กระชับ สมุนไพรบำรุงกำลังถอนพิษไข้ ช่วยทำให้เจริญอาหาร 

SA Game

ภาพจาก https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%9A/

 สมุนไพร กระชับ ช่วยทำให้เจริญอาหาร บำรุงกำลังถอนพิษไข้

กระชับ จัดเป็นสมุนไพร ไม้ล้มลุก มีอายุราว 1 ปี (บ้างว่าหลายปี) มีความสูงของต้นประมาณ 40-100 เซนติเมตร ลำต้นตั้งตรง ผิวต้นหยาบ มีลายเส้นเป็นเหลี่ยม ๆ ทั้งต้น มีขนสีขาว ๆ ขึ้นอยู่ประปราย ผิวโคนต้นเป็นสีม่วง ส่วนผิวด้านบนของลำต้นเป็นสีเขียวแต้มด้วยสีน้ำตาลดำ แตกกิ่งก้านได้มาก ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และเข้าใจว่าต้นกระชับนี้มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกา มีการแพร่กระจายเป็นวัชพืชไปทั่วโลก โดยมักจะขึ้นตามที่โล่ง แม่น้ำ ริมลำธาร ริมตลิ่ง ริมทะเล ตามหนองบึงทั่วไป รวมไปถึงตามที่รกร้างว่างเปล่า

กระชับ สมุนไพรท้องถิ่น มีชื่ออื่น ๆ ว่า ขี้ครอก (ราชบุรี), หญ้าผมยุ่ง (เชียงใหม่), เกี๋ยงนา มะขัดน้ำ มะขะนัดน้ำ (ภาคเหนือ), เกี๋ยงน้ำ ขี้อ้น ขี้อ้นดอน ขี้อ้นน้ำ (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), ชางเอ๋อจื่อ (จีนกลาง), ผักกระชับ

ชื่อสามัญ Burweed, California-bur, Cocklebur, Ditch-bur

ชื่อวิทยาศาสตร์ Xanthium strumarium L.[2] (ชื่อพ้องวิทยาศาสตร์ Xanthium sibiricum Patrexwidd [1], Xanthium americanum Walter[2], Xanthium chinense Miller[2], Xanthium indicum Koeing ex Roxb.[2], Xanthium japonicum Widder[2]) จัดอยู่ในวงศ์ทานตะวัน (ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE)[1],[2]

SA Game
ภาพจาก https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B8%9A/

ใบกระชับ ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปสามเหลี่ยม เว้าลึกเป็นแฉก 3-5 แฉก แผ่นใบยาวประมาณ 9-25 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเป็นรูปหัวใจตื้นหรือกลม ขอบใบเป็นซี่ฟันปลาหรือหยักเป็นฟันเลื่อยแบบไม่เป็นระเบียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 5-10 เซนติเมตรและยาวประมาณ 6-10 เซนติเมตร ก้านใบยาวประมาณ 3.5-10 เซนติเมตร แผ่นใบมีขนสากทั้งสองด้าน

ดอกกระชับ ออกดอกเป็นช่อกระจุกแน่น เรียงแบบช่อกระจะบนแกนเดียว ดอกมีจำนวนมาก ดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่บนต้นเดียวกัน โดยดอกเพศผู้จะออกที่ปลายกิ่ง มีวงใบประดับ 1 วง ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 2.2 เซนติเมตร กาบด้านนอกเป็นรูปขอบขนาน

กาบด้านในมีลักษณะเป็นรูปใบหอก ยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร กลีบดอกเป็นสีขาว หลอดกลีบยาวประมาณ 2.5 มิลลิเมตร ปลายเป็นจัก 5 จัก มีเกสรเพศผู้จำนวน 5 ก้าน เชื่อมติดกันอยู่ ส่วนช่อดอกเพศเมียจะออกตามซอกใบ มีวงใบประดับอยู่ 1 วง ลักษณะเป็นรูปขอบขนาน มีความยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร โดยใบประดับด้านในจะเชื่อมติดกับกาบนอก ส่วนเกสรเพศเมียปลายแยกเป็น 2 แฉก

ผลกระชับ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปกลมรีหรือเป็นรูปขอบขนาน ยาวประมาณ 1-1.8 เซนติเมตร โดยจะออกเป็นคู่ ๆ ผลมีหนามนุ่มเป็นรูปตะขออยู่บนผิวของผล ที่ปลายผลเป็นจะงอยแหลม 2 อัน ในผลหนึ่งผลจะมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด เรียกว่า “เมล็ดกระชับ” เมล็ดเป็นสีดำมีลักษณะเรียวยาวและเข็ง โดยจะมีความยาวประมาณ 8-16 มิลลิเมตรและกว้างประมาณ 5-12 มิลลิเมตร

สรรพคุณของกระชับ

  1. ผลใช้เป็นยาเย็น ยาบำรุงกำลัง (ผล)[6]
  2. รากใช้เป็นยาขมช่วยทำให้เจริญอาหาร (ราก)[6]
  3. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ, ต้น)[1],[6]
  4. ช่วยระงับประสาท (ต้น)[6]
  5. ช่วยแก้อาการปวดหู (ใบ, ต้น)[6]
  6. ช่วยแก้จมูกอักเสบเรื้อรังและริดสีดวงจมูก ด้วยการใช้เมล็ดกระชับประมาณ 8 กรัม, ใบสะระแหน่ 5 กรัม, ใบชา 10 กรัม, รากหอมใหญ่ 6 กรัม, โกฐสอ 10 กรัม และดอกชุนฮัว 12 กรัม นำทั้งหมดมาต้มกับน้ำเป็นยารับประทาน (ต้น)[1]
  7. น้ำสกัดจากผลใช้เป็นยาบ้วนปาก แก้อาการปวดฟันได้ (ผล)[2]
  8. เมล็ดใช้เป็นยาแก้ไข้หวัด ถอนพิษไข้ (ราก, ต้น, ใบ, เมล็ด)[1],[6]
  9. เมล็ดใช้เป็นยารักษาไข้จับสั่น (เมล็ด)[1]
  10. ผลใช้เป็นยาแก้ไข้ทรพิษ (ผล)[6]
  11. ลำต้นใช้เป็นยาแก้โรคมาลาเรีย (ต้น)[6]
  12. ช่วยขับเหงื่อ (ต้น)[1],[6]
  13. ช่วยขับน้ำลาย (ต้น)[4],[6]
  14. ราก ลำต้น ใบ และเมล็ดมีรสขม เผ็ดชุ่ม เป็นยาอุ่นแต่มีพิษเล็กน้อย ออกฤทธิ์ต่อปอดและตับ ช่วยขับลมชื้น (เมล็ด)[1]
  15. ช่วยรักษาโรคกระเพาะอักเสบ (ต้น)[6]
  16. ช่วยรักษาโรคท้องมาน (ผล)[6]
  17. ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ (ต้น)[6]
  18. ช่วยรักษาโรคเริม (ใบ)[1],[6]
  19. แก้มุตกิดของสตรี (ต้น)[6]
  20. ช่วยแก้อาการตกเลือดในสตรี (ราก, ต้น, ใบ, เมล็ด)[1]
  21. ช่วยแก้อาการปวดประจำเดือนของสตรี (ต้น)[4],[6]
  22. ใบใช้แก้โรคที่เกี่ยวกับต่อมน้ำเหลือง (ใบ)[6]
  23. ช่วยแก้พิษงูสวัด (ใบ)[1],[6]
  24. ช่วยแก้ลมพิษ (ผล)[6]
  25. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย ด้วยการใช้ใบและลำต้นนำมาตำแล้วใช้พอกบริเวณที่ถูกกัด (ใบ, ต้น)[1]
  26. ช่วยแก้โรคผิวหนัง รักษาโรคเรื้อน (เมล็ด)[1]
  27. ช่วยแก้หิด (ใบ, ต้น)[1],[6]
  28. ช่วยแก้ฝีหนองภายนอก ด้วยการใช้ต้นกระชับสดประมาณ 60 กรัม นำมาต้มกับน้ำ แล้วนำน้ำที่ต้มได้มาล้างบริเวณที่เป็นแผล (ต้น)[1]
  29. ใบและลำต้นนำมาตำให้ละเอียด ใช้พอกรักษาแผลปวดบวม (ใบ, ต้น)[6]
  30. ช่วยสมานแผลสด ช่วยห้ามเลือด (ราก, ใบ)[1],[6]
  31. ช่วยแก้อาการปวดกล้ามเนื้อ (ต้น)[6]
  32. ช่วยระงับอาการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ อัมพาต (ผล)[6]
  33. ช่วยแก้ไขข้ออักเสบ (ต้น)[1]
  34. รากใช้เป็นยาแก้วัณโรคต่อมน้ำเหลืองและมะเร็ง (ราก)[6]

รากและผลมีสารจำพวกอัลคาลอนด์ เช่น Xanthinin, Xanthumin และสาร Xanthatin ซึ่งเป็นที่มีสรรพคุณแก้แพ้ แก้อาการอักเสบได้หลายอย่าง เช่น การติดเชื้อทางผิวหนัง โรคกระเพาะอาหาร เป็นต้น (ผล, ราก)[2]

ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของกระชับ

ทั้งต้นพบสาร 43-lsopetenyl, Strumaroside, Xanthinin, Xanthumin อีกทั้งยังมีสาร KNO3, C aSO4, Amino Acid เป็นต้น[1]

เมล็ดกระชับพบสาร Xanthostrumarin 1.27% และพบสาร Xanthumin Xathnol และยังพบน้ำมันอีกประมาณ 39% ซึ่งในน้ำมันพบสาร เช่น Oleic acid และ Linoleic acid ในเมล็ดยังพบ Oxalic acid, เรซิน, วิตามินซี, โปรตีน, และน้ำตาลอีกด้วย[1]

ในเมล็ดกระชับมีสาร Santhostrunarin โดยสารชนิดนี้เมื่อนำมาทดลองกับสัตว์ทดลอง จะพบว่ามันสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดของสัตว์ทดลองได้ แต่สารดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้รักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานได้เหมือนสารอินซูลิน เนื่องจากสารดังกล่าวนั้นมีลักษณะการลดน้ำตาลในเลือดที่แตกต่างกันคือ อินซูลินจะทำให้หน้าที่ลดระดับน้ำตาลในเลือดที่มีอยู่ในกระแสเลือดให้ลดลง แต่สารจากเมล็ดกระชับจะทำให้หน้าที่สลายโครงสร้างของน้ำตาลที่กำลังสร้างขึ้นจากภายในตับ ดังนั้น จึงไม่มีผลในการลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือดที่เกิดจากการรับประทานเข้าได้เหมือนกับสารอินซูลิน[1]

น้ำต้มที่ได้จากเมล็ดกระชับ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Bacillus inuza และ Staphylococcus ได้[1]

สาร Santhostrunarin จากกระชับมีฤทธิ์เป็นพิษ โดยจะทำให้ bun. ในปัสสาวะสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อไต เพราะจะทำให้พิษไนโตรเจนจากปัสสาวะเข้าสู่กระแสเลือด ซึ่งจะมีผลในการทำลายตับ ทำให้ตับเกิดโรคได้ หรือหากพิษเข้าสู่สมองก็มีผลในการทำลายเส้นประสาทในสมอง และมีผลต่อชีวิตได้[1]

หากฉีดสาร Santhostrunarin ในขนาด 10-16 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัวของหนู 1 กิโลกรัม จะเริ่มถึงขีดอันตราย แต่ถ้าหากฉีดในขนาดถึง 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม จะมีพิษทำให้หนูเสียชีวิตได้[1]

สำหรับวิธีการแก้พิษจากสาร Santhostrunarin ให้ฉีดน้ำเกลือ จะสามารถช่วยบรรเทาพิษลงได้ และขึ้นอยู่กับปริมาณของพิษที่ได้รับ[1]

ประโยชน์ของกระชับ

ยอดอ่อนและต้นอ่อนที่มีใบแท้สมบูรณ์เมื่อทำให้สุกแล้วสามารถใช้รับประทานเป็นผักได้ หรือใช้ต้นอ่อน (เพาะจากเมล็ด) นำมาใช้ปรุงอาหาร เช่น ทำแกงส้ม เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ควรจะระมัดระวัง เนื่องจากต้นกระชับมีสาร xanthostrumarin glycoside ซึ่งเป็นสารที่เป็นพิษต่อสัตว์เลี้ยง[2],[3],[5]

เมล็ดให้แป้ง โดยเมล็ดจากแป้งสามารถนำมาใช้ทำเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยวได้[2],[3]

ข้อควรระวังในการใช้สมุนไพรกระชับ

ต้นกล้าของกระชับจะมีพิษมาก ห้ามรับประทานเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้[1]

เมล็ดมีสาร Xanthostrumarin glycoside ซึ่งเป็นสารที่มีพิษต่อสัตว์ สารนี้จะคงอยู่จนถึงระยะที่เมล็ดงอกเป็นต้นอ่อนมีใบเลี้ยงติดอยู่ เมื่อใบแท้เริ่มมีการเจริญเติบโต ไกลโคไซด์จะลดลงอย่างรวดเร็ว โดยสารพิษชนิดนี้จะไม่สลายตัวแม้จะนำมาตากแดดให้แห้งแล้วก็ตาม[2]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

อ้างอิง

  • หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  “กระชับ”.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  หน้า 24.
  • สำนักงานหอพรรณไม้ สำนักวิจัยการอนุรักษ์ป่าไม้และพันธุ์พืช กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช.  “กระชับ”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.dnp.go.th/botany/.
  • หนังสืออนุกรมวิธานพืช อักษร ก. ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.  “กระชับ”.
  • หนังสือคู่มือการปรุงอาหารจากผักพื้นบ้านไทย.  (ยิ่งยง ไพสุขศานติวัฒนา).
  • ผักพื้นบ้าน ในประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร, สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง.  “หญ้าหัวยุ่ง”.  อ้างอิงใน: หนังสือสารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย (วุฒิ วุฒิธรรมเวช).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: area-based.lpru.ac.th/veg/.
  • สมุนไพรดอทคอม.  “กระชับ”.  อ้างอิงใน: หนังสือพจนานุกรม สมุนไพรไทย (วิทย์ เที่ยงบูรณธรรม).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.samunpri.com.
  • https://medthai.com/