การดูแลสุขภาพด้วยการลดน้ำหนักแบบ IF ทำให้ผอมลงจริงหรือไม่?

WM

IF เป็นการอดอาหาร จำกัดช่วงเวลาการกิน และควบคุมการรับประทานอาหารเพื่อลดน้ำหนัก

เป็นกระแสอย่างมากสำหรับใครที่อยากลงน้ำหนักแบบไม่ต้อออกกำลัง เพียงการทำIF ในยุคนี้เทรนด์การรักสุขภาพเป็นที่ได้รับความสนใจมาก ทุกคนเริ่มหันมาให้ความสนใจสุขภาพ และรูปลักษณ์ภายนอกกันมากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องของรูปร่าง ต้องเคยได้ยินวิธี การทํา IF มาบ้าง เพราะเป็นหนึ่งในวิธีที่ได้รับความสนใจ และถูกพูดถึงมากขึ้นในช่วงการแพร่บาดของไวรัสโควิค-19 IF ย่อมาจาก คำว่า Intermittent Fasting เป็นการอดอาหาร จำกัดช่วงเวลาการกิน และควบคุมการรับประทานอาหารแบบง่าย ๆ เพื่อลดน้ำหนัก เผาผลาญไขมันส่วนเกิน ซึ่งการอดอาหารในช่วงเวลาแต่ละวัน เพื่อเป้าหมายหลักคือ ลดน้ำหนัก และให้ร่างกายใช้ไขมันที่สะสมในร่างกายได้มากขึ้น

Intermittent Fasting หรือ IF เป็นวิธีลดน้ำหนัก ที่กำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนรุ่นใหม่ เพราะเป็นการเริ่มต้นควบคุมอาหารอย่างง่ายๆ โดยการควบคุมแคลอรีและจำกัดเวลาในการรับประทานอาหาร โดยมีหลากหลายวิธีในการปฏิบัติ แต่วิธีที่ได้รับความนิยมก็คือจำกัดเวลาทานอาหาร 8 ชั่วโมง และงดมื้ออาหาร 16 ชั่วโมง ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ เราสามารถ รับประทานอาหารได้เวลา 6.00-14.00 น. โดยหลังจาก 14.00 น. เป็นช่วงงดอาหาร ดื่มได้เพียงแต่น้ำเปล่า หรือกาแฟ ชา ที่ไม่ใส่น้ำตาล (งดเว้นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล ในช่วงงดมื้ออาหาร เพราะจะกระตุ้นให้เกิดความหิวและอยากน้ำตาลได้)

WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/jkDLNDGougw

แต่วิธี IF อาจทำให้หลายคนเจ็บป่วยจนต้องร้องหาหมอได้ หากทำไม่ถูกวิธี

ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ หากทำ IF ไม่ถูกวิธี

  • อดอาหารมากเกินไปจนเสี่ยงขาดสารอาหาร
  • รับประทานอาหารมากเกินไป เพราะต้องรีบกินก่อนถึงช่วงเวลางดมื้ออาหาร
  • เลือกเวลาในการกิน และงดการกินผิดเวลา อาจเสี่ยงโรคที่เกี่ยวกับลำไส้
  • นอนดึก ในคนกลุ่มที่เข้านอนดึกมีความเสี่ยงในความอ้วนง่ายอยู่แล้ว เนื่องจากระบบฮอร์โมนที่ซ่อมแซมร่างกาย และระบบความอิ่มในร่างกายจะรวนทำให้คนนอนดึกไม่สามารถงดมื้ออาหารได้ต้องกินอาหารหวาน และนำไปสู่ความอ้วน
  • ไม่ออกกำลังกายเนื่องจากในการลดความอ้วน ไม่ใช่แค่การควบคุมแคลอรี แต่ยังรวมถึงการสร้างระบบการเผาผลาญที่ถาวรขึ้นด้วย ในส่วนนี้คือการสร้างกล้ามเนื้อเพื่อไม่ให้เกิดอาการโยโย่ขึ้นภายหลัง
  • ยังติดหวาน หากทำ IF แล้วยังติดกินอาหารหรือขนมหวานๆ อยู่ อาจเสี่ยงติดหวาน ซึ่งเมื่อทำการงดมื้ออาหารจะทำให้เกิดอาการโหยน้ำตาล และอาจทำให้กินของหวานๆ มากกว่าเดิม
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/@ferhadd

