กระดังงาสงขลา สมุนไพรท้องถิ่นเป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย

SA Game

ภาพจาก http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/old-fragrant/canangium.html

ยาบำรุงธาตุในร่างกาย กระดังงาสงขลา สมุนไพรตำรายาไทยท้องถิ่น

กระดังงาสงขลา สมุนไพรไทยมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยที่จังหวัดสงขลา และมีความแตกต่างกับต้นกระดังงาไทยก็คือ ต้นกระดังงาไทยนั้นเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ส่วนต้นกระดังงาสงขลานั้นจะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นไม่เกิน 4 เมตร

โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2.5 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 1-4 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน เนื้อไม้เปราะ ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ที่กิ่งมีขนอ่อน

กระดังงาสงขลา มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กระดังงาสาขา (กรุงเทพฯ), กระดังงางอ (ยะลา-มลายู), กระดังงาเบา (ภาคใต้), กระดังงอ (มาเลย์-ยะลา), ดังงา และมีชื่อสามัญ Ilang.-Ilang.และ Drawf ylang ylang โดยชื่อวิทยาศาสตร์ Canangium fruticosum Craib (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Cananga odorata var. fruticosa (Craib) J.Sinclair, Cananga odorata (Lam.) Hook.f. & Thomson var. fruticosa (Craib) J.Sinclair , Cananga odorata Hook.f. & Thomson var. fruticosa (Craib) Corner ) จัดอยู่ในวงศ์กระดังงา (ANNONACEAE) เช่นเดียวกับกระดังงาไทย

SA Game
ภาพจาก https://www.facebook.com/426279597525811/posts/1327220017431760/

ต้นกระดังงาสงขลา มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคใต้ของประเทศไทยที่จังหวัดสงขลา และมีความแตกต่างกับต้นกระดังงาไทยก็คือ ต้นกระดังงาไทยนั้นเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงประมาณ 8-15 เมตร ส่วนต้นกระดังงาสงขลานั้นจะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นไม่เกิน 4 เมตร โดยจัดเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงของต้นประมาณ 1-2.5 เมตร บ้างว่าสูงประมาณ 1-4 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีเทาอมสีน้ำตาลและมีกลิ่นฉุน เนื้อไม้เปราะ ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลง ที่กิ่งมีขนอ่อน

ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ซึ่งเป็นวิธีที่นิยมกันมาก และอีกวิธีคือการตอนกิ่ง แต่ไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากกิ่งเปราะและหักได้ง่าย โดยต้นกระดังงาสงขลาที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะเจริญเติบโตได้ดีและมีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าต้นที่เกิดจากการตอน แต่การออกดอกจะช้ากว่าต้นที่ได้จากการตอน เจริญเติบโตได้ดีในดินที่ระบายน้ำดี มีความชื้นสูง ต้องการน้ำมาก แต่ไม่ทนต่อน้ำท่วมขัง ชอบแสงแดดแบบเต็มวัน หากปลูกในพื้นที่ที่มีแสงแดดแบบรำไรจะออกดอกน้อยและไม่แข็งแรง

ใบกระดังงาสงขลา ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าหรือเบี้ยวเล็กน้อย ส่วนขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียวบางและอ่อน มีเส้นแขนงของใบประมาณ 8-9 คู่ สามารถมองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน และมีก้านใบยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร

ดอกกระดังงาสงขลา ออกดอกเป็นดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อกระจุกตามกิ่งตรงข้ามกับใบ ดอกเป็นสีเหลือง มีกลิ่นหอมแรง ในหนึ่งดอกจะมีกลีบดอกประมาณ 15-24 กลีบ ในแต่ละกลีบจะมีความกว้างประมาณ 0.5-1.8 เซนติเมตรและมีความยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร เรียงเป็นชั้นหลายชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบมีลักษณะเรียวยาว บิดเป็นเกลียวและอ่อนนิ่ม ปลายกลีบแหลมและกระดกขึ้น กลีบชั้นนอกจะยาวและใหญ่กว่ากลีบชั้นในตามลำดับ

ดอกมีเกสรเพศผู้และเกสรเพศเมียจำนวนมาก ส่วนกลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว มีลักษณะเป็นรูปไข่ ปลายแหลม มีความกว้างประมาณ 6 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 1.2 เซนติเมตร ส่วนก้านดอกยาวประมาณ 4-6 เซนติเมตร สามารถออกดอกได้เกือบตลอดทั้งปี ดอกที่ยังอ่อนหรือที่เป็นสีเขียวอ่อนจะยังไม่มีกลิ่นหอม ดอกที่มีสีเหลืองถึงจะมีกลิ่นหอม และที่สำคัญช่วงที่มีอุณหภูมิสูง เช่น ตอนกลางวัน ดอกจะไม่ค่อยส่งกลิ่นหอมเท่ากับช่วงตอนเช้าและเย็น

ผลกระดังงาสงขลา ออกผลเป็นกลุ่ม มีผลย่อยประมาณ 8-10 ผล ลักษณะของผลเป็นรูปทรงกลมรี ปลายผลแหลม ผลมีขนาดกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร ผิวผลเรียบ ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่แล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ในผลมีเมล็ดอยู่หลายเมล็ด

