อาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลันเสี่ยงเส้นเลือดสมองโป่งพองได้

5 สัญญาณอันตราย “ปวดศีรษะ” แบบไหนเสี่ยง “เส้นเลือดสมองโป่งพอง”
หลายๆ คนมักละเลยอาการป่วยของต้นเองที่คิดว่าเป็นเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แต่หากเกิดอาการปวดศีรษะบ่อยๆ จากการปวดเล็กน้อยจนถึงระดับปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน และตัวเองไม่สนใจและไม่ได้ไปพบแพทย์เพื่อรักษาอาการดังกล่าว เพราะคิดว่าเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นเป็นประจำ ท่านจะรู้มั้ยว่าอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลันนั้นเสี่ยงเส้นเลือดสมองโป่งพองได้ในวันนี้เราจะมาพูดถึงอาการเหล่านี้ว่าเป็นอย่างไรบ้างนะคะ
เป็นภาวะของผนังหลอดเลือดอ่อนแรงลงจึงเกิดอาการโป่งพอง เกิดได้ทั้งหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำ โดยส่วนมากที่พบมักจะเป็นหลอดเลือดแดง เมื่อเส้นเลือดโป่งพองถึงจุดหนึ่งก็จะมีการแตก ซึ่งทำให้เกิดภาวะที่สำคัญ คือ เลือดออกในช่องใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นอะแร็คนอยด์ ซึ่งภาวะนี้เป็นอันตรายถึงพิการหรือนำไปสู่การเสียชีวิตได้

ปวดศีรษะอย่างรุนแรงเฉียบพลัน เสี่ยงเส้นเลือดสมองโป่งพอง ควรรีบพบแพทย์
กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา เตือน ปวดหัวอย่างรุนแรง และเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันแบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน หากไม่ได้รับการรักษา หรือรักษาไม่ทันเวลาอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
สาเหตุของเส้นเลือดสมองโป่งพอง
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เส้นเลือดสมองโป่งพองเป็นภาวะของผนังหลอดเลือดอ่อนแรงลงจึงเกิดอาการโป่งพอง เกิดได้ทั้งหลอดเลือดแดงหรือหลอดเลือดดำ โดยส่วนมากที่พบมักจะเป็นหลอดเลือดแดง เมื่อเส้นเลือดโป่งพองถึงจุดหนึ่งก็จะมีการแตก ซึ่งทำให้เกิดภาวะที่สำคัญ คือ เลือดออกในช่องใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นอะแร็คนอยด์ ซึ่งภาวะนี้เป็นอันตรายถึงพิการหรือนำไปสู่การเสียชีวิตได้
สาเหตุของการเกิดเส้นเลือดสมองโป่งพอง เช่น
- ความผิดปกติแต่กำเนิด หรือโรคทางพันธุกรรม
- เส้นเลือดแข็งตัวและเสื่อม
- ภาวะการติดเชื้อ
- มีการอักเสบในร่างกาย
- เนื้องอกบางชนิด
- อุบัติเหตุ เป็นต้น

ประเภทของเส้นเลือดสมองโป่งพอง
นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า เส้นเลือดสมองโป่งพองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
- เส้นเลือดสมองโป่งพองแบบยังไม่แตกทำให้อาการที่ไปกดทับเส้นประสาทข้างเคียง หรือมีขนาดใหญ่มากกว่า 5 เซนติเมตร อาจทำให้เกิดอาการชักหรืออ่อนแรงได้
- เส้นเลือดสมองโป่งพองแบบแตกแล้วเมื่อมีการแตกเลือดที่ออกมาจะทำให้ความดันในกะโหลกสูงขึ้น ถ้าร่างกายหยุดเลือดไม่ได้ ผู้ป่วยอาจเสียชีวิตทันที แต่ถ้าเลือดหยุดได้ ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยเลือดออกในชั้นต่างๆของสมอง เช่น เลือดออกในช่องใต้เยื้อหุ้มสมองชั้นอะแร็คนอยด์ หรือเลือดออกในเนื้อสมอง เป็นต้น
อาการเส้นเลือดสมองโป่งพอง
อาการเส้นเลือดสมองโป่งพองที่พบได้บ่อยที่สุดคือ
- ปวดศีรษะอย่างรุนแรง มักเป็นทันทีทันใด
- คลื่นไส้อาเจียน
- หมดสติ หรือเสียชีวิต
- คอแข็ง หรือปวดร้าวบริเวณใบหน้า จากการถูกกดทับเส้นประสาท
- มีอาการชัก จากการอุดตันของหลอดเลือด
การวินิจฉัยอาการเส้นเลือดสมองโป่งพอง
การวินิจฉัยโรคแพทย์ จะส่งตรวจ
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง
- การตรวจหลอดเลือดในสมอง ซึ่งจะมี 3 ทางเลือก เพื่อหาความผิดปกติของหลอดเลือด ได้แก่
- เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบแสง (CTA)
- ตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าร่วมกับการฉีดสารทึบแสง (MRA)
- การฉีดสารทึบแสงเข้าทางเส้นเลือด
การเจาะหลังใช้เมื่อต้องการพิสูจน์ภาวะเลือดออกมาช่องใต้เยื่อหุ้มสมองอะแร็คนอยด์ กรณีที่มองไม่เห็นใน CT Scan แพทย์จะทำการรักษาผู้ป่วยโดยการผ่าตัด และรังสีร่วมรักษาโดยอุดหลอดเลือด ในบางกรณีต้องใช้การรักษาทั้ง 2 แบบร่วมกัน

วิธีป้องกันอาการเส้นเลือดสมองโป่งพอง
เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของการโตหรือแตกของเส้นเลือดโป่งพอง ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ และปัจจัยต่างๆ ที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบทั้งร่างกาย
โรคเส้นเลือดสมองโป่งพองเป็นภัยเงียบที่ไม่อาจทราบได้ล่วงหน้า ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคได้แก่ ความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ และปัจจัยต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดการอักเสบทั้งร่างกาย ดังนั้นสิ่งที่สำคัญคือถ้ามีอาการผิดปกติ หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงที่สุด DooDiDo ขอแนะนำว่าอย่ารอช้าควรรีบมาพบแพทย์โดยทันทีเพื่อรับการรักษาอย่างทันเวลา
ขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล : www.sanook.com