณาเสนอเข้ามาใหม่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ต้องจับตามอง  เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนคน กทม. ต่อไป นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร พรรคเพื่อไทย ส.ส. มหาสารคาม   ได้ให้สัมภาษณ์กับวิทยุคลื่น FM 101

WM
ภาพจาก pixabay

กรณีนี้ยังมีข้อสงสัยอีกมาก ไม่ว่าจะเป็นผลการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญของสภาฯ ที่มีมติชัดเจนแล้วว่าไม่เห็นด้วยกับการต่อสัมปทานบีทีเอส เนื่องจากสัมปทานเดิมยังเหลืออยู่อีกถึง 10 ปี ไม่มีความจำเป็นใด ๆ และยังเสนอด้วยว่าเมื่อหมดสัมปทานก็ควรประมูลใหม่ ให้เกิดการแข่งขัน เพื่อประโยชน์จะได้ตกอยู่ที่ประชาชนได้ใช้รถโดยสารที่ค่าบริการถูกลง

แต่ในหลักการที่เสนอกลับให้ยึดค่าโดยสาร 65 บาทตลอดสาย ทั้งที่เทียบกับรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่มีผู้โดยสารน้อยกว่า คิดค่าบริการตลอดสายเพียง 42 บาท เท่านั้น แต่ก็ยังมีกำไรให้กับเอกชนอยู่

นอกจากนี้การเสนอต่อ ครม. กลับอ้างถึงการใช้อำนาจ  มม.44 ที่ได้ยกเว้นใช้พรบ.ร่วมทุนรัฐกับเอกชน ส่งผลให้เกิดข้อสงสัยในความโปร่งใสในการบริหารงาน อีกทั้งไม่มีการประเมินทรัพย์สินระหว่างเอกชนกับรัฐ สุดท้ายแล้วจะแบ่งผลประโยชน์กันอย่างไร เพราะประชาชนผู้เสียภาษีก็ต้องมาแบกรับภาระเหล่านี้

“เรื่องนี้มีข้อสงสัยมาตั้งแต่ต้น เดิมส่วนการต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว จะอยู่ในความรับผิดชอบของการไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ทั้งการขยายไปถึงคูคต จังหวัดปทุมธานี และเคหะบางปู จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งไม่ได้อยู่ในความรับผิดชอบของกรุงเทพมหานคร แต่กลับไปรับมาดูแล พร้อมรับภาระหนี้ 4.5 หมื่นล้านบาท แล้วก็ใช้วิธีต่อสัมปทานไปอีก 30 ปี

เพื่อให้ บริษัทบีทีเอส บีทีเอสรับภาระหนี้แทน รวมทั้งการอ้างว่าไม่มีเงินจ้างเดินรถ จนเป็นหนี้ 8 พันล้านบาท จนเอกชนขู่หยุดวิ่ง เหมือนเอาประชาชนไปเป็นตัวประกัน จึงต้องถามว่าแล้วเงินค่าโดยสารที่เก็บไปตลอดนั้นไปอยู่ที่ไหน”  ทั้งนี้แม้ว่า มติของ ครม.จะยังไม่อนุมัติ แต่เชื่อว่าจะถูกเสนอเข้า ครม.ใหม่อีกแน่นอน ซึ่งในฐานะเป็นฝ่ายค้านจะจับตาดู เพื่อรักษาประโยชน์ของประชาชนคนกทม. ต่อไป

ย้อนเรื่องไป และเมื่อวันที่ 17 พ.ย ที่ผ่านมา มีรายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล​ เปิดเผยว่า  ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาเรื่องที่กระทรวงมหาดไทยนำเสนอรายงานผลการเจรจาและขอความเห็นชอบร่างสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว

ซึ่งจะขยายสัญญาสัมปทานให้กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส อีก 30 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดปี 2572 ไปเป็นปี 2602 แลกกับเก็บค่าโดยสารที่ 65 บาทตลอดสาย

ทั้งนี้ที่ประชุมใช้เวลาหารือในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก เนื่องจากกระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือแสดงความเห็นแย้ง และ ครม.มีข้อกังวลในหลายประเด็น อาทิ เรื่องข้อกฎหมาย ซึ่งสมัยรัฐบาลชุดที่แล้วได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ.2557 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ที่ให้ยกเว้นหลักการของพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 สำหรับกรณีของสัมปทานดังกล่าว แต่ไม่ได้ให้ยกเว้นวินัยทางการเงินการคลัง

นอกจากนี้ยังไม่มีความชัดเจนเรื่องผู้รับภาระหนี้สินต่างๆ ซึ่งถ้าจะให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เข้ามาดำเนินการ จะสร้่างให้ กทม.ต้องรับภาระดอกเบี้ยจำนวนมาก และอาจจะประสบภาวะขาดทุนเพิ่มขึ้น รวมถึงไม่มีข้อมูลชัดเจนในเรื่องที่มาของอัตราจัดเก็บค่าโดยสารที่ราคา 65 บาทตลอดสาย

ดังนั้น ที่ประชุมมีมติแค่รับทราบ แต่ยังไม่อนุมัติ โดยให้กระทรวงมหาดไทยจัดทำรายละเอียดที่ชัดเจนแล้วจึงนำมารายงานต่อ ครม.อีกครั้ง ซึ่งยังไม่ระบุว่าจะเป็นเมื่อใด

ข่าวความเคลื่อนไหว , ท้องถิ่นทั่วไทย , ข่าวต่างประเทศ, รัฐบาล , องค์การบริหารส่วนตำบล , อบต. , เทศบาล , เทศบาลเมือง , เทศบาลนคร , ทต. , องค์การบริหารส่วนจังหวัด , อบจ. , ข่าวรอบโลก , ข่าวการเมือง , ข่าวเศรษฐกิจ , ข่าวท่องเที่ยว ความร้อนแรงในประเดนต่าง ๆ ข่าวด่วน กระแสข่าว ข่าวชาวบ้าน ที่ได้รับความสนใจ ได้ที่ doodido

ที่มา : ข่าวสด , ประชาชาติธุรกิจ , เดลินิวส์