กรวย สมุนไพรเสริมสุขภาพ บำบัดอาการเจ็บคอ บำรุงโลหิต 

SA Game

ภาพจาก https://www.matichon.co.th/region/news_946111

สมุนไพรเสริมสุขภาพ กรวย บำบัดอาการเจ็บคอ บำรุงโลหิต

กรวย จัดเป็นสมุนไพรไม้ยืนต้นไม่ผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เมตร โคนต้นเป็นพอน มักมีรากค้ำยันบริเวณโคนต้น เรือนยอดมีลักษณะแคบยาวหรือเป็นรูปกรวยคว่ำ กิ่งแตกเกือบตั้งฉากกับลำต้น ปลายกิ่งห้อยลู่ลง เปลือกต้นเรียบหรือแตกเป็นร่องตื้น ๆ เล็กน้อย เป็นสีน้ำตาลหรือเทา เมื่อสับเปลือกจะมียางใสสีแดงไหลออกมามาก ตามเปลือกและกิ่งจะมีช่องอากาศทั่วไป

ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดและวิธีการตอนกิ่ง พรรณไม้ชนิดนี้มีเขตการกระจายพันธุ์ในศรีลังกา หมู่เกาะอันดามัน พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ส่วนในประเทศไทยพบขึ้นกระจายพันธุ์ทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้ โดยมักขึ้นตามป่าดิบชื้นริมน้ำหรือบนที่ราบตามริมฝั่งแม่น้ำลำคลองตอนที่ติดต่อกับทะเล

กรวย สมุนไพรที่มีชื่อท้องถิ่นอื่น ๆ ว่า กรวย กรวยน้ำ กรวยสวน (กรุงเทพฯ), กะเพราพระ เพราพระ (ชุมพร), จุมพร้า ตุมพระ (นครศรีธรรมราช), ตุมพระ (สตูล), ยางู (สตูล), ตือระแฮ ระหัน หัน (ปัตตานี) เป็นต้น[1] (บางข้อมูลเรียกชื่อสมุนไพรชนิดนี้ว่า “กรวยบ้าน”) มีชื่อวิทยาศาสตร์ Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb. จัดอยู่ในวงศ์จันทน์เทศ (MYRISTICACEAE)[1]

SA Game
ภาพจาก https://medthai.com/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2/

ใบกรวย ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปขอบขนานหรือรูปรีแกมรูปขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมนหรือแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 4-8 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร เส้นแขนงใบมีข้างละ 10-18 เส้น เป็นเส้นตรงขนานกัน ปลายเส้นโค้งขึ้นเลียบขอบใบ แผ่นใบด้านบนเป็นสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างเป็นสีนวล ก้านใบยาวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร[1]

ดอกกรวย ดอกแยกเพศอยู่ต้นเดียวกัน โดยจะออกเป็นช่อแยกแขนงตามซอกใบ ยาวประมาณ 10-16 เซนติเมตร มีขน ช่อดอกเพศผู้จะแตกแขนงแผ่กว้างกว่าช่อดอกเพศเมีย ดอกมีขนาดเล็กมากและมีจำนวนมาก ดอกเป็นสีเหลืองอ่อนและมีกลิ่นหอม

ออกชิดกันแน่นเป็นกลุ่ม ๆ ตามแขนงช่อดอก วงกลีบรวมติดกัน ส่วนบนแยกเป็น 2 กลีบ ดอกเพศผู้จะมีเกสรเพศผู้ 6-10 อัน ส่วนดอกเพศเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าดอกเพศผู้ ออกดอกในช่วงประมาณเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน[1],[2]

ผลกรวย ผลมีลักษณะกลมเป็นผลแบบมีเนื้อ ออกเป็นพวง พวงละประมาณ 2-5 ผล ผลมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผนังผลหนา เมื่อสุกผลจะเป็นสีส้มหรือสีแดงอมส้ม ก้านผลมีขนาดยาวประมาณ 0.8-1.1 เซนติเมตร

ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปไข่สีน้ำตาล แข็ง และมีขนาดใหญ่ เนื้อหุ้มเมล็ดเป็นสีแดงอมส้ม หุ้มเมล็ดมิดชิดโดยรอบหรือเปิดเป็นช่องเล็ก ๆ ที่ส่วนบน ออกผลในช่วงประมาณเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน

สรรพคุณของกรวย

ชาวมาเลเซียจะใช้เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำเดือด ใช้เป็นยากลั้วปากและคอ แล้วบ้วนทิ้งเพื่อช่วยบำบัดอาการเจ็บคอได้ดี (เปลือกต้น)[1] (บางข้อมูลระบุว่า ให้ใช้น้ำยางจากเปลือกต้น[4])

เปลือกต้นใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาบำรุงโลหิต (เปลือกต้น)[3]

ประโยชน์ของกรวย

  • ใช้ประโยชน์ในด้านภูมิทัศน์ ปลูกเพื่อให้ร่มเงาริมน้ำ ดอกหอม เป็นไม้ไม่ผลัดใบ และมีรากช่วยยึดตลิ่งได้ดี[2]
  • เนื้อไม้ใช้ในงานก่อสร้างภายในอาคารบ้านเรือน[4]
  • ผลเป็นอาหารของสัตว์ป่า[4]

สมุนไพรไทย แพทย์แผนไทย สมุนไพรประจำบ้าน ที่คนไทยรู้จักกันดี สรรพคุณเป็นยา รักษาโรคได้ ควรมีติดไว้ประจำบ้าน พืชที่ใช้เป็นยารักษาโรค หรือ เสริมสุขภาพ ช่วยในการรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้เป็นอย่างดี การหาความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับชีวิตประจำวัน

สมุนไพรที่ได้จากส่วนของพืชโดยตรง (พืชวัตถุ) โดยส่วนต่างๆ ที่นำมานั้นมีสารที่สามารถใช้เป็นยาได้ ได้แก่ ใบ ดอก ผล เปลือกผล เมล็ด เปลือกเมล็ด รากหรือหัว ต้น แก่น กระพี้ เนื้อไม้ เปลือกไม้ สมุนไพรที่ได้จากอวัยวะของสัตว์ (สัตว์วัตถุ) ได้แก่ ตับ ดี นอ เขา เอ็น เลือด น้ำมัน มูล ฯลฯ เช่น ขี้ผึ้ง รังนก น้ำมันตับปลา สมุนไพรที่ได้จากแร่โดยธรรมชาติหรือสิ่งที่ประกอบขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ตามกรรมวิธี (ธาตุวัตถุ) นำมาใช้เป็นยา  ติดตามได้ที่ doodido

อ้างอิง

  1. ข้อมูลพรรณไม้, สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี.  “กรวย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.rspg.or.th/plants_data/.
  2. ฐานข้อมูลพรรณไม้ที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรม ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  “กรวย”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : agkc.lib.ku.ac.th.
  3. ฐานข้อมูลพรรณไม้ องค์การสวนพฤกษศาสตร์, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.  “Horsfieldia irya (Gaertn.) Warb.”.  อ้างอิงใน : หนังสือสารานุกรมสมุนไพร เล่ม 4 กกยาอีสาน หน้า 139.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.qsbg.org.
  4. ไทยเกษตรศาสตร์.  “กรวย (Kruai)”.  อ้างอิงใน : หนังสือวัลลิ์รุกขบุปผชาติ ตามรอยพระบาทบรมราชกุมารี.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.thaikasetsart.com.
  5. https://medthai.com/