สรรพคุณของกระดังงาสงขลา

  • ตำรายาไทยระบุว่าดอกใช้เป็นยาบำรุงธาตุในร่างกาย (ดอก)[2],[6]
  • ช่วยบำรุงร่างกาย (ดอก)[6]
  • ช่วยชูกำลัง (ดอก)[9]
  • ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย (ดอก)[6]
  • ช่วยทำให้เจริญอาหาร (เกสร)[9]
  • ดอกใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ดอก)[2],[6]
  • ดอกมีรสสุขุมหอม ใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ (ดอก)[1],[2],[3],[6] ช่วยบำรุงหัวใจให้สดชื่น ทำให้ใจชุ่มชื่น (ดอก)[9]
  • ใช้เป็นยาแก้ไข้ (ดอก)[6] ส่วนเกสรช่วยแก้ไข้จับ แก้ไข้เพื่อลม แก้ไข้เพื่อปถวีธาตุ แก้โรค (เกสร)[9]
  • ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ (เกสร)[9]
  • ช่วยแก้ลมวิงเวียน (ดอก)[1],[6]
  • ช่วยแก้อาการจุกเสียด (ดอก)[6]
  • เนื้อไม้มีรสขมและเฝื่อน ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (เนื้อไม้, ต้น, กิ่ง, ก้าน)[1],[6]
  • ช่วยแก้ปัสสาวะพิการ (เนื้อไม้, ต้น, กิ่ง, ก้าน)[1],[6]
  • รากมีฤทธิ์ในการคุมกำเนิด (ราก)[6]
  • ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระดังงาสงขลา
  • มีฤทธิ์ลดความดันโลหิต[9]
  • มีฤทธิ์ยับยั้งมะเร็ง[9]
  • ต้านเชื้อ ต้านเชื้อรา ต้านเชื้อแบคทีเรีย ต้านยีสต์[9]
  • ช่วยไล่แมลง ทำให้ระคายเคืองผิวหนัง[9]

ประโยชน์ของกระดังงาสงขลา

  • ดอกสดสามารถนำมาสกัดทำเป็นน้ำมันหอมระเหย ใช้แก้ลมวิงเวียนได้[3] (สกัดโดยวิธีการต้มกลั่น (Hydrodistillation) จะได้น้ำมันหอมระเหยร้อนละ 0.90[5])
  • ดอกใช้สกัดทำเป็นน้ำหอมและเครื่องหอม[8]
  • เนื้อไม้และใบใช้ทำบุหงา อบร่ำ ใช้ทำน้ำหอม และน้ำมันหอมระเหย (Essential oil)[7],[10]
  • บ้างว่าใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางประเภทครีมหรือโลชัน จะช่วยลดความมันบนใบหน้าได้ (ไม่ยืนยัน)[10]
  • ใช้เป็นส่วนประกอบในการทำขนม อบขนม อบข้าวแช่ (แต่ไม่ได้ระบุว่าใช้ส่วนใด)[10]
  • แพทย์ตามชนบทใช้บำบัดรักษาโรคได้เช่นเดียวกับกระดังงาไทย[5]

นิยมใช้ปลูกเป็นไม้ประดับทั่วประเทศ โดยใช้ตามสวน มุมอาคาร หรือปลูกเป็นกลุ่มแบบ 3 ต้นขึ้นไป เพื่อใช้เป็นฉากหรือบังสายตา ดอกมีกลิ่นหอมแรงในช่วงเช้าและเย็น สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี การปลูกและการดูแลรักษาทำได้ง่าย

ไม่ค่อยมีโรคและแมลงมารบกวน อีกทั้งยังเป็นพันธุ์ไม้ที่มีราคาไม่แพงและให้ดอกมากอีกชนิดหนึ่ง จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เริ่มปลูกพันธุ์ไม้หอมมือใหม่ที่ไม่ควรมองข้าม

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

เอกสารอ้างอิง

  • หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  “กระดังงาสงขลา (Kradang Nga Songkhla)”.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  หน้า 22.
  • หนังสือสมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ.  “กระดังงาสงขลา”. ( ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล).  หน้า 71.
  • ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “กระดังงาสงขลา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: agkc.lib.ku.ac.th.
  • สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “ความเหมือนที่แตกต่างพรรณไม้ กระดังงาไทย-กระดังงาสงขลา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rspg.or.th.
  • ฐานข้อมูลน้ำมันหอมระเหยไทย, สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.).  “กระดังงาสงขลา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th/essentialoils/.
  • ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “กระดังงาสงขลา”.  (นพพล เกตุประสาท, ไพร มัทธวรัตน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: clgc.rdi.ku.ac.th .
  • ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชน สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน).  “กระดังงาสงขลา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.bedo.or.th.
  • สวนพฤกษศาสตร์สายยาไทย.  “กระดังงาสงขลา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.saiyathai.com
  • AromaHub.  “กระดังงาสงขลาไม้หอมไทยแท้”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.aromahub.com.
  • NanaGarden.  “ลักษณะกระดังงาสงขลา”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.nanagarden.com.
  • https://medthai.com/