ประโยชน์ของ IF

การทำ IF มีประโยชน์ให้กับร่างกายในหลายๆ ด้านนอกจากการลดน้ำหนัก ดังนี้

  • อนุมูลอิสระในร่างกายลดลง
  • การอักเสบซ่อนเร้นในร่างกายลดลง
  • ชะลอวัย อ่อนเยาว์ขึ้น เป็นผลมาจากอนุมูลอิสระ และการอักเสบในร่างกายลดลง
  • ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดีมากยิ่งขึ้น (ถ้าร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน อาจเสี่ยงโรคเบาหวาน)
  • ช่วยทำให้ยีนส์ที่ดีบางตัวแสดงออกได้ดีขึ้น โดยเฉพาะสารที่ช่วยส่งเสริมการทำงานของสมอง ทำให้เราฉลาดขึ้น ความจำดีขึ้น
  • ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนโรคเบาหวาน และโรคหัวใจ
WM
ขอบคุณภาพจาก: https://unsplash.com/photos/CAhjZmVk5H4

ทำ IF อย่างไรให้ถูกวิธี

  1. ตั้งระยะเวลาในการกิน และงดมื้ออาหาร ให้เป็นไปตามนาฬิกาชีวิต กล่าวคือ หากเลือกสูตรกิน 8 ชม. งดมื้ออาหาร 16 ชม. ไม่ควรเลือกช่วงเวลากินอาหารตอนดึกๆ ควรเลือกกินอาหาร 8 ชม. ในช่วงเวลาที่ใช้ชีวิตปกติ เช่น ตอนเช้า บ่าย เย็น
  2. ในช่วงที่กินอาหารได้ ควรกินอาหารให้เพียงพอ แต่เน้นอาหารคลีน โปรตีนสูง ไขมันต่ำ ผักผลไม้ต่างๆ ให้สารอาหารครบถ้วน รวมถึงคาร์โบไฮเดรตที่ยังต้องกินอยู่ แต่เลือกคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีต แทนคาร์โบไฮเดรตเชิงเดี่ยว เช่น ข้าวขาว ขนมปังขาว และลดของหวานต่างๆ
  3. ไม่ลดปริมาณอาหารลงจนมากเกินไปจนกลายเป็นการอดอาหารทั้งตอนที่กินอาหารได้ และช่วงที่ตั้งใจงดมื้ออาหาร
  4. ช่วงงดมื้ออาหาร ยังสามารถรับประทานอาหารที่ไม่ให้พลังงาน หรือให้พลังงานต่ำมากๆ ได้ เช่น น้ำเปล่า หรือกาแฟดำ แต่ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มที่มีสารให้ความหวานแทนน้ำตาล
  5. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม วันละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง

ถ้าเรารับประทานอาหารตลอดทั้งวัน ไม่ได้มีการกำกับเวลาก็อาจจะได้รับสารอาหารที่มากเกินไป กลายเป็นการสะสมของไขมัน จนร่างกายไม่จำเป็นต้องดึงไขมันที่สะสมอยู่ออกมาใช้ หรือบางคนอดอาหาร IFมากเกินไป กินน้อยไป ก็จะทำให้ผอมลง แต่ไม่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว หรือกินน้อยกว่าที่ใช้ ทำให้เสียสุขภาพร่างกายนั่นแอง DooDiDo แนะนำว่าสำหรับใครที่ทำ IF อยู่ไม่ควบทำเป็นระยะเวลาโดยเฉพาะผู้หญิงอาจจะส่งเสียทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ หากลดน้ำหนักได้ตามเป้าหมายแล้วควรหยุดการทำ IF แล้วหลังจากนั้นให้ลดจำนวนวันของการทำ Fasting ลงค่ะ

ขอบคุณแหล่งที่มา: www.sanook.com