กระชายแดง ช่วยบำรุงกำลัง แก้กามตายด้าน และป้องกันโรคเบาหวาน

SA Game

ภาพจาก https://www.tnews.co.th/variety/521684/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%93-44-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B9%86-%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

แก้กามตายด้าน ช่วยบำรุงกำลัง กระชายแดง และป้องกันโรคเบาหวาน

กระชายแดง สมุนไพรท้องถิ่นมีชื่อ ว่า กระชายป่า, ขิงแคลง, ขิงแดง, ขิงทราย (ภาคอีสาน), ขิงละแอน (ภาคเหนือ) กระชายแดง ชื่อวิทยาศาสตร์ Boesenbergia pandurata (Roxb.) Schltr., Gastrochilus pandurata (Roxb.) Ridl., Kaempferia pandurata Roxb.จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

กระชายแดง จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุหลายปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน หรืออาจเรียกว่า “หัวกระชาย” หรือ “นมกระชาย” หรือ “กระโปก” ลักษณะทั่วไปเหมือนกันกับกระชายเหลือง แต่จะแตกต่างกันตรงเหง้าและเนื้อด้านในของเหง้า โดยเนื้อจะมีสีเหลืองแกมส้ม ส่วนขนาดของลำต้น ขนาดใบ เหง้าหรือรากจะเล็กกว่ากระชายเหลือง มีความสูงของทรงพุ่มประมาณ 30-80 เซนติเมตร เหง้าเรียวยาว ออกเป็นกระจุก

SA Game
ภาพจาก https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%94%E0%B8%87/

ลักษณะของรากหรือเหง้าสะสมอาหารจะมีลักษณะเป็นแท่งกลม เรียวยาว พองตรงกลางและฉ่ำน้ำ เหง้ามีสีน้ำตาลอ่อนและมีกลิ่นหอมอ่อนไม่แรงเหมือนกระชายเหลือง ชอบดินร่วนที่ระบายน้ำดี เป็นที่ร่ม และในช่วงฤดูฝนจะแตกยอดขึ้นเหนือพื้นดิน หรืออาจเกิดได้ตลอดทั้งปีหากดินมีความชื้นสูง ส่วนกาบใบมีลักษณะซ้อนกันหลายชั้น มีสีน้ำตาลแดง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการแยกหน่อ สามารถพบได้ทั่วไปของทุกภาคในประเทศ

ใบกระชายแดง มีใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบเป็นรูปไข่ค่อนข้างยาวหรือเป็นรูปใบแกมหอก โคนใบสอบ ขอบใบขนาน มีความกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตรและยาวประมาณ 15-30 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวเรียบและเป็นมัน ก้านใบเป็นร่อง มีลิ้นใบบางใสที่ส่วนบนของกาบใบ โคนกาบใบและหลังใบมีสีแดงเรื่อ ๆ ส่วนที่กาบใบที่ทำหน้าที่ช่วยห่อหุ้มลำต้นและหลังใบด้านล่าง

ดอกกระชายแดง ดอกออกเป็นช่อ โดยช่อดอกจะยื่นยาวโผล่ขึ้นมาจากกลางยอดระหว่างใบ โดยจะโผล่เฉพาะส่วนที่เป็นกลีบดอกและส่วนของใบประดับ ดอกมีใบประดับหุ้มช่อดอก กลีบเลี้ยงที่โคนเชื่อมติดกันเป็นหลอด ส่วนปลายแยกเป็น 3 หยักสั้น ๆ บางใส

ส่วนกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาว กลีบดอกมีสีชมพูอ่อน 3 กลีบ กลีบด้านบนมี 1 กลีบ ลักษณะเป็นรูปใบหอกแกมรูปขอบขนาน ปลายแหลม มีสีชมพูอ่อนถึงสีชมพู ส่วนกลีบด้านล่างมี 2 กลีบ จะอยู่บริเวณใต้กลีบปาก

ลักษณะเป็นรูปขอบขนานแกมใบหอก มีปลายแหลม มีสีชมพูอ่อน ๆ ส่วนเกสรตัวผู้ ส่วนที่เป็นกลีบอยู่บนปลายยอดกลีบดอกจะมี 3 หยักแยกจากกัน โดยหยักบนจะมี 2 หยัก มีขนาดเท่ากัน ลักษณะเป็นรูปไข่กลับ ปลายกลม มีสีชมพูอ่อน ส่วนหยักล่างมี 1 หยัก มีขนาดใหญ่กว่าและเป็นรูปไข่กลับ กลางกลีบโค้งคล้ายท้องเรือ

ส่วนปลายแผ่ขยายกว้าง ที่ขอบเป็นลอน พื้นมีสีชมพูมีสีแดงแต้มด้วยสีชมพูเข้ม ส่วนริมขอบปากเป็นลอนเล็กน้อย ก้านเกสรสั้น ลักษณะโค้งเล็กน้อย ส่วนเกสรตัวเมียจะมีลักษณะคล้ายกับรูปสามเหลี่ยมหัวกลับ มีสีขาวแกมชมพูอ่อน ที่โคนก้านเกสรจะมีต่อม 2 ต่อม ลักษณะเป็นรูปเรียวยาว และดอกย่อยของกระชายแดงจะทยอยบานทีละดอก

ผลกระชายแดง ผลแก่มีพู 3 พู และมีเมล็ดอยู่ภายในผล

สรรพคุณกระชายแดง

  • ว่านกระชายแดงใช้เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยแก้โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ทำให้ร่างกายแข็งแรง ด้วยการใช้หัวตากแห้งนำมาบดละเอียดละลายผสมกับน้ำผึ้งแล้วปั้นเป็นยาลูกกลอนกินเป็นประจำก่อนอาหารเช้าและเย็น (หัว)[3]
  • ช่วยบำรุงกำลัง ทำให้กระชุ่มกระชวย (หัว)[4]
  • ช่วยบำรุงระบบประสาทให้ทำงานได้ดีขึ้น (หัว)[5]
  • ช่วยบำรุงกำหนัด แก้กามตายด้าน ทำให้ร่างกายกระชุ่มกระชวย ด้วยการใช้หัวแห้งนำมาบดผสมกับน้ำผึ้งเป็นยาลูกกลอนรับประทาน (หัว)[3],[4]
  • ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดแข็งตัว (หัว)[5]
  • ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน (หัว)[5]
  • ช่วยรักษาโรคในช่องปากต่าง ๆ แก้ปากเปื่อย ปากแตก มีแผลในช่องปาก (หัว)[4]
  • ช่วยรักษามะเร็งเม็ดเลือด จาการวิจัยใหม่พบว่ากระชายแดงเป็นส่วนประกอบในการรักษามะเร็งเม็ดเลือด (BVHJ) ซึ่งมีส่วนผสมดังนี้ กระชายแดงทั้งต้น 50 กรัม, แพงพวยดอกขาวทั้งต้น 50 กรัม, หญ้างวงช้างทั้งต้น 50 กรัม, และสบู่แดงทั้งต้น 50 กรัม นำมาบดรวมกันให้เป็นผง ใช้ชงกับน้ำร้อนดื่มหลังอาหารครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 3 เวลา (ทั้งต้น)[5]
  • ช่วยรักษามะเร็งกระดูก (BOE) โดยใช้กระชายแดงนำมาบดให้เป็นผง ใช้กินก่อนอาหารครั้งละ 2 ช้อนชา (ไม่ระบุว่ากินอย่างไร แต่คาดว่าน่าจะใช้ชงกับน้ำร้อนดื่ม) วันละ 3 เวลา อาการจะดีขึ้น (ไม่ระบุว่าเป็นส่วนไหน)[5]
  • ช่วยแก้ลมอันเกิดแก่กองหทัยวาตะหรือลมในหัวใจ ที่ทำให้จิตใจระส่ำระสาย แก้อาการใจสั่น (หัว)[4]
  • ช่วยแก้อาการปวดมวนในท้อง (หัว)[4]
  • ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ลมจุกเสียดได้ดี มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย E.coli ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของอาการจุกเสียดแน่น (หัว)[5]
  • สาร Cineole ในกระชายแดงมีฤทธิ์ช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้ จึงช่วยลดอาการปวดเกร็งได้[5]
  • ช่วยแก้อาการปวดเบ่ง (หัว)[4]
  • ช่วยแก้อาการบิดมูกเลือด (หัว)[4]
  • ช่วยรักษาโรคลำไส้ใหญ่อักเสบ (หัว)[4]
  • ช่วยแก้โรคพยาธิ ด้วยการใช้หัวนำมาปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานก่อนเข้านอนทุกวัน (หัว)[4]หัวกระชายแดง
  • ช่วยขับระดูขาว แก้มุตกิดระดูขาวของสตรี (หัว)[4]
  • น้ำมันหอมระเหยมีฤทธิ์ช่วยบรรเทาอาการหดตัวของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อในระบบทางเดินอาหาร[5]
  • ป้องกันมะเร็งและช่วยทำให้ตับทำงานกำจัดสารพิษได้ (หัว)[5]
  • จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลระบุว่า สาร Pinostrobin ในกระชายมีฤทธิ์ช่วยต้านการเจริญเติบโตของเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคกลาก 3 ชนิด และช่วยต้านการเจริญของเชื้อ Candida albican ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการตกขาวในสตรี[5]
  • ช่วยป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม (หัว)[5]
  • กระชายแดงมีสรรพคุณที่เหมือนกับกระชายเหลือง[1] โปรดอ่านเพิ่มเติมที่ สรรพคุณและประโยชน์ของกระชาย 49 ข้อ ! (กระชายเหลือง)
  • ตามตำราว่านระบุว่าสรรพคุณของกระชายแดงนั้นเหมือนสรรพคุณของกระชายดำทุกอย่าง เพียงแต่ว่าจะมีความพิเศษกว่าก็ตรงที่การนำมาใช้รักษาผู้ที่ถูกคุณไสย[5] โปรดอ่านเพิ่มเติมที่ สรรพคุณและประโยชน์ของกระชายดำ 45 ข้อ !

ประโยชน์ของกระชายแดง

  • หน่ออ่อนสามารถนำมาใช้ปรุงรสในน้ำยาขนมจีน และใช้บริโภคเป็นผัดสดร่วมกับน้ำพริกได้[2]
  • มีการนำกระชายแดงมาใช้เพื่อแก้การถูกคุณไสย ด้วยการใช้หัวนำมาโขลกให้ละเอียดผสมกับน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอน แล้วเสกด้วยคาถาบทสวดสรรเสริญพระพุทธคุณ “อิติปิโสภะคะวา จนถึง ภะคะวาติ” ให้ครบ 16 จบ ก่อนนำให้ผู้ถูกคุณไสยรับประทาน หรือนำมาใช้ในทางอยู่ยงคงกระพันชาตรี[3],[4]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

อ้างอิง

  • สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.tistr.or.th.
  • ผักพื้นบ้านในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร.  “ผักพื้นบ้าน กระชายแดง”.  อ้างอิงใน: หนังสือผักพื้นบ้านภาคอีสาน (สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข).  หนังสือชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย (เต็ม สมิตินันทน์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: 203.172.205.25.
  • ๑๐๘ พรรณไม้ไทย.  “ว่านกระชายแดง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.panmai.com.
  • ว่านและพรรณไม้สมุนไพรไทย คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร.  “กระชายแดง”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: natres.skc.rmuti.ac.th.
  • ไทยรัฐออนไลน์.  “กระชายแดงกับงานวิจัยใหม่”.  โดยนายแพทย์นพรัตน์ บุณยเลิศ.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.thairath.co.th.
  • https://medthai.com/