กล้วยค่าง ถือว่าเป็นสมุนไพรไทยช่วยแก้มุตกิตระดูขาวของสตรี

WM

ภาพจาก medthai

ยาขับมุตกิตระดูขาวของสตรี กล้วยค่าง ยังช่วยแก้เลือดร้ายในเรือนไฟหลังสตรีคลอดบุตร

กล้วยค่าง จัดเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงได้ประมาณ 2-4 เมตร ลำต้นเดี่ยว กิ่งแตกแขนงเป็นพุ่มโปร่ง เปลือกต้นหนา ผิวเรียบ เป็นสีน้ำตาลคล้ำเกือบดำ ตามกิ่งอ่อนมีขนขึ้นประปราย สามารถออกดอกและผลได้ตลอดทั้งปี พรรณไม้ชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในมาเลเซีย ในประเทศไทยพบกระจายพันธุ์ทางภาคใต้และทางภาคตะวันออก โดยจะพบขึ้นในป่าดิบชื้น[1],[2]

กล้วยค่าง ชื่อวิทยาศาสตร์ Orophea enterocarpa Maingay ex Hook.f. & Thomson จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE)[1]

สมุนไพรกล้วยค่าง มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า จิงกล้อม (ชุมพร), พริกนก (ตรัง), กล้วยค่าง (ปราจีนบุรี), มะป่วน (ภาคกลาง), ดีปลีต้น, ปีบผล เป็นต้น[1],[2]

WM
ภาพจาก medthai

ลักษณะของกล้วยค่าง

ใบกล้วยค่าง ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับในระนาบเดียวกัน ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปใบหอก หรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่กลับ ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือสอบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3.5-4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 10-15 เซนติเมตร แผ่นใบบาง เส้นแขนงใบมีข้างละ 6-10 เส้น ก้านใบสั้น ยาวได้เพียง 2 เซนติเมตร[1],[2]

ดอกกล้วยค่าง ออกดอกเป็นช่อกระจุกประมาณ 2-3 ดอก แต่จะเหลือดอกบานติดช่ออยู่เพียงดอกเดียว โดยจะออกเหนือง่ามซอกใบเล็กน้อย ก้านช่อดอกเรียวเล็ก มีขนสั้นขึ้นประปราย ยาวได้ประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใบประดับเรียว ยาวประมาณ 3-5 มิลลิเมตร ส่วนก้านดอกเรียวเล็ก ยาวได้ประมาณ 1.5-2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงดอกมี 3 กลีบ

ลักษณะของกลีบเลี้ยงเป็นรูปไข่ ปลายเรียว ยาวประมาณ 4-5 มิลลิเมตร ส่วนกลีบดอกออกเรียงสลับกันเป็น 2 ชั้น มีชั้นละ 3 กลีบ กลีบดอกชั้นในยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ปลายกลีบแผ่กว้างคล้ายช้อน จรดกันเป็นรูปโคม ด้านในเป็นสีแดงคล้ำหรือสีแดงอมม่วง

ส่วนกลีบดอกชั้นนอกเป็นสีขาวนวลอมเหลือง ลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม มีขนาดกว้างประมาณ 1 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.3-1.5 เซนติเมตร ด้านนอกมีขนขึ้นประปราย ดอกมีเกสรเพศผู้ 12 อัน แต่ไม่สมบูรณ์ 6 อัน ล้อมรอบเกสรเพศเมียที่มีอยู่ 6 อัน ซึ่งอยู่แยกกัน[1],[2]

ผลกล้วยค่าง ออกผลเป็นกลุ่ม แต่ละผลมีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอก คอดกิ่วระหว่างเมล็ด ผลมีขนาดยาวประมาณ 5-10 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-8 มิลลิเมตร ผลเมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง[1]

สรรพคุณของกล้วยค่าง

  • ชาวเขมร-ส่วย สุรินทร์ ตามชนบท จะนิยมใช้เปลือกเนื้อไม้ของต้นกล้วยค่าง เป็นยาขับมุตกิตระดูขาวของสตรี ช่วยแก้เลือดร้ายในเรือนไฟหลังสตรีคลอดบุตร (เปลือกเนื้อไม้)[1]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา : medthai.com

  1. หนังสือสมุนไพรในอุทยานแห่งชาติภาคกลาง.  (พญ.เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ, ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, กัญจนา ดีวิเศษ).  “กล้วยค่าง”.  หน้า 63.
  2. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “กล้วยค่าง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/.