กะหล่ำปลี สมุนไพรไทย ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยบำรุงผิวพรรณ

สรรพคุณและประโยชน์ของ กะหล่ำปลี ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน ช่วยบำรุงผิวพรรณ

กะหล่ำปลี เป็นสมุนไพรที่มีถิ่นกำเนิดอยู่แถบเมดิเตอเรเนียน และภายหลังได้แพร่กระจายทั่วไป โดยกะหล่ำปลีจะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ กะหล่ำปลีธรรมดา (พันธุ์โกลเดนเอเคอร์, พันธุ์โคเปนเฮเกนมาร์เก็ต), กะหล่ำปลีแดง (ใบเป็นสีแดงทับทิม ขึ้นดีในที่อากาศหนาวเย็น), กะหล่ำปลีใบย่น (ขึ้นได้ในที่ที่มีอากาศหนาวเย็นเป็นพิเศษ)

กะหล่ำปลีดิบ มีวิตามินซีสูง การนำไปปรุงอาหารควรใช้วิธีการนึ่ง จะช่วยคงคุณค่าของสารอาหารไว้ได้ดีที่สุด หรือจะรับประทานเป็นผักสลัดก็ได้ ทั้งนี้ไม่ควรนำไปนึ่ง ต้ม ผัดนานจนเกินไป

กะหล่ำปลี หรือ กะหล่ำใบ หรือ กะหล่ำปลีเขียว ชื่อสามัญ Cabbage

กะหล่ำปลี ชื่อวิทยาศาสตร์ Brassica oleracea var. capitata L. จัดอยู่ในวงศ์ผักกาด (BRASSICACEAE หรือ CRUCIFERAE)

ส่วนใหญ่ที่เราเห็น ๆ กันจะเป็นกะหล่ำปลีสีเขียว แต่สีอื่น ๆ ก็มีเช่นกัน เช่น ขาว ม่วง และแดง

ผักกะหล่ำปลี นั้นมีสารพิษที่เรียกว่า กอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมของไอโอดีน ผลที่ตามมาก็คืออาจทำให้เป็นคอหอยพอกได้ แต่สารพิษที่ว่านี้จะถูกทำลายด้วยวิธีการนำไปต้ม ดังนั้นจึงควรรับประทานกะหล่ำปลีที่ผ่านการปรุงสุกแล้วจะดีกว่า แม้ว่าวิตามินจะหายไปบ้างก็ตาม แต่ก็มีคำแนะนำว่าการเกิดปัญหาจากสารพิษชนิดนี้ไม่ใช่จะเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ เพราะถ้าจะรับประทานกะหล่ำปลีจนถึงขนาดได้รับสารกอยโตรเจน ต้องเป็นการรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำและในปริมาณมาก ดังนั้นจึงไม่ต้องตกใจและกังวล เล็ก ๆน้อย ๆ นาน ๆ รับประทานที ไม่มีอันตรายแน่นอน

กะหล่ำปลีดิบควรรับประทานแต่พอเหมาะ เนื่องจากการรับประทานมากเกินไปอาจจะทำให้มีปัญหาเรื่องต่อมไทรอยด์ได้ และที่สำคัญควรระมัดระวังเรื่องยาฆ่าแมลงให้มาก เพราะกะหล่ำปลีนั้นติดอับดับ 1 ใน 5 ผักที่มีสารปนเปื้อนมากที่สุด การบริโภคเข้าไปในปริมาณมากอาจจะทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ มึนงง หายใจลำบาก คลื่นไส้อาเจียน มีอาการชักหรือหมดสติได้

ก่อนการนำมารับประทานก็ควรล้างให้สะอาดก่อน ด้วยวิธีการลอกหรือปอกเปลือกออกแล้วแช่น้ำสะอาดประมาณ 10 นาที หลังจากนั้นล้างด้วยน้ำสะอาดอีกครั้งจะช่วยลดสารพิษตกค้างได้ร้อยละ 25-72 ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด และสำหรับวิธีอื่น ๆ ก็เช่น แช่น้ำปูนใส, การใช้ความร้อน, แช่น้ำด่างทับทิม, ล้างด้วยน้ำไหลจากก๊อก, แช่น้ำซาวข้าว, แช่น้ำส้มสายชูหรือเกลือป่น, แช่น้ำยาล้างผัก เป็นต้น

สรรพคุณของกะหล่ำปลี

  • กะหล่ำปลีมีกรดทาร์ทาริก (Tartaric acid) ที่ช่วยยับยั้งและขัดขวางไม่ให้น้ำตาลและแป้งกลายเป็นไขมัน จึงมีส่วนในการช่วยลดน้ำหนักและคอเลสเตอรอลได้
  • ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน เพราะกะหล่ำปลีดิบอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นผลดีต่อการเสริมสร้างและบำรุงกระดูก
  • ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรคให้แข็งแรง ป้องกันหวัด เพราะกะหล่ำปลีดิบมีวิตามินสูง
  • ช่วยบำรุงผิวพรรณทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล และยังช่วยคงความอ่อนเยาว์ได้อีกด้วย
  • กะหล่ำปลีมีสารเอสเมธิลเมโธโอนินที่สามารถช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหารได้
  • ช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งลำไส้ ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ได้ โดยการบริโภคกะหล่ำปลีมากกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยลดโอกาสของการเป็นมะเร็งลำไส้ในผู้ชายได้ถึง 66%
  • กะหล่ำปลีช่วยต่อต้านมะเร็งในตับและมีส่วนช่วยป้องกันมะเร็งต่อมลูกหมากได้อีกด้วย
  • ช่วยในการย่อยอาหารและล้างสารพิษทำความสะอาดลำไส้ เพราะกะหล่ำปลีดิบมีใยอาหารที่มีปริมาณพอเหมาะ จึงช่วยในการย่อยและกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • กะหล่ำปลีดิบช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร บรรเทาอาการอักเสบของแผลในลำไส้ และยังช่วยบำรุงลำไส้
  • กะหล่ำปลี สรรพคุณช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
  • กะหล่ำปลี ประโยชน์ช่วยแก้และบรรเทาอาการท้องผูก
  • ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน
  • ช่วยแก้อาการเจ็บคอ
  • ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับสบาย หลับสนิท เพราะกะหล่ำปลีดิบมีสารซัลเฟอร์ซึ่งมีส่วนช่วยระงับประสาท ทำให้รู้สึกผ่อนคลายความเครียด
  • มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
  • ช่วยบำรุงไต
  • ช่วยบำรุงตับ ช่วยเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของตับ ช่วยตับในการล้างสารพิษ
  • ช่วยเพิ่มการสร้างของกลูตาไธโอนซึ่งจำเป็นต่อตับในการช่วยล้างสารพิษจากควันไอเสียและยาต่าง ๆ
  • ช่วยรักษาระดับเอสโตรเจนให้คงที่
  • ช่วยบรรเทาอาการปวดตึงคัดเต้านม โดยใช้กะหล่ำปลีมาประคบเต้านม ลอกกะหล่ำปลีออกเป็นใบแล้วนำมาประคบที่เต้านมข้างละใบ ใช้ผ้าพันทิ้งไว้ประมาณ 20 นาที โดยไม่ต้องนวดคลึง อาการปวดตึงคัดก็จะหายไป
  • กะหล่ำปลีมีกรดโฟลิก ซึ่งมีส่วนช่วยเสริมสร้างสมองของเด็กทารกในครรภ์
  • ช่วยชะลอการเกิดผมหงอก กระตุ้นโปรตีนเคราติน (Keratin) ช่วยบำรุงรากผมเพราะกะหล่ำปลีมีวิตามินบี 5
  • สำหรับผู้ที่ชอบรับประทานอาหารปิ้งย่างเป็นประจำ ควรรับประทานผักกะหล่ำปลีด้วย เพราะอุดมไปด้วย Sulforaphane ที่จะช่วยป้องกันการถูกทำลายของ DNA และลดความเสียหายของ DNA ในร่างกาย

ประโยชน์ของกะหล่ำปี

ช่วยแก้รสเผ็ดร้อนได้ สังเกตได้จากส้มตำ แม่ค้ามักจะใส่กะหล่ำปลีสด ๆ มาเป็นเครื่องเคียงให้รับประทานนั่นเอง

ใช้ประกอบอาหาร โดยเมนูกะหล่ำปลีก็เช่น กะหล่ำปลีทอดน้ำปลา, ผัดกะหล่ำปลีใส่ไข่, กะหล่ำปลีตุ๋นซี่โครงอ่อน, กะหล่ำปลีตุ๋นเอ็นวัว, กะหล่ำปลีต้มยัดไส้หมู, กะหล่ำปลีม้วนใส่หมูบดปรุงรส, ถุงทองกะหล่ำปลี, ต้มกะหล่ำปลีเจ, แกงส้ม, แกงจืด, ห่อหมก, รับประทานร่วมกับน้ำพริก, ทำเป็นสลัด ฯลฯ

คุณค่าทางโภชนาการของกะหล่ำปลีดิบต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 25 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 5.8 กรัม
  • น้ำตาล 3.2 กรัม
  • เส้นใย 2.5 กรัม
  • ไขมัน 0.1 กรัม
  • โปรตีน 1.28 กรัม
  • วิตามินบี 1 0.061 มิลลิกรัม 5%
  • วิตามินบี 2 0.040 มิลลิกรัม 3%
  • วิตามินบี 3 0.234 มิลลิกรัม 2%
  • วิตามินบี 5 0.212 มิลลิกรัม 4%
  • วิตามินบี 6 0.124 มิลลิกรัม 10%
  • วิตามินบี 9 43 ไมโครกรัม 11%
  • กะหล่ำปลีวิตามินซี 36.6 มิลลิกรัม 44%
  • ธาตุแคลเซียม 14 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุเหล็ก 40 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุแมกนีเซียม 12 มิลลิกรัม 3%
  • ธาตุแมงกานีส 0.16 มิลลิกรัม 8%
  • ธาตุฟอสฟอรัส 26 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุโพแทสเซียม 170 มิลลิกรัม 4%
  • ธาตุโซเดียม 18 มิลลิกรัม 1%
  • ธาตุสังกะสี 0.18 มิลลิกรัม 2%
  • ฟลูออไรด์ 1 ไมโครกรัม

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน 

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : medthai.com

  1. เว็บไซต์กระทรวงสาธารณสุข
  2. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
  3. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์, วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี (EN)