กลัวประวัติซ้ำรอยCovid-19 สิงคโปร์เน้นการทำเกษตรมากขึ้น

WM

ภาพโดย silviarita จาก Pixabay

สิงคโปร์ กลัวประวัติซ้ำรอย หันมาสนใจทำการเกษตรมากขึ้น

กลัวประวัติซ้ำรอย วิกฤตโควิด จะทำให้ประเทศต่างๆ ที่เคยนำเข้าอาหาร หันมาสนใจทำการเกษตรมากขึ้น แม้ว่าการทำเกษตรเองจะมีต้นทุนสูงกว่าการนำเข้า แต่เพราะบทเรียนที่ประเทศส่งออกอาหารทั้งหลาย ระงับการส่งออก อีกทั้งขึ้นราคาอาหารในระหว่างวิกฤต ทำให้ประเทศที่พึ่งพาการนำเข้าอาหาร ตัดสินใจว่า ถึงเวลาแล้วที่จะต้องลงทุนทำเกษตรอย่างจริงจัง

ปัจจุบัน สิงคโปร์ผลิตอาหารได้เองเพียง 10% ของที่บริโภค นโยบาย “30 by 30” เป็นเป้าหมายที่จะทำให้สิงคโปร์ลดการพึ่งพาการนำเข้า โดยผลิตอาหารได้เอง 30% ภายในปี ค.ศ. 2030 ขณะนี้ สิงคโปร์มีฟาร์มผักจำนวน 77 แห่ง โดยเป็นโรงงานปลูกพืชผักในร่ม 25 แห่ง และฟาร์มผักบนหลังคา (rooftop) 2 แห่ง ซึ่งผลิตผักได้ 14% ของการบริโภคทั้งหมด

สิงคโปร์มีฟาร์มไก่ไข่ ที่มีกำลังผลิต 26% ของความต้องการในประเทศ มีฟาร์มปลา 22 แห่ง โดยเป็นฟาร์มในทะเล 110 แห่ง และฟาร์มบนบก 12 แห่ง มีกำลังผลิต 10% ของความต้องการในประเทศ

WM
ภาพโดย felixioncool จาก Pixabay

 

สิงคโปร์ได้จัดตั้ง Agri-Food Innovation Park เพื่อบ่มเพาะสตาร์ทอัพทางด้านเกษตรและอาหาร มีบริษัทเทคโนโลยีอาหารเกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็น สตาร์ทอัพที่ผลิตโปรตีนจากพืช (Plant-based meat) สตาร์ทอัพปลูกเนื้อสัตว์ (in vitro meat) สตาร์ทอัพผลิตนมด้วยการปลูกเซลล์ สตาร์ทอัพเพาะเลี้ยงแมลง เป็นต้น

ล่าสุดสิงคโปร์เร่งแผนปฏิบัติการเกษตร ให้เป็นวาระเร่งด่วนมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยจะเปิดฟาร์มปลูกผักบนหลังคาอาคารจอดรถยนต์ เพิ่มอีก 16 แห่ง ในเดือนหน้าและถัดไป นอกจากนี้ ยังมีการเร่งสำรวจอาคารร้าง และ อาคารที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ เพื่อแปลงเป็นพื้นที่เกษตร

สิงคโปร์จะเพิ่มฟาร์มเลี้ยงปลา โดยทำฟาร์มเลี้ยงปลาแบบแนวดิ่ง (Vertical fish farm) โดยจะมีการสร้างอาคารเลี้ยงปลาขนาด 8 ชั้น ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตปลาได้เป็น 8 เท่าของฟาร์มปกติ นอกจากนั้น สิงคโปร์ยังจะเปิดฟาร์มลอยน้ำ (Floating farm) ให้มากขึ้นในน่านน้ำสากล

สิงคโปร์จะเน้นการทำเกษตรแบบ #เกษตรอัจฉริยะ โดยนำเทคโนโลยีอินเทอร์เนตของสรรพสิ่ง (internet of things) เทคโนโลยีดิจิทัล มาช่วยทำเกษตรให้มีประสิทธิภาพสูง ใช้ทรัพยากรอย่างแม่นยำ โดยตั้งเป้าจะเป็นผู้นำเทคโนโลยีเกษตรในเมือง (Urban farming) และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีผลพลอยได้คือ ส่งเทคโนโลยีเหล่านี้ ไปขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน รวมทั้งไทย

เกษตร และ บทวิเคราะห์ เทคโนโลยีทางการเกษตร ตลาดขายพืชผลทางการเกษตร ผลกระทบทางการเกษตร งบประมาณและนโยบายรัฐเพื่อการเกษตร และการส่งออกพืชผลทางการเกษตร ที่ได้รับความสนใจ ติดตามได้ที่ doodido

ที่มา  สมาร์ทฟาร์ม เกษตรอัจฉริยะ