แกงตูน อาหารไทยรสเข้มข้นนิยมแกงใส่ปลา

ภาพจาก อนุรักษ์อาหารเมืองเหนือ
ส่วนที่นำมาทำอาหารกินได้คือ ก้าน นิยม แกงตูน ใส่เนื้อปลา
แกงตูน ตูน หรือ คูนเป็นพืชตระกูลบอน มีหัวอยู่ใต้ดิน มีใบใหญ่สีเขียว เป็นพืชที่ขึ้นง่าย ชอบขึ้นในที่ชื้น มักปลูกกันริมรั้วบ้านและปลูกได้ตลอดทั้งปี ส่วนที่นำมาทำอาหารกินได้คือก้านที่โตเต็มที่ เมื่อลอกเปลือกออกแล้วจะกินสดก็ได้ นำไปทำอาหารกินก็ได้
ในภาคเหนือนิยมนำตูนไปทำแกงตูนใส่กะทิบ้างไม่ใส่กะทิบ้าง ส่วนในภาคใต้นิยมนำไปทำแกงเหลืองคูนใส่เนื้อปลาหรือที่เรียกว่า แกงส้ม
แกงตูน จัดว่าเป็นแกงผักชนิดหนึ่ง ตูน สามารถนำมาทำอาหารไทยได้หลายอย่าง โดยเฉพาะแกง, แกงส้ม, ยำ แต่เป็นที่นิยมแกงกับเนื้อปลา บ้างนิยมนำปลาย่างไฟก่อน บ้างนิยมแกงกับกุ้งฝอย
เนื่องจากตูนเป็นพืชในตระกูลบอน และเป็นพืชตระกูลที่มีทั้งกินได้และกินไม่ได้ ที่กินไม่ได้นั้นมีพิษอันตรายอาจถึงชีวิตได้ เช่น โหรา เป็นต้น ดังนั้นต้องระวังมาก ๆ ใบของพืชตระกูลบอนมีความคล้ายคลึงกันมากหากเราไม่รู้อย่างแน่ชัดให้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนตัดก้านมาทำอาหาร แต่ถ้าหากซื้อจากตลาดให้เลือกร้านที่ไว้ใจได้เพื่อความปลอดภัย

ส่วนผสม
- คูนก้านอ่อน 100 กรัม
- ปลาช่อน 100 กรัม
- มะเขือเทศลูกเล็ก 4 ลูก
- มะนาว 1 ลูก
- ใบแมงลัก 3 ต้น
เคล็ดลับในการเลือกส่วนผสม
- เลือกปลาสด จะทำให้น้ำแกงหวาน และใส่เนื้อปลาในน้ำเดือด เพื่อไม่ให้มีกลิ่นคาว
เครื่องแกง
- พริกหนุ่ม 3 เม็ด
- หอมแดง 3 หัว
- กระเทียม 20 กลีบ
- ขมิ้นซอย 1 ช้อนโต๊ะ
- ตะไคร้ซอย 2 ช้อนโต๊ะ
- เกลือ 1 ช้อนชา
- กะปิ 1 ช้อนโต๊ะ
วิธีการทำ
- แกะเปลือกก้านคูนออก หั่นเป็นท่อน บีบน้ำออกให้ก้านคูนนิ่ม
- โขลกเครื่องแกงรวมกันให้ละเอียด
- ต้มน้ำ พอเดือด ละลายเครื่องแกงในน้ำเดือด
- ใส่ก้านคูนลงในหม้อ
- ใส่น้ำมะนาว มะเขือเทศ พอน้ำเดือด ใส่ปลาช่อน
- พอปลาสุก ใส่ใบแมงลัก คนให้เข้ากัน ปิดไฟ
เคล็ดลับในการปรุง
- คลุกเคล้าคูนกับเกลือและบีบน้ำออก เพื่อให้คูนนิ่ม ก่อนนำไปปรุง
สูตรอาหารพื้นบ้าน สูตรอาหารภูมิภาค สูตรอาหารจานด่วน สูตรอาหารท้องถิ่น สูตรอาหารประเทศเพื่อนบ้าน สูตรอาหารจานเดียว หิวเมื่อไหร่ก็สามารถทำอาหารเป็นจาน ๆ แล้วกินได้เลย มีอาหารให้เลือกหลากหลาย ใครเบื่อที่จะกินข้าวร้านตามสั่งเดิม ๆ แล้วล่ะก็ วันนี้ เราใจดีแจก สูตรอาหารยอดฮิต ทั้งข้าว ทั้งเส้น ฟินได้ไม่มีเบื่อ! เอาไว้ทำอาหารกินเองที่บ้าน ถ้าอยากทราบว่ามีเมนูอาหารอะไรกันบ้างก็ตามมาเลย! อ่านต่อได้ที่ doodido
ที่มา : ศูนย์สนเทศภาคเหนือ